“ดร.เสรี” ให้กำลังใจรักษาการแทนเลขาฯกสทช. ชี้ควบ TRUE-DTAC เป็นประโยชน์ทุกฝ่าย

"ดร.เสรี" ให้กำลังใจรักษาการแทนเลขาฯกสทช. ชี้ควบ TRUE-DTAC เป็นประโยชน์ทุกฝ่าย

วันที่ 23 ก.ย.65 รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด เปิดเผยว่า ณ เวลานี้คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ส่งหนังสือตอบกลับ กสทช.ตามที่ได้ขอให้ศึกษาประเด็นการควบรวมกิจการทรู-ดีแทค โดยมีความเห็นว่าการดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวกับกรณีการรวมธุรกิจ ต้องดำเนินการตามประกาศฉบับปี 2561 ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยกำหนดให้การรวมธุรกิจกระทำได้ และมีข้อกำหนดว่าจะต้องจัดทำรายงานส่งให้ กสทช.ทั้งนี้สามารถทำได้ทั้งล่วงหน้าและหลังการควบรวม และให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นการขออนุญาตไปในตัวเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ควบรวมธุรกิจ ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาสอดคล้องและตรงกับผลการศึกษาของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยที่ กสทช.มอบหมายให้ทำการศึกษาประเด็นการควบรวมกิจการทรู-ดีแทค

“ส่วนตัวมองว่าการควบรวมระหว่างทรู-ดีแทคยืดเยื้อมานานแล้ว เมื่อมีความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าว ก็จะได้มีทางออกเสียที เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาได้กรุณาพิจารณาชี้แนะทางออกตามที่กสทช.ร้องขอ เรามั่นใจว่า กสทช. จะให้เกียรติและรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา และจะไม่เดินตามเกมกดดันของกลุ่มต่าง ๆ อีกต่อไป โดยเฉพาะรักษาการแทน เลขาธิการกสทช. ผู้มีบทบาทสำคัญไม่แพ้กรรมการ กสทช. ที่ผ่านมา ท่านได้รับความกดดันจากหลายฝ่าย เราขอให้กำลังใจท่านในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่อไปอย่างเต็มที่ เราเชื่อว่าคนดีย่อมทำสิ่งที่ดี ที่เหมาะที่ควร และคนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้”

นอกจากนี้ รศ.ดร.เสรี ยังเชื่อมั่นว่าการควบรวมมีประโยชน์กับหลายฝ่ายมากกว่าจะเป็นโทษใด ๆ สำหรับผู้บริโภคพวกเขาจะได้บริการที่ดีขึ้น และจะได้ประโยชน์จากการแข่งขันด้านราคาที่มีแนวโน้มว่าจะเข้มข้นขึ้นมากกว่าเดิม สำหรับผู้ประกอบการพวกเขาจะมีศักยภาพในการแข่งขันในระดับโลกาภิวัตน์ที่ดีขึ้น เพราะเป็นการควบรวมระหว่างบริษัทไทยและบริษัทของยุโรป ทำให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล แบ่งปันความรู้ และภูมิปัญญา ใช้เทคโนโลยีร่วมกัน สามารถลดต้นทุนในการแสวงหานวัตกรรมเพื่อนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีกว่าให้แก่ผู้บริโภค เป็นการเพิ่มศักยภาพให้แก่บริษัทที่มีคนไทยเป็นเจ้าของในเวทีโลก และที่แน่นอนที่สุดคือประเทศชาติจะได้ประโยชน์จากการที่บริษัทสัญชาติไทยมีศักยภาพด้านการแข่งขันในเวทีโลก

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“เราควรจะวิเคราะห์การควบรวมครั้งนี้ด้วยการพิจารณาที่มองบริบทครบมิติ ไม่ใช่การมโนภาพเชิงลบเอาเองโดยไม่มีความจริงเชิงประจักษ์รองรับ สิ่งที่ทุกฝ่ายต้องเข้าใจก็คือ กสทช.มีอำนาจตามประกาศฉบับปี 2561 ในการออกมาตรการหรือเงื่อนไขเพื่อป้องกันความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ สำหรับเรื่องนี้คณะกรรมการกฤษฎีกาท่านก็ระบุไว้ชัดเจนอีกด้วยว่าในการใช้อำนาจของกสทช.ต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างการคุ้มครองผู้บริโภคกับการพัฒนากิจการโทรคมนาคม”

ส่วนข้อกังวลเรื่องราคานั้น ดร. เสรีย้ำว่าอย่าไปคิดเองว่าราคาจะแพงขึ้น โดยไม่พิจารณาบริบท ประการแรก ในการแข่งขันนั้น ถ้าหากผู้ให้บริการรายใดไม่สามารถสร้างความแตกต่างด้านเทคโนโลยีและการบริการได้ การขึ้นราคาไม่ใช่ยุทธศาสตร์การตลาดที่ดีแน่ ๆ การที่ผู้บริการรายใดจะคิดราคาแพงกว่าผู้บริการรายอื่นนั้น เขาจะต้องสร้างความแตกต่างที่ชัดเจนจนผู้บริโภคมองเห็นความคุ้มค่าที่จะยอมจ่ายราคาที่สูงขึ้น ถ้าเทคโนโลยีไม่มีความแตกต่างกันก็ต้องสู้ด้วยราคา ถ้าหากบริการไม่แตกต่างกันก็ต้องสู้ด้วยราคา เวลานี้ธุรกิจโทรคมนาคมยังมีเทคโนโลยีและการบริการที่ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ให้บริการคงไม่คิดจะทำลายธุรกิจของตัวเองด้วยการขึ้นราคาโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอให้ผู้บริโภคยินดีจ่ายราคาที่สูงกว่าผู้ให้บริการรายอื่น

ประการที่สองหากสามารถสร้างความแตกต่างได้ จะขึ้นราคาไปเท่าใด ก็มีปัจจัยควบคุมราคาอยู่ 2 เรื่อง คือ 1) กสทช. มีหน้าที่กำกับและกำหนดเพดานของราคาค่าบริการโทรคมนาคมอยู่แล้ว จะขึ้นตามอำเภอใจไม่ได้ และ 2) ต้องดูด้วยว่าผู้บริโภคเห็นความคุ้มค่าที่ยินดีจะจ่ายแพงขึ้นหรือไม่ ในเมื่อผู้บริโภคมีทางเลือก หากผู้บริการรายใดขึ้นราคาไปอยู่ในระดับที่ผู้บริโภคมองไม่เห็นความคุ้มค่าที่จะจ่ายเพิ่ม การขึ้นราคานั้น แทนที่จะเป็นผลดีกับผู้ประกอบการ ก็จะกลายเป็นผลเสีย คนทำธุรกิจที่เข้าใจหลักการของตลาดที่จะต้องให้ความสำคัญกับผู้บริโภค เขาไม่ทำอะไรตามใจตนโดยไม่พิจารณาการรับรู้ ของผู้บริโภค

อีกบริบทหนึ่งที่เราไม่ควรจะมองข้ามก็คือ เรื่องการดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล ในยุคนี้ขบวนการพิทักษ์สิทธิ์ของผู้บริโภค มีความเข้มแข็งมาก ผู้บริโภคจะสนับสนุนผู้ประกอบการที่มีธรรมาภิบาลเท่านั้น ไม่เพียงแต่พวกเขาจะไม่สนับสนุนผู้ประกอบการที่ไม่มีธรรมาภิบาลเท่านั้น พวกเขายังพร้อมที่จะพากันประณามผู้ประกอบการรายนั้นบนพื้นที่ Social Media ในลักษณะที่เราเรียกกันว่า Drama ถึงเวลานั้น ภาพลักษณ์และชื่อเสียงของผู้ประกอบการจะเสียหาย ดังนั้นผู้ประกอบการที่เข้าใจกระแสความคิดของผู้บริโภคยุค 4.0 คงไม่คิดที่จะทำธุรกิจโดยไม่มีธรรมาภิบาล อย่างเช่นขึ้นราคาสินค้าและบริการที่ไม่เป็นธรรม

 

ดร.เสรี สรุปทิ้งท้ายว่า การควบรวมระหว่างทรูกับดีแทคจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ทั้งผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และประเทศชาติ ขอให้กำลังใจคณะกรรมการ กสทช. ในการมุ่งมั่นทำหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ การตัดสินใจที่ล่าช้าสามารถสร้างความเสียหายได้มหาศาล ดังนั้นบัดนี้ทุกอย่างชัดเจนแล้ว ทั้งความคิดเห็นของกฤษฎีกาในการตีความกฎหมาย และผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น เราจึงหวังว่าการตัดสินใจจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตามหลักการของการแข่งขันยุค 5.0 ที่ให้ความสำคัญกับการตัดสินใจที่รวดเร็ว และการทำงานที่ยึดหลักความคล่องตัว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ตำรวจ สภ.สัตหีบ" ใจฟู "หนุ่มใหญ่ใจบุญ" มอบทุนปรับปรุง "ตู้ยาม" เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน
"นายกฯอิ๊งค์" ถวายสัตย์ปฏิญาณตน แล้ว ยิ้มตอบสื่อ พรุ่งนี้เริ่มทำงาน ก.วัฒนธรรม
ชาวบ้านล้อมจับโจรขโมย จยย. ผู้ก่อเหตุแกล้งเมา พูดไม่รู้เรื่อง
"ท็อปนิวส์" ขออภัยนำเสนอภาพและคลิปข่าว "โดรน JOUAV" ผิดพลาดคลาดเคลื่อน
เรือเฟอร์รี่อินโดนีเซียล่มใกล้เกาะบาหลี
โซเชียลสวดยับ “จิรัฏฐ์” เหยียด "สมาคมแม่บ้านทหารอากาศ" ลั่นแรง "อิพวกแม่บ้าน"
"หนุ่มวัย 28" ดับปริศนาคาโรงแรม กับงูเห่าในถุงผ้าที่มัดไว้
คืนเดียว 2 เคส หนุ่มไทยหนีตายจากแก๊งบัญชีม้า เล่าชะตากรรมสุดช้ำในกรุงปอยเปต
"ปตท." ครองบริษัทชั้นนำอันดับ 1 ในไทย ซ้ำได้อันดับ 2 ใน Southeast Asia ต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน สะท้อนศักยภาพดำเนินงานเป็นเลิศในระดับสากล
"ปตท." จับมือ บีเอ็นพี พารีบาส์ ลงทุนตราสารหนี้ ESG หนุนภารกิจยั่งยืน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น