ร้อง EU 2 มาตรฐาน เหตุไม่ให้เข้าประเทศหากฉีดวัคซีนที่ยุโรปไม่รับรอง

ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากมองว่า การที่สหภาพยุโรปไม่ยอมให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนที่สหภาพยุโรปยังไม่รับรองเข้าประเทศได้นั้นเป็นการเลือกปฎิบัติ

หลังจากที่ ดร.อิเฟียนยี เอ็นโซฟอร์ ชาวไนจีเรีย และภรรยาของเขาได้วางแผนจะเดินทางไปยุโรปแต่พบว่าอาจถูกปฏิเสธเนื่องจากวัคซีนที่ฉีดนั้น ทางสหภาพยุโรปยังไม่รับรอง โดยทั้งสองได้ฉีดวัคซีน แอสตราเซเนกา ไปครบทั้ง 2 โดสแล้ว แต่เป็นแอสตราเซเนกา ที่ผลิตในประเทศอินเดีย หรือที่รู้จักในชื่อ โควาชิลด์ ทำให้สหภาพยุโรปที่ยังไม่ไฟเขียวให้กับวัคซีนที่ผลิตในอินเดียอาจทำให้พวกเขาถูกปฏิเสธการเข้าประเทศ

ทางหน่วยงานกำกับดูแลของสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า แอสตราเซเนกายังไม่ได้ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับโรงงานในอินเดีย รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการผลิตและมาตรฐานการควบคุมที่จะแสดงให้เห็นว่าวัคซีนมีคุณภาพเพียงพอ อย่างไรก็ดี ได้มีผู้เชี่ยวชาญบางคนอธิบายว่าการที่ สหภาพยุโรปปฏิเสธผู้รับวัคซีนที่ทางยุโรปยังไม่ยอมรับนั้นเป็นการเลือกปฏิบัติ โดยชี้ให้เห็นว่าองค์การอนามัยโลกได้ตรวจสอบและอนุมัติโรงงานแล้ว ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้การเดินทางยุ่งยากและทำให้เศรษฐกิจแย่ลงเท่านั้น แต่ยังบ่อนทำลายความเชื่อมั่นของวัคซีนอีกด้วย

เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม สหภาพยุโรปได้แนะนำใบรับรองดิจิทัลเกี่ยวกับโควิด 19 ซึ่งช่วยให้ผู้อยู่อาศัยในสหภาพยุโรปสามารถเดินทางได้อย่างอิสระในกลุ่ม 27 ประเทศ หากพวกเขาฉีดวัคซีนที่ได้รับการรับรองในยุโรป 4 ชนิด คือ แอสตราเซเนกาที่ผลิตในยุโรป ไฟเซอร์ โมเดอร์นา และจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน แต่จะไม่รวมถึงแอสตราเซเนก้าที่ผลิตในอินเดีย และวัคซีนจากจีนและรัสเซีย นอกจากเรื่องวัคซีนแล้ว การรับรองเข้าประเทศได้ยังรวมถึงต้องมีผลตรวจเป็นลบ หรือเพิ่งรักษาโควิดหาย ก็ได้รับการรับรองเช่นกัน ใบรับรองนี้นับเป็นแบบอย่างให้มีการเดินทางได้ดีในยุคโควิด 19 อย่างไรก็ตาม บางประเทศในสหภาพยุโรปก็ไม่ได้เคร่งครัดว่าต้องเป็นวัคซีน 4 ชนิดนี้เท่านั้น เช่น เยอรมันี สวิตเซอร์แลนด์ซึ่ง เรื่องนี้ยังคงเป็นความสับสนสำหรับผู้ที่วางแผนเดินทางไปเยือนสหภาพยุโรป

เอ็นโซฟอร์ ตั้งข้อสังเกตว่าวัคซีนที่ผลิตในอินเดียที่เขาได้รับนั้น ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินแล้ว และยังได้รับการจัดหาผ่านโครงการปันวัคซีนโคแวกซ์  การกีดกันความเท่าเทียมเรื่องวัคซีน จะเป็นการด้อยค่าวัคซีนที่ใช้ในแอฟริกาว่าดีไม่เท่าชาติตะวันตก

สอดคล้องกับความคิดเห็นของ ศาสตราจารย์ อีโว วลาเยฟ จากมหาวิทยาลัยวอร์วิกค์ ในอังกฤษ ซึ่งให้คำแนะนำว่าการที่ประเทศตะวันตกปฏิเสธที่จะยอมรับวัคซีนที่ใช้ในประเทศยากจนอาจจุดชนวนให้เกิดความไม่ไว้วางใจได้

องค์การอนามัยโลกเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ยอมรับวัคซีนทั้งหมดที่ได้รับอนุญาตไปแล้ว หน่วยงานด้านสุขภาพของสหประชาชาติกล่าวว่า ประเทศที่ปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น กำลังบ่อนทำลายความเชื่อมั่นในวัคซีนที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ส่งผลกระทบต่อการรับวัคซีนและอาจทำให้ผู้คนหลายพันล้านคนตกอยู่ในความเสี่ยง

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สุดาวรรณ" อำลาตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม ก่อนรับตำแหน่ง รมว.อว. ด้าน ปลัดวธ. นำ ขรก. ขอบคุณนำทัพขับเคลื่อน Soft Power - เศรษฐกิจวัฒนธรรมเป็นรูปธรรม
"หมอพรทิพย์" จี้แทงใจดำ การเมืองไทยยึดผลประโยชน์ เหตุไร้ผู้นำที่ดีบริหารปท. สวนปาก #ingshin จะตำหนิใคร มองตัวเองก่อน
"วัดดังเพชรบูรณ์" จ้างแบคโฮรื้อ "โรงเจ" ผู้ปฏิบัติธรรมเข้าขวาง เศษกระเบื้องหล่นใส่บาดเจ็บ ปมพิพาทยึดครองพื้นที่วัดนาน 10 ปี
"นกเพนกวิน 3 ตัว" มอบทุนการศึกษาผ่าน "มูลนิธิยังมีเรา-ท็อปนิวส์"
"กองทัพภาคที่ 2" แจงปมคลิปทหารเขมรโวยทหารไทย เป็นคลิปเก่า เหตุเรื่องเวลาเปิด-ปิด "ปราสาทตาเมือนธม" แต่ละฝ่ายไม่ตรงกัน
ต่างชาติจับตาไทยจะมีรัฐประหารอีกครั้งหรือไม่
"กรมวังผู้ใหญ่" ตรวจเยี่ยมโครงการกำลังใจ ณ เรือนจำจังหวัดนครศรีธรรมราช มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังทั้งด้านสุขภาพและอาชีพ
"มทภ.2" ชวนคนไทย เที่ยวปราสาทตาเมือนธม-ตาเมือนโต๊ด-ตาควาย ช็อปสินค้า กระตุ้นเศรษฐกิจชายแดนไทย
“อนุทิน” บอกไม่เกี่ยวแล้ว “ภูมิธรรม” สอบเขากระโดง ย้ำทำทุกอย่างทำตามขั้นตอน ตั้งแต่ก่อนนั่ง มท.1
โอละพ่อ ! ช่างก่อสร้าง อ้างถูกโกงค่าแรง ที่แท้เป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น