No data was found

วิจัยชี้ “เห็ด ขี้ควาย” ช่วยลดปริมาณดื่มสุราในผู้ป่วย 83%

เห็ดขี้ควาย, เห็ด ขี้ควาย, ติดสุราเรื้อรัง, สารไซโลไซบิน, ผู้ป่วยสุราเรื้อติดรัง

กดติดตาม TOP NEWS

"เห็ด ขี้ควาย" ฉายาเห็ดวิเศษไม่เกินจริง หลังนักวิจัยชี้ สารไซโลไซบินสามารถแก้ปัญหาสุขภาพจิตและอาการเสพติดได้

“เห็ด ขี้ควาย” เจ้าของฉายาเห็ดวิเศษ สร้างความประหลาดใจให้กับวงการแพทย์อีกครั้ง เมื่อผลวิจัยชี้ สารหลอนประสาทชนิดไซโลไซบิน ช่วยแก้ปัญหาสุขภาพจิตและอาการเสพติด ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

“เห็ด ขี้ควาย” สร้างความประหลาดใจให้กับวงการแพทย์อีกครั้ง เมื่องานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ JAMA Psychiatry ชี้ว่า สารไซโลไซบิน (psilocybin) หรือสารออทฤทธิ์ทางประสาท สามารถแก้ปัญหาสุขภาพจิตและอาการเสพติดได้

 

 

 

เห็ดขี้ควาย, เห็ด ขี้ควาย, ติดสุราเรื้อรัง, สารไซโลไซบิน, ผู้ป่วยสุราเรื้อติดรัง

 

 

 

โดยทีมวิจัยได้แบ่งอาสาสมัครที่มีปัญหาติดสุราเรื้อรังจำนวน 93 ราย ออกเป็น 2 กลุ่ม

  • กลุ่มแรก : ได้รับแคปซูลเห็ดขี้ควาย 2 โดส
  • กลุ่มสอง : ได้รับยาหลอก

การทดลองใช้เวลาทดสอบ 8 เดือน ร่วมกับการรักษาทางจิตบำบัด

 

 

 

ผลลัพธ์กลับทำให้นักวิจัยถึงกับอึ้ง

1. ผู้ป่วยที่รับเห็ดขี้ควาย 2 โดส

  • ดื่มสุราลดลงถึง 83%
  • และอีก 50% สามารถหยุดดื่มแอลกอฮอล์ได้

2. กลุ่มยาหลอก

  • 51% สามารถลดปริมาณการดื่มสุรา
  • ในขณะที่ 25% สามารถหยุดดื่มได้

ทำให้ผู้เชี่ยวชาญประหลาดใจกับการค้นพบนี้ ซึ่งต่อยอดจากงานก่อนหน้านี้ที่แสดงให้เห็นว่า สารไซโลไซบิน นั้นอาจสามารถรักษาอาการติดยาเสพติดได้

 

 

 

ด้าน Michael Bogenschutz ผู้อำนวยการ NYU Langone Center for Psychedelic Medicine และผู้ทำการวิจัยในครั้งนี้ กล่าวว่า “ผลลัพธ์ในครั้งนี้สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการแพทย์มาก การติดสุราเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ร้ายแรง ซึ่งวิธีการบำบัดและยารักษาในปัจจุบันมีน้อย”

 

 

 

เห็ดขี้ควาย, เห็ด ขี้ควาย, ติดสุราเรื้อรัง, สารไซโลไซบิน, ผู้ป่วยสุราเรื้อติดรัง

ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนก็มองว่า งานวิจัยในครั้งนี้ทดลองกับอาสาสมัครเพียง 93 คนเท่านั้น ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กเกินไปที่จะระบุผลลัพธ์ได้ชัด ต่างกับนักวิจัย psychedelic จากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ บอกว่านี่คือก้าวสำคัญ เพราะก่อนหน้านี้กลุ่มตัวอย่างมีเพียง 10 รายเท่านั้น

 

 

 

ซึ่ง Michael Bogenschutz ยืนยันว่า การวิจัยด้านสารไซโลไซบินจะดำเนินต่อไป และในครั้งหน้ากลุ่มตัวอย่างจะเพิ่มเป็น 200 ราย พร้อมลดจำนวนโดสลงเหลือเพียง 1 โดสเท่านั้น ซึ่งล่าสุด ทางองค์กรอาหารและยาของสหรัฐฯ ก็อนุญาตให้ทีมวิจัยดำเนินการต่อแล้ว

 

 

 

เห็ดขี้ควาย, เห็ด ขี้ควาย, ติดสุราเรื้อรัง, สารไซโลไซบิน, ผู้ป่วยสุราเรื้อติดรัง

 

 

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อปีที่แล้ว ทีมวิจัยได้ทดลองเทียบประสิทธิภาพของสารไซโลไซบินกับยาต้านซึมเศร้าทั่วไปชนิด SSRI ปรากฏว่า ผลลัพธ์ออกมาดีเกินคาด มีประสิทธิภาพพอ ๆ กับยาที่ใช่รักษาในปัจจุบัน ทั้งนี้ TOP News ขอย้ำว่า งานวิจัยในครั้งนี้ยังไม่ได้มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ อย่าเก็บมองลองทานเองเด็ดขาด เนื่องจาก เห็ดชนิดหากทานเข้าไปอาจเกิดประสาทหลอนอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน หายใจติดขัดและอาจเสียชีวิตได้

 

 

 

ข้อมูล : futurism

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“นายกฯ” แสดงความเสียใจ “ปธน.อิหร่าน” เหตุฮ.ตก
“ชนินทร์” ขอบคุณ “กรมวิทย์ฯ” สร้างกระจ่างข้าว 10 ปี มีมาตรฐาน วอนหยุดดิสเครดิต
"พิชิต" สยบข่าวลือ ยื่นลาออกรมต. ยันยังทำงานอยู่ หลัง 40 สว. ยื่นศาลรธน. ตีความคุณสมบัติ
ลือ! "พิชิต" ทิ้งเก้าอี้ปิดทาง "ศาลรัฐธรรมนูญ" รับวินิจฉัยกระทบชิ่ง "นายกฯ" ติดร่างแหถูกแขวนห้ามปฏิบัติหน้าที่
แม่สุดเอือม ลูกสาววัย 42 หลอนยาคลุ้มคลั่ง ได้ยินเสียงแว่ว เจอขู่ฆ่า หนักสุดกรอกยาใส่ปากลูกวัย 9 เดือน
“ทนายด่าง” ได้ผลการรักษา “บุ้ง ทะลุวัง” ย้อนหลัง 5 วันจากรพ.ราชทัณฑ์แล้ว ขอตรวจสอบ-อ่านให้ชัด ยังรอไฟล์กล้องวงจรปิด
เปิดศึกชิง "สว." พิสูจน์ "กกต." มีน้ำยา หรือ บ้อท่า สกัดฮั้วเด็ดปีกพวกหัวหมอ คัด "สว.น้ำดี" เข้าสภาสูง
กทม. ปลื้ม "ไม่ เท รวม" ลดงบประมาณ 141 ล้านบาท ลงพื้นที่ตลาดคลองเตยดูการบริการจัดการเศษผัก 18 ตัน
"ดร.อานนท์" โพสต์ศาลอาญาฯ ทำมีความหวังประเทศ ลงโทษจำคุก "สกุลธร" เหมือนผตห.รับสินบน
"พิพัฒน์" รุกปั้นนักขับรถลากจูง ป้อนอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ขาดแคลน ตั้งศูนย์หนองบัวลำภู เพิ่มการจ้างแรงงานโซนอีสาน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น