No data was found

ตีความ 8 ปีประยุทธ์ ยังไงก็รอด

กดติดตาม TOP NEWS

ฝ่ายแค้นฝ่ายค้านโหมโรงตั้งแต่หัววัน  99 นักวิชาการ ภาคประชาสังคม รวมหัวขย่ม   “ตู่-ธีระชัย-ทนายนกเขา” ขยี้ซ้ำ  ทวนความจำที่มาพล.อ.ประยุทธ์   สมัยแรกมาไง  ใครเสนอใครสนองจากรัฐธรรมนูญฉบับไหน  เอ็กซเรย์ที่มานายกฯ ผ่านรัฐธรรมนูญปี 60  จับ 3 มาตราที่เกี่ยวข้องมาชำแหละ 158 159 และ 88   ฝ่ายค้านหยิบเรื่อง 8 ปีแค่มุมเดียวมาปลิดทิ้งนายกฯ ทั้งๆที่ครั้งแรกมาจากกติกาคนละฉบับ   ตีความ 8 ปีบิ๊กตู่ยังไงก็รอด    

วานนี้ 31 ก.ค.2565  ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ  คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และคณะ  แถลงข่าวกรณีนักวิชาการ ภาคประชาสังคม ฯลฯ  รวม 99 คน  ลงชื่อร่วมกันเรียกร้องให้ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม  ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกฯ เนื่องจากครบกำหนด 8 ปี ตามรัฐธรรมนูญ 60 และขาดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ   โดยยกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ม. 158 ที่ระบุว่า          “ นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง” มาเป็นหลักในการเรียกร้อง พร้อมยืนกราน เพื่อไม่ให้ละเมิดต่อหลักการ ขัดต่อรัฐธรรมนูญและเกิดความขัดแย้งครั้งใหม่ในสังคมไทย จึงขอเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ เสียสละลาออกจากตำแหน่งก่อนวันที่ 24 สิ.ค. 2565 นี้  เนื่องจากนายกฯ จะดํารงตําแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้

นอกจากครป.และเครือข่ายจะออกมาขย่มพล.อ.ประยุทธ์แล้ว   ฝ่าย 2 เกลออย่าง “ตู่” จตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และ  “ทนายนกเขา” นิติธร ล้ำเหลือ แกนนำกลุ่มประชาชนคนไทย (ปท.) รวมถึงธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ได้ทีออกมาขย่มนายกฯเช่นกัน    อดีตขุนคลังยุค “เจ๊ปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  ออกมาให้ความเห็นในเชิงกฎหมาย 8 ปีของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นับจากวันไหน ดูแล้วมีหลายวิธี คือ 1.นับจากวันที่เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 2. นับจากวันที่มีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งเป็นนายกฯครั้งแรก วันที่ 23 ส.ค.2557 และ 3. นับจากวันที่รัฐธรรมนูญ 2560 ใช้บังคับ 4. นับจากวันเลือกตั้งปี 2562  “ การนับ 8 ปีของพล.อ.ประยุทธ์ ต้องเอากฎหมายวางไว้ก่อน แล้วเรามาถามว่า ท่านทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ในฐานะนายกฯ มาตั้งแต่เมื่อไหร่ ต้องดูข้อเท็จจริงก่อนว่า ในทางปฏิบัติจริงๆเป็นอย่างไร ทำมาตั้งแต่เป็นหัวหน้าคสช. การตีความกฎหมาย ใครจะบิดอย่างไร ให้คำนึงถึงผลได้ผลเสีย ต่อประชาชน ต่อระบบความมั่นคง ความปรองดองของประเทศด้วย”ธีระชัยออกมากระทุ้ง

ด้านตู่จตุพรประธานนปช. ออกมาอัดหนักจัดเต็มบิ๊กตู่นายกฯ   “  ชีวิตนี้เป็นได้ 8 ปี  แสดงว่าถ้าจะเป็นต่อ ต้องไปตายแล้วเกิดใหม่ ไม่มีทางอื่นแต่นายวิษณุ  พูดไม่ครบ ฉะนั้นจะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ความจริงต้องนับตั้งแต่  22 พ.ค. 2557  อย่างที่หลายคนระบุ  เพราะหัวหน้าคสช. ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารด้วย ตีความเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ว่าต้องครบ 8 ปี เที่ยงคืนวันที่ 23 ส.ค.นี้  “ กรณี 8 ปีของพล.อ.ประยุทธ์ ไม่ควรจะจบที่ศาลรัฐธรรมนูญ แต่ควรจะจบที่พล.อ.ประยุทธ์ เพราะกติกาท่านเขียนเองกับมือ จะมาลบด้วยเท้าได้อย่างไร ถ้าพล.อ.ประยุทธ์รู้ว่ามาตรานี้มีปัญหา แล้วจะให้นายมีชัยเขียนได้อย่างไร เป็นเวลาดีที่พล.อ.ประยุทธ์ จะลงจากตำแหน่งด้วยเหตุนี้โดยไม่บอบช้ำอะไรเลย  แต่ว่าหลังจาก 23ส.ค.เป็นต้นไปทางลงมันไม่ง่าย  เพราะฉะนั้นเห็นด้วยกับผู้มีอำนาจหลายคน เวลาทางลงที่มักเป็นทางสวรรค์มักจะไม่ลง” จตุพรร่ายย่าว  จากนี้เหลือเวลาอีก 20 กว่าวันจะถึงกำหนดเส้นตายที่ ฝ่ายค้านฝ่ายแค้นขีดเส้นใต้ว่าหมดเวลาที่พล.อ.ประยุทธ์จะไปต่อ

23 ส.ค.2565 คือวันสุดท้ายที่หลายคนมั่นใจว่าเป็นการทำหน้าที่ครบ 8 ปีของพล.อ.ประยุทธ์ นับตั้งแต่วันเริ่มเป็นนายกฯครั้งแรกเมื่อ 24 ส.ค.2557 หลังตัดสินใจเข้าควบคุมอำนาจบริหารประเทศตั้งแต่ 22 พ.ค.2557 อย่างไรก็ตามความเห็นของฝ่ายตรงข้ามมองว่าการพิจารณาเรื่องนี้ต้องตีความตาม “เจตนา” ของการเขียนรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่ไม่ต้องการให้ใครที่มาเป็นผู้นำประเทศแล้วคิดจะสืบทอดอำนาจอยากอยู่ยาว  เลยเขียนกติกาห้ามเป็นนายกฯเกิน 8 ปีกำกับไว้ ไม่ว่าจะเป็นติดต่อกันหรือเป็นหลายครั้งแล้วเอามานับรวมกันก็ห้ามเกิน 8 ปี  แต่กรณีของพล.อ.ประยุทธ์มันมีข้อให้ยกเว้นและ “เห็นต่าง-เห็นแย้ง” หลายเรื่องโดยเฉพาะจากคนที่สนับสนุนและคนที่มองว่าพล.อ.ประยุทธ์ยังไปต่อได้  และการนับอายุของพล.อ.ประยุทธ์จริงๆต้องนับวันแรกตั้งแต่ตอนที่เป็นนายกฯสมัย 2 คือเมื่อ  9 มิ.ย.2562 ไม่ใช่การเป็นนายกฯครั้งแรกเมื่อ 24 ส.ค.2557 อย่างที่หลายคนพยายามจะสร้างสตอรี่ให้เป็นแบบนั้น

ทั้งนี้เพราะประการแรกการเป็นนายกฯของพล.อ.ประยุทธ์สมัยแรก เริ่มต้นจาก 21 ส.ค.2557  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีวาระการประชุมให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกฯ ก่อนเลือกพล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ   โดยในวันนั้น ตวง อันทะไชย สมาชิกสนช.ที่ได้รับมอบหมายจากมติวิปสนช.  ให้เป็นผู้เสนอชื่อพล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นนายกฯคนที่ 29 โดยมีผู้รับรอง 188 คน และไม่ลงคะแนน 1 คน หลังจากใช้เวลาประมาณ 30 นาที การออกเสียงจึงเสร็จสิ้น  ก่อนพรเพชร วิชิตชลชัย  ประธานสนช. ได้ประกาศผลการลงคะแนนออกเสียงมีผู้เห็นชอบให้ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ  191 คน  งดออกเสียง 3 คน ไม่เข้าร่วมประชุม 3 คน จากสมาชิกสนช.197 คน  จากนั้นพรเพชรก็เป็นคนเสนอชื่อพล.อ.ประยุทธ์ขึ้นเป็นนายกฯ ก่อนจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯในวันที่ 24 ส.ค.2557  โดยพรเพชรในฐานะประธานสนช.เป็นคนรับสนองพระบรมราชโองการ   เพราะฉะนั้นการเป็นนายกฯครั้งแรกของพล.อ.ประยุทธ์จึงเป็นการมาเป็นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ที่มี 48 มาตรา  โดย มาตรา 19 ได้ระบุการได้มาของนายกฯ ว่า  “ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรัฐมนตรีอื่นอีกจํานวนไม่เกินสามสิบห้าคนตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคําแนะนํา ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ดําเนินการให้มีการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ และส่งเสริมความสามัคคีและ ความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ”

จากนั้นในวันที่ 5 ต.ค.2558 พล.อ.ประยุทธ์ในฐานะประธานคสช.มีการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ชุด 21 อรหันต์  มีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธาน ใช้เวลายกร่างรัฐธรรมนูญเกือบปี 7 ส.ค.2559 มีการลงประชามติว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ผลปรากฎว่าประชาชน 61.35 % ราว 16,820,402 คนลงมติเห็นด้วย  ขณะที่ 38.65 % ราว 10,598,037 คนลงมติไม่เห็นด้วย   จากนั้นในวันที่ 6 เม.ย. พ.ศ. 2560 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.10   ทรงประทับพระราชอาสน์หน้าพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์เพื่อลงพระปรมาภิไธยในร่างรัฐธรรมนูญและประทับตราพระราชลัญจกร นับเป็นการประกาศใช้รัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ

24 มี.ค.2562 มีการเลือกตั้งทั่วไป จากนั้นในวันที่ 5 มิ.ย.2562 รัฐสภาโดยส.ส.และส.ว. มีนัดลงมติเลือกนายกฯคนใหม่ โดยใช้ หอประชุมใหญ่ บ.ทีโอที จำกัด มหาชน ถนนแจ้งวัฒนะเป็นที่ประชุมสภา  มีส.ส.เข้าร่วม 497 คน จาก 500 คน ส.ว.อีก 250 คน  รวมองค์ประชุม 747 คน โดยบุคคลที่จะได้รับเลือกเป็นนายกฯต้องมีเสียงเกินกึ่งหนึ่ง (375 คน)  รอบสุดท้ายมีผู้เข้าชิง 2 คนคือ พล.อ.ประยุทธ์ ที่พรรคพลังประชารัฐเสนอตามบัญชีรายชื่อแค่คนเดียว กับ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ  จากพรรคอนาคตใหม่   ผลปรากฎว่าที่ประชุมจำนวน 500 คนเลือกพล.อ.ประยุทธ์  ส่วนอีก 244 คนเลือกธนาธร และงดออกเสียง 3 คน  ที่สุดพล.อ.ประยุทธ์เลยได้เป็นนายกฯสมัยที่ 2  แต่เป็นนายกฯสมัยแรกที่มาตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ ปี 2560  โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ลงมาเมื่อ 9 มิ.ย.2562    ด้วยเหตุนี้เองคนที่เชียร์พล.อ.ประยุทธ์ คนที่เห็นว่าบิ๊กตู่เพิ่งเป็นนายกฯตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน  จึงเห็นแย้งว่าบิ๊กตู่เพิ่งเป็นนายกฯแค่ 4 ปีเท่านั้น  เพราะครั้งแรกที่เป็นนายกฯนั้นเป็นตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ซึ่งเอามานับไม่ได้

ที่สำคัญที่มาของการเป็นนายกฯตามรัฐธรรมนูญ 2560 นั้นเขียนไว้ชัด ใน มาตรา 158 ไม่ได้เขียนแค่เรื่อง 8 ปี แต่เขียนยาวกว่านั้นมาก  โดยเฉพาะประโยคที่ระบุว่า   “ นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบตามมาตรา 159  ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี”   ขณะที่มาตรา 159 เขียนว่า   “ ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้ง เป็นนายกรัฐมนตรีจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 160  และเป็นผู้มีชื่ออยู่ ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88  เฉพาะจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่มีสมาชิก ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร การเสนอชื่อตามวรรคหนึ่งต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร”    ขณะที่ ม.88  ระบุว่า  “ ในการเลือกตั้งทั่วไป ให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแจ้งรายชื่อบุคคล ซึ่งพรรคการเมืองนั้นมีมติว่าจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่เกิน 3 รายชื่อต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง”

หากพิเคราะห์ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เกี่ยวข้องกับที่มานายกฯ ทั้ง 3 มาตรา คือ 158 159 และ 88   ชัดเจนว่าการเป็นนายกฯของพล.อ.ประยุทธ์สมัยแรกไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามคุณสมบัติของทั้ง 3 มาตราเลย  มาตรา 158 บอกคนเป็นนายกฯต้องให้สภาเห็นชอบประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นคนรับสนอง กรณีพล.อ.ประยุทธ์นั้นสนช.เสนอ พรเพชรประธานสนช.เป็นคนรับสนอง   มาตรา 159 บอกว่าต้องเป็นชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้  และ มาตรา 88 บอกว่าต้องเป็น 1 ใน 3 รายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอต่อกกต.  ครั้งแรกพล.อ.ประยุทธ์เป็นหัวหน้าคสช.  ตวงสมาชิกสนช.เป็นคนเสนอเพียงคนเดียว ไม่ใช่ชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้หรือเป็น 1 ใน 3 ชื่อที่พรรคการเมืองเสนอไปยังกกต.  เพราะฉะนั้นการเป็นนายกฯสมัยแรกของพล.อ.ประยุทธ์จึงไม่ได้มาตามบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 2560 เลย   เพราะฉะนั้นการเอาข้ออ้าง 8 ปี แค่เสี้ยวหนึ่งใน มาตรา 158 มาใช้เบรกพล.อ.ประยุทธ์คงไม่ถูกต้องนัก   หากจะนับให้ถูกต้องแฟร์จริงๆ ต้องนับตอนพล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯสมัย 2  เมื่อ 9 มิ.ย.2562  ซึ่งทุกขั้นตอนมาตามบทญัญัติแห่งรัฐธรรมนูญปี 2560 เป๊ะๆ  นับตามนี้พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯมาแล้ว 4 ปี  เหลือออปชั่นยังเป็นนายกฯได้อีก 4 ปีนะจ๊ะ  เพราะฉะนั้นความพยายามที่จะเบี่ยงประเด็นโดยตีความว่าพล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯมา 8 ปีแล้ว จึงไม่น่าจะถูกต้องเป็นธรรม เพราะเอาบทบัญญัติที่มาของนายกฯมาพูดไม่ครบ เลือกเอาแต่มุมที่จะ “ปลิดทิ้ง” เอาพล.อ.ประยุทธ์ออกด้านเดียว  โดยไม่เอาที่มาของการเป็นนายกฯอันเป็นองค์ประกอบสำคัญมาพูดถึงเลย  มองยังไงตีความ 8 ปี นายกฯ จบที่ 23 ส.ค. นี้  ยังไงพล.อ.ประยุทธ์ก็หลุดยังไงนายกฯก็รอด เพราะมีมุมให้ฝ่ายสนับสนุนเห็นแย้งเห็นต่างหักล้างมากมาย  ฟันธงลุงตู่ไปต่อ

//////////////////

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ตำรวจรวบตัว "3 ชาวจีน" ถูกทิ้งอยู่ข้างทาง หลังหนีการสู้รบจาก "เมืองเมียวดี" ลักลอบเข้าไทย
เด็ก "เจ๊แดง" ผงาด "จักรพล" ขึ้นแท่น "โฆษกรัฐบาล" ลุยทำงานเต็มสูบหลังโผครม.เศรษฐา 2 คลอด
ตำรวจสอบสวนกลาง รวบ "แม่เล้า" ริมฝั่งโขง ค้ากามเด็กสาวไทย-ลาว เตือนผู้ปกครองควรใส่ใจดูแลบุตรหลาน
“แม่น้องไนซ์” รอพบสำนักพุทธฯ เคลียร์ปมเชื่อมจิต ลั่นเตรียมฟ้องสื่อ 5 ช่อง เผยแพร่ข้อมูลเท็จ
3 จีนเทา หนีสู้รบ จากเมียวดีฯ ลอบเข้าไทยจะไปปอยเปตถูกนำมาปล่อยทิ้งข้างถนน
เมืองพัทยา คึกคัก กองเรือพิฆาตเทียบฝั่ง ทหารอเมริกันยกพลขึ้นบกท่องเที่ยว
ชาวเน็ตแห่แชร์ภาพคุณยายวัย 89 ปี อยู่คนเดียว สุดรันทดในบ้านไม้ผุพังไม่มีหลังคาบังแดดบังฝนวอนหน่วยงานเร่งช่วยเหลือ
"หมอธีระวัฒน์" แจ้งข่าวลาออก หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ รพ.จุฬาฯ หลังวิจารณ์ปมวัคซีนโควิด หวั่นกระทบภาพลักษณ์องค์กร
"รทสช." ยังไม่นิ่ง! สะพัด "เสี่ยเฮ้ง" รีเทิร์นคั่วเก้าอี้ "รมช."
สลด "นศ.สาวปี 3" รอมอบตัว หลังใช้มีดไล่แทง "แฟนหนุ่ม" บาดเจ็บสาหัส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น