No data was found

10 คณบดีคณะแพทย์ หนุน มติคกก.โรคติดต่อแห่งชาติ ฉีดวัคซีนไขว้สลับชนิด

กดติดตาม TOP NEWS

10 คณบดีคณะแพทย์ หนุน มติคกก.โรคติดต่อแห่งชาติ ฉีดวัคซีนไขว้สลับชนิด

คณบดีคณะแพทยศาสตร์ 10 คณะ ในฐานะคณะที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขในศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ออกแถลงการณ์สนับสนุนมาตรการฉีดวัคซีนสลับชนิด และวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า ตามมติของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 7/2564
ระบุว่า เนื่องจากมีข้อเสนอแนะให้มีการทบทวนข้อมูลทางวิชาการ เรื่อง การให้วัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน 1 เข็มกับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) 2 เข็ม และการให้วัคซีนโควิด19 แบบสลับชนิด ตามด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) สำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ตามมติของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 นั้น

คณะที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขใน ศบค. ซึ่งประกอบด้วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ 10 คณะ มีความเห็นว่า มติของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เป็นมติที่ควรได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน โดยมีเหตุผลสนับสนุนดังต่อไปนี้

สำหรับมาตรการฉีดวัคซีนสลับเข็มสำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
1. เชื้อก่อโรคโควิด19 สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รายงานว่า ในกรุงเทพมหานครมีสายพันธุ์เดลตาเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดพบว่ามีสายพันธุ์เดลตา ร้อยละ 69 จากข้อมูลสำรวจรายสัปดาห์ ทั้งนี้ สายพันธุ์เดลตาแพร่ได้เร็ว อัตราตายสูง และดื้อต่อวัคซีนที่พัฒนาจากสายพันธุ์เดิม

2. ผลการศึกษาภูมิคุ้มกันชนิด Neutralizing Antibody ต่อสายพันธุ์เดลตา พบว่า วัคซีนแอสตร้าฯ เข็มแรก และวัคซีนซิโนแวค สองเข็ม เพียงอย่างเดียว กระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตาได้ไม่ดี

3. วัคซีนแอสตร้าฯ 1 เข็ม ยังกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ไม่สูงพอจะกันป่วยหนักจากสายพันธุ์เดลตา ทำให้ประเทศอังกฤษประกาศร่นระยะเวลาการฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ 2เข็ม จาก 12 สัปดาห์ เหลือ 8 สัปดาห์

4. วัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ไม่สูงพอที่จะกันป่วยหนักจากสายพันธุ์เดลตาได้ ทำให้มีรายงานบุคลากรทางการแพทย์เสียชีวิตหลายร้อยรายในประเทศอินโดนีเซีย

5. ในระบบการให้วัคซีนของประเทศไทย มีผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 แบบสลับชนิด โดยเข็มแรกฉีดวัคซีนซิโนแวคตามด้วยวัคซีนแอสตร้าฯ เป็นเข็มที่สอง จำนวน 1,102 ราย เนื่องจากสาเหตุบางประการ ทำให้ไม่สามารถรับวัคซีนซิโนแวคเข็มที่สองได้ เช่น เกิดภาวะไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนซิโนแวคเข็มที่ 1 โดยทั้ง 1,102 รายนี้ ได้รับการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ในระบบของกระทรวงสาธารณสุข ยังไม่มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงหรือเสียชีวิต และยังไม่มีรายงานการติดเชื้อก่อโรคโควิด ในคนกลุ่มนี้ จากฐานข้อมูลของกรมควบคุมโรค ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2564

6. ผลการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันของผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 แบบสลับชนิด โดยเข็มแรกฉีดวัคซีนซิโนแวคและตามด้วยวัคซีนแอสตร้าฯ เป็นเข็มที่สอง จำนวน 36 ราย โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจำนวน 17 ราย โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับนักวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พบว่า ระดับภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีนแบบสลับชนิดสูงกว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ถึง 8 เท่า และผลการตรวจภูมิคุ้มกันต่อเชื้อสายพันธุ์เดลตา พบว่า ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อสายพันธุ์เดลตามีค่าสูงทุกราย และอนุมานได้ว่าประสิทธิภาพของวัคซีนสูตรนี้ต่อสายพันธุ์เดลตา น่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 80

7. การให้วัคซีนโควิด19 แบบสลับชนิด ซิโนแวคตามด้วยแอสตร้าฯ น่าจะทำให้ผู้ได้รับวัคซีนมีภูมิคุ้มกันสูงต่อเชื้อสายพันธุ์เดลตาได้รวดเร็วกว่าการให้วัคซีนแอสตร้า สองเข็มห่างกัน 8 สัปดาห์ โดยการให้วัคซีนโควิด แบบสลับชนิด ซิโนแวค ตามด้วยแอสตร้าฯ น่าจะทำให้ระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อสายพันธุ์เดลตาสูง เมื่อ 5-6 สัปดาห์หลังฉีดเข็มที่ 1

8. เนื่องจากประเทศไทยมีการใช้วัคซีนซิโนแวค เป็นจำนวนมาก ในสถานการณ์ที่เชื้อสายพันธุ์เดลตาระบาดรุนแรง ต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้สูงและรวดเร็ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้วัคซีนที่มีอยู่ต่อการป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตจากสายพันธุ์เดลตา มติของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา นั้นมีความเหมาะสมแล้วในสถานการณ์ปัจจุบัน

สำหรับมาตรการการให้วัคซีนเข็มกระตุ้น 1 เข็ม หลังจากที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มในบุคลากรด่านหน้านั้น เป็นไปตามข้อมูลที่ได้ติดตามผลการตรวจภูมิคุ้มกันหลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม พบว่า ระดับภูมิคุ้มกันไม่สูงพอ สำหรับเชื้อสายพันธุ์เดลตา จึงมีข้อแนะนำให้ฉีดกระตุ้นในบุคลากรด่านหน้าได้ โดยอาจเป็นวัคซีนแอสตร้าฯ หรือวัคซีนชนิด mRNA อย่างน้อย 4 สัปดาห์หลังจากวัคซีนซิโนแวค เข็มที่ 2 โดยมติดังกล่าว เป็นเรื่องเร่งด่วนเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้กับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า ที่จะต้องปฏิบัติภารกิจคัดกรอง ตรวจวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยโควิด สายพันธุ์เดลตา อย่างใกล้ชิด ซึ่งไม่สามารถรอให้มีหลักฐานพิสูจน์ทราบว่าวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มไม่ได้ผล คือ การพบบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าป่วยหนักหรือสูญเสียชีวิตได้ ดังนั้น แม้จะยังไม่มีหลักฐานถึงประสิทธิภาพที่ชัดเจน แต่เนื่องจากมีข้อมูลยืนยันว่าการให้วัคซีนเข็มกระตุ้น 1 เข็ม หลังจากที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ชัดเจน และพบผลไม่พึงประสงค์รุนแรงได้ไม่บ่อย จึงเห็นควรสนับสนุนมติของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติในการดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้ามีความปลอดภัยและสามารถดูแลประชาชนในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ได้อย่างเต็มที่

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

รวบสมาชิกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ยุคบุกเบิก หนีคดีกว่า 14 ปี สอบสวนกลาง ตามรวบ
"พิพัฒน์" นำทีมคุย "กลุ่มมิตรผล" ร่วมยกระดับมาตรฐาน-ศักยภาพแรงงาน
"พท." จัดหนักล็อตใหญ่ส่ง 9 สายแข็งชิง "นายกอบจ." ดับเครื่องชน "ก้าวไกล" ให้มันรู้ไผ่เป็นไผ่ศึกเลือกตั้งท้องถิ่น
"กฟน." รับผิดประมาท เหตุคนตกท่อดับ แจงสาเหตุนำฝาไม้ปิดแทน
สอบสวนกลาง รวบสาวรับจ้างเปิดบัญชีม้า ผู้เสียหายสูญเงินไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท
"จอมแฉ" สิ้นลาย ถูกสอบสวนกลางรวบตัว หลังขู่ยื่นหนังสือตรวจสอบประมูลงาน กรรโชกทรัพย์หลายบริษัทฯ
"พิมพ์ภัทรา "จี้ถาม"ปลัดอุตฯ" คาใจเหตุ "อธิบดีกรมโรงงาน" ลาออก
ระทึก สภ.ศรีราชา ผู้ต้องหาหญิง พยายามผูกคอ ในห้องขัง โชคดีเจ้าหน้าที่เห็นทัน
"นายกฯ" บ่นแรงอีกแล้วเหรอ เกิดอุบัติเหตุคนตกท่อกฟน.เสียชีวิต
ภาวะโลกรวน : วัฎจักรราคาสินค้าเกษตรสูงทั่วโลก บริโภคอย่างเข้าใจ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น