No data was found

“พิสิฐ” เสนอ ก.แรงงานเป็นแนวร่วมสอง ต่อสู้กับโควิด

กดติดตาม TOP NEWS

ดร.พิสิฐ เสนอให้กระทรวงแรงงานเป็นแนวร่วมที่สองช่วยประชาชนตกงาน  ขาดรายได้ ในการต่อสู้กับวิกฤตโควิด

วันที่ 15 ก.ค.- เมื่อวานนี้ ( 14ก.ค.) คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ได้พิจารณางบประมาณในส่วนของกระทรวงแรงงานร่วมกับปลัดกระทรวงแรงงาน โดย ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ในฐานะรองประธานกรรมาธิการ ได้แสดงความเห็นว่า ในวิกฤตโควิดทั่วโลกขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขย่อมเป็นแนวหน้าในการแก้วิกฤตกับคนป่วย แต่กระทรวงแรงงานควรเป็นแนวสองในการแก้ผลที่ตามมาจากการที่ประชาชนตกงานหรือขาดรายได้ ซึ่งประเทศต่าง ๆ จะมีมาตรการเยียวยาแรงงานโดยตรงเพื่อไม่ให้นายจ้างปลดลูกจ้างด้วยการให้งบประมาณสนับสนุน

 

ดร.พิสิฐ กล่าวว่า แต่ในกรณีของไทยน่าเสียดายที่กระทรวงแรงงานกลับไม่ได้ active มากนัก แถมงบประมาณ 2565 ถูกปรับลดลง จาก 6.9 หมื่นล้านบาทเหลือ 4.9 หมื่นล้าน หากแยกส่วนของประกันสังคมที่ถูกปรับลดลงมากจาก 6.4 หมื่นล้านบาทเหลือ 4.5 หมื่นล้านบาทก็ยังถูกปรับลดลง 500 ล้านบาท ขณะเดียวกัน งบเงินกู้จากพระราชกำหนด 2 ฉบับที่ใช้เงินรวม 1.5 ล้านล้านบาท ก็ไม่ปรากฎมีงบช่วยแรงงานที่ถูกกระทบโดยตรง คงเป็นงบที่แจกเป็นการทั่วไปต่างจากประเทศในยุโรปที่มีการอุดหนุนให้นายจ้างเก็บคนงานไว้ ประเทศเหล่านี้ถือว่าการรักษาการจ้างงานเป็นเป้าหมายเศรษฐกิจที่สำคัญ เหตุผลหนึ่งที่เรายังไม่ได้ทำอาจเป็นเพราะข้อมูลของแรงงานโดยเฉพาะนอกระบบยังไม่ได้เก็บอย่างเป็นระบบที่มาใช้การได้

.

ดร.พิสิฐ กล่าวอีกว่า ดังนั้นจึงเสนอให้กระทรวงใช้วิกฤตนี้เป็นโอกาสในการจัดเก็บข้อมูลแรงงานให้สมบูรณ์ เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับหลักประกันจากการดูแลของรัฐ โดยเฉพาะให้แรงงานนอกระบบเข้าระบบประกันสังคมอย่างถ้วนหน้า โดยอาจจะร่วมมือกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่กำลังจะจัดทำสำมะโนประชากร ส่วนที่กรมการจัดหางาน ตั้งเป้าส่งแรงงานไปต่างประเทศถึง 1 แสนคนต่อปีนั้น ตนไม่เห็นด้วย เพราะเศรษฐกิจไทยกำลังขาดแคลนแรงงาน ตามประชากรไทยที่ลดลง การลงทุนที่ถดถอยทุกวันนี้ส่วนหนึ่งมาจากความไม่สามารถหาแรงงานได้  ซึ่งฟิลิปปินส์เป็นตัวอย่างที่มุ่งส่งแรงงานไปต่างประเทศ แต่เศรษฐกิจภายในประเทศกลับถูกทอดทิ้ง ตรงกันข้ามเราควรชักชวนแรงงานไทยที่อยู่ในต่างประเทศ จำนวน 2 แสนคนให้กลับมาพัฒนาประเทศ

 

ดร.พิสิฐ กล่าวต่อว่า สำหรับแรงงานต่างด้าว ขอให้กระทรวงทบทวนสิทธิประโยชน์ชราภาพที่ยังให้เงินเลี้ยงดูตลอดชีวิตหลังเกษียณ ทั้งที่คนงานไทยที่อยู่นอกระบบยังไม่ได้สิทธิ รวมทั้งเสนอให้มีการสังคายนาระบบประกันสังคมด้านชราภาพให้มีความยั่งยืนโดยแยกหน่วยบริหารการเงินลงทุนให้เป็นอิสระคล้าย กบข. และปรับเปลี่ยนจากระบบกองทุนแบบกำหนดประโยชน์ทดแทน (defined benefit) ในปัจจุบันเป็นระบบกำหนดเงินสมทบ (defined contribution)

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ศาลสั่งคุก 18 ปี 24 เดือน "อดีตผอ.-รองผอ." สามเสนวิทยาลัย รับแป๊ะเจี๊ยะเข้ากระเป๋าตัวเอง
สุดทึ่ง พ่อเผลอทำลายแบงก์หมื่นเยนเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ลูกชายต่อจนแลกเงินคืนได้
ปรับครม. เศรษฐา 2 นิ่งสนิท! เด็กในคาถา "นายหญิง - นายใหญ่" เก้าอี้แข็งโป้ก
"สุรพงษ์" นำทีมคมนาคมลงใต้ ลุยพัฒนาระบบขนส่งหนุนท่องเที่ยวปัตตานี
"บิ๊กโจ๊ก" เดินสายร้องปปง.ค้านทำคดีฟอกเงิน จ่องัดม.157 ฟาดกลับ ปลดออกราชการมิชอบ
ผ่าชนวนระเบิดเวลาขย่มรัฐบาล แก้ "รธน." นโยบายเรือธงส่อแป้ก ยึดคืน "ประธานสภา" สะเทือนสัมพันธ์พรรคร่วม
ศาลลงโทษ “การ์ดวีโว่” จุ้นเรื่องเมียนมา ก่อม็อบต้าน “มินอ่องหล่าย” รัฐประหาร
"ปลัดก.คลัง" ชี้ความเห็น "ผู้ว่าฯธปท." ไม่มีอะไรใหม่ ไม่กระทบแผน "ดิจิทัล วอลเล็ต"
มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ มอบรถเข็นวีลแชร์ แก่สำนักงานจัดหางาน จ.นนทบุรี เติมกำลังใจให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ยากไร้
โซเชียลฟาด "อินฟูล"คนดัง แชร์ทริคใช้แอร์ประหยัดไฟ ไม่ต่างยุค"ลุงตู่"เคยแนะ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น