No data was found

“ชัชชาติ” แนะถึงเวลาให้อำนาจชุมชนร่วมจัดการโควิด

กดติดตาม TOP NEWS

ชัชชาติ แนะถึงเวลาให้อำนาจชุมชน ร่วมจัดการโควิด ชี้ ประชาชนเข้าใจสนามรบดีกว่ารัฐ อย่ามองประชาชนไม่มีความรู้ รัฐควรเริ่มตั้งแต่วันนี้

วันที่ 12 ก.ค.- นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ตอนที่โควิดเริ่มระบาดทั่วโลกใหม่ๆ ตนได้ฟังสัมภาษณ์คุณหมอ วิเวียน บาลากริชนัน  (Vivian Balakrishnan) รัฐมนตรีต่างประเทศของสิงคโปร์ กล่าวไว้ว่า“จริงๆ แล้วโควิด-19 นี้ เป็นบททดสอบของทุกประเทศสำหรับคุณภาพของสามองค์ประกอบคือ 1. ระบบสาธารณสุข 2. มาตรฐานของการบริหารของภาครัฐ 3. ความเข้มแข็งของทุนทางสังคม (Social Capital) ถ้าหนึ่งในสามขานี้มีความอ่อนแอ มันจะถูกเปิดเผยออกมาโดยไม่ปราณีจากเหตุการณ์โรคระบาดนี้

 

ตอนแรกก็ไม่เข้าใจสิ่งที่ท่านได้พูดไว้ แต่พอเวลาผ่านไป จึงเห็นความสำคัญของทั้งสามองค์ประกอบที่มีผลต่อการรับมือโควิดครั้งนี้ สำหรับระบบสาธารณสุข และ มาตรฐานการบริหารของภาครัฐนั้น เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของทางฝ่ายรัฐ ซึ่งความสำเร็จ หรือความล้มเหลวนั้น พวกเราแต่ละคนคงมีคำตอบของตัวเองกันอยู่ในใจแล้ว ตลอด 2 ปีที่ได้สัมผัสกับชุมชนที่เดือดร้อนตั้งแต่ก่อนโควิด คิดว่าองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยประคองเราในวิกฤตครั้งนี้คือ ข้อ 3 ทุนทางสังคม (Social Capital) ซึ่งคือ เครือข่ายของประชาชน เอกชน ที่มีความผูกพันกัน ช่วยเหลือดูแลกัน มีค่านิยมร่วมกัน มีความไว้วางใจซี่งกันและกัน และร่วมกันทำงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม (และของตัวเองด้วย)

 

เราจะเห็นชุมชนหลายแห่งที่รวมตัวกันช่วยเหลือกัน และเห็นเอกชนที่ลงมาช่วยดูแลชุมชนต่างๆ โดยไม่ได้ผ่านภาครัฐ ซึ่งพลังของทุนทางสังคมนี้มีมหาศาล เพราะเข้าใจบริบทของชุมชนโดยละเอียด รู้ว่าใครลำบาก รู้ว่าคนป่วยอยู่ที่ไหน รู้ว่าใครแปลกหน้าเข้ามาในชุมชน ซึ่งพลังตรงนี้เป็นพลังที่อยู่ในระยะยาว ตนพูดกับชุมชนเสมอว่ารัฐบาลมาแล้วก็ไป ผู้ว่าฯมาแล้วก็ไป ผอ.เขตมาแล้วก็ไป แต่พวกเราอยู่ในชุมชน เราอยู่กันตลอดชีวิต เมืองจะดีได้ ชุมชนต้องเข้มแข็ง ทุนทางสังคมต้องเข้มแข็ง

 

ปัญหาที่เราเจอครั้งนี้คือ ภาครัฐยังไม่ค่อยได้อาศัยประโยชน์จากทุนทางสังคมนี้ ตนคิดว่าส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะ Mindset ที่คิดว่ารัฐคือผู้ปกครอง ประชาชนเหมือนเด็ก รอคอยรับสิ่งที่รัฐจะมอบให้ รัฐเหมือนจะไม่ไว้ใจประชาชน เพราะคิดว่าไม่มีความเข้าใจในปัญหา รัฐจึงต้องเป็นผู้เตรียมทุกอย่างให้ ทั้งๆ ที่รัฐเองก็ไม่มีกำลังที่จะทำหน้าที่ดังกล่าวได้เต็มที่ เช่น

 

– รัฐรับผิดชอบในการควบคุมการตรวจโควิดเอง ตอนแรกไม่อนุญาตให้มีการทำ Antigen Rapid Test ทั้งๆที่มีภาคเอกชนจำนวนมากพร้อมจะช่วยในส่วนนี้ ทำให้เกิดคอขวดในการตรวจอย่างที่เราเห็นคนไปรอกันข้ามคืน

– รัฐไม่ได้สนับสนุนให้ชุมชนหรือ เอกชน จัดตั้งศูนย์พักคอยกันเอง เพื่อดึงคนป่วยออกจากชุมชน โดยให้เหตุผลว่าติด พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อและอาจจะกังวลว่าไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ชุมชนต้องพยายามหาทางกักตัวกันเองในชุมชน ซึ่งทำให้สถานการณ์แย่ขึ้น

– รัฐไม่ได้มีแนวคิดเรื่องการกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) มาตั้งแต่ต้น ดึงทุกคนเข้าสู่ระบบโรงพยาบาล ทำให้พอถึงเวลาต้องกักตัวที่บ้าน คนไม่มั่นใจเพราะคิดว่าผู้ป่วยต้องไปโรงพยาบาลทุกคน

– รัฐให้ความสำคัญเรื่องการแจกเงินช่วยเหลือ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น แต่ยังไม่ได้คิดเรื่องสร้างงาน สร้างชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น การแจกเงินไม่ได้ช่วยทุนทางสังคม เพราะเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลไม่ใช่เครือข่ายของประชาชน

– การแก้ปัญหาต่างๆ รัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบ แต่กำลังคนไม่พอ ทำให้หลายๆครั้งเกิดคอขวดในข้อจำกัดของภาครัฐ ทั้งด้านกำลังคน และทรัพยากร

 

ตนคิดว่าหัวใจในการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการให้อำนาจประชาชน ไว้ใจประชาชน อย่าไปกลัวว่าประชาชนไม่มีความรู้ หรือจะมีการทุจริต เพราะเรื่องนี้คือชีวิต คือความเป็นความตายของเขา เขาเข้าใจความเป็นไปในสนามรบโควิดดีกว่าภาครัฐ ต้องเอาประชาชนมาเป็นทุนในการแก้ปัญหา ไม่ใช่มองว่าประชาชนเป็นภาระ โดยชุมชนที่เดือดร้อน ให้งบประมาณจัดทำครัวกลาง เพื่อให้ชาวบ้านทำอาหารดูแลกันเอง ประหยัดกว่าแจกเงินให้ชาวบ้าน และช่วยเรื่องการลดการออกจากบ้าน  หรือจ้างคนในชุมชนดูแลผู้เปราะบาง ผู้กักตัว ส่งอาหาร ทำอาหาร ช่วยดูแลการกักตัว

 

หรือจ้างรถและคนขับในชุมชนที่มีความเหมาะสมในการขนย้ายผู้ป่วย ช่วยด้านอุปกรณ์ ให้ความรู้ที่ถูกต้อง ให้งบประมาณจัดตั้งศูนย์กักตัวในชุมชน พร้อมให้อุปกรณ์ เพื่อลดการแพร่เชื้อจากกักตัวในบ้าน ให้อุปกรณ์การตรวจสอบ Antigen Rapid Test กับชุมชนในการตรวจคัดกรอง ถ้ามีความเสี่ยงค่อยส่ง Swab ต่อไป จ้างคนในชุมชน นักศึกษาจบใหม่ ทำข้อมูล จำนวนผู้ป่วย ผู้ตกค้าง ส่งเข้าระบบส่วนกลาง ทำให้สามารถเห็นภาพรวมได้อย่างตรงความจริง และทำฐานข้อมูล ให้ชัดเจน บอกประชาชนให้เข้าใจข้อมูลที่ถูกต้อง

 

การให้ชุมชมดูแลกันเอง ทำ Social Distance โดยมีทรัพยากรที่เพียงพอให้ เชื่อว่าไม่ได้ใช้งบมาก ยกตัวอย่าง ชุมชนใน กทม.มี 2,000 แห่ง สมมุติว่าใช้งบประมาณชุมชนละ 1 ล้านบาท ก็ 2,000 ล้านบาท ไม่ได้เยอะเมื่อเทียบกับงบประมาณในการแก้ปัญหาโควิดครั้งนี้ และเมื่อเหตุการณ์โควิดผ่านไป ทุนทางสังคม เครือข่ายที่เราสร้างขึ้นเหล่านี้ก็จะยังคงอยู่ สร้างเครือข่ายชุมชนให้เข้มแข็ง ให้เขายืนด้วยตัวเองได้ ให้อำนาจ หาแนวร่วมจากทุนทางสังคมที่เรามีอยู่มหาศาลนี้ จะช่วยทำให้เรารับมือปัญหาที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตได้ดีขึ้น และควรเริ่มตั้งแต่วันนี้

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

มีหนาว! สะเทือน "คณะก้าวหน้า" ทำ "ธนาธร" สะดุ้งโหยง "กกต."จ่อฟันเคมเปญชี้ชวนหาแนวร่วมสมัคร ส.ว. จี้ยุติการกระทำทันที
"วอยซ์ทีวี" ประกาศปิดกิจการทุกแพลตฟอร์ม 31 พ.ค.นี้ เลิกจ้างพนง. 100 กว่าชีวิต
อากาศร้อนจัด "พิพัฒน์" ห่วงใย "ผู้ใช้แรงงาน" แนะ 6 ข้อ ช่วงอากาศร้อนจัด 40-43 องศา
กกต.เตือนกลุ่มบุุคคล-องค์กร จูงใจเชิญชวนให้คนลงสมัครสว. เสี่ยงทำผิดกฎหมาย
เปิดคลิปวินาที สุดกร่าง "ผู้บริหารหญิง" บ.ระดับโลก เมาแล้วขับ ด่าตร.ชั้นต่ำ แถมถีบหน้า
"พิพัฒน์" รุกพัฒนาแรงงานโลจิสติกส์ รับธุรกิจขนส่ง-การค้าระหว่างปท.ขยายตัว
เกษตรกร ชี้ซีพีเป็นรายเดียวเข้มนโยบายตรวจสอบย้อนกลับ ไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และที่มาจากการเผา รัฐควรบังคับเอกชนใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับทุกรายเท่าเทียม
"สหพัฒน์" จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 อนุมัติจ่ายปันผลหุ้นละ 2.00 บาท
อนุโมทนาบุญ "กรรชัย" เผยไม่รู้ "น้องภูมิ" จะบวช เล่าซึ้งเบื้องหลัง ช่วยรักษา แถมเคลียร์หนี้ให้แม่
“สนธิญา” รายงานตัวต่อศาลหลังถูกออกหมายจับคดี "พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์" ยันไม่มีพฤติการณ์หลบหนี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น