“นิกร” เชื่อ ไม่ว่ายังไง”ร่างกฎหมายลูกเลือกตั้งส.ส.”ก็ผ่านวาระ 3

“นิกร” ชี้ ไม่ว่ากฎหมายลูกเลือกตั้งออกมาสูตรไหนเรื่องก็ถึงศาลรธน. เชื่อไม่ว่ายังไงก็ผ่านวาระ 3

เมื่อวันที่ 30 ก.ค. นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ (วิสามัญ) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. (ฉบับที่…) พ.ศ.… สัมภาษณ์ถึงการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. (ฉบับที่…) พ.ศ.… หากผ่านวาระ 3 กระบวนการจะเป็นอย่างไรต่อไปนันว่า ส่วนตัวตนไม่เห็นด้วย เพราะไปขัดหลักการใหญ่กับมาตรา 91 และตนจะไม่เห็นชอบด้วย แต่ทั้งนี้เชื่อว่าจะผ่านการเห็นชอบแต่ต้องมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสองสภา หลักจากนั้นก็จะต้องใช้มาตรา 132 ของรัฐธรรมนูญคือทางรัฐสภาจะส่งไปยังศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องคือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยกกต.จะต้องให้ความเห็นกลับมา

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“ในการพิจารณาส่วนนี้มีประเด็นคือตัวแทนกกต.ที่เป็นกมธ. ที่กมธ.เสียงข้างน้อยซึ่งเห็นด้วยกับสูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อหาร 500 เขาขอให้ช่วยดู แต่ในกมธ.เห็นว่าไม่ควรใช้ในนามกกต. เพราะกกต.ยังต้องความเห็นเห็นกลับมา มันจะเป็นการผูกพันองค์กร จึงให้เป็นความเห็นในนามกมธ.และในนามบุคคลเท่านั้น ซึ่งก็คงจะไม่มีปัญหากับกกต. ทั้งนี้ กกต.จะต้องพิจารณาว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือมีปัญหาในการปฏิบัติหรือไม่ภายใน 10 วัน ซึ่งกกต.ไม่น่าจะชี้ว่าขัดเพราะไม่ใช่หน้าที่ แต่ในประเด็นว่าขัดหรือแย้งหรือไม่นั้น กกต.จะเป็นการให้ความเห็นกลับมา แต่ก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่แก้หรือเพิ่มเป็นหลัก” นายนิกร กล่าว

นายนิกร กล่าวต่อว่า ตนเห็นว่ามีปัญหาในเชิงปฏิบัติอย่างแน่นอน เพราะมันเป็นคนละอย่างแล้วจับมารวมกัน ซึ่งจะมีปัญหาหลังการเลือกตั้งแล้วเกี่ยวกับเรื่องใบแดงหรือการทุจริต ก็จะยุ่งวุ่นวายกัน โดยสภาจะไม่นิ่ง ไม่ลงตัวและมีปัญหาต่างๆ รวมถึงกรณีการ Overhang ที่จะกลายเป็นว่าได้ส.ส.บัญชีรายชื่อ 200-300 ซึ่งมันจะเกิดขึ้นแน่ และตนคิดว่ากกต.อาจจะแย้งกลับมา ซึ่งหากแย้งกลับมาว่ามีปัญหาเชิงปฏิบัติ สภามีทางเลือก 2 ทางคือ 1.ต้องกลับไปแก้ให้ไม่มีปัญหาคือ การกลับไปใช้สูตรหารด้วย 100 และต้องกลับมาแก้มาตราที่เคยแก้ไว้อีกครั้ง ซึ่งหากเสร็จแล้วก็จะส่งขึ้นทูลเกล้าฯ โดยในส่วนนี้จะมีเวลา 5 วัน ซึ่งก็เชื่อว่าฝ่ายที่เห็นด้วยกับการหารด้วย 500 เขาจะต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญแน่ และ 2.หากเสียงข้างมากของรัฐสภายืนตามเดิมคือหารด้วย 500 ก็ต้องลงคะแนนยืนยัน ซึ่งหากที่ประชุมรัฐสภาเห็นชอบกับการหาร 500 ก็จะเจอ 2 ด่านคือ พรรคเพื่อไทย เท่าที่ทราบคือเขาจะร้องศาลรัฐธรรมนูญว่าขัดหรือแย้ง และอีกทีมคือคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พ.ศ…. ที่มีนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เป็นประธาน ที่เห็นว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นการยื่นแยกกับทางพรรคเพื่อไทย

“ไม่ว่าอย่างไรทั้งสองทางก็จะต้องถึงศาลรัฐธรรมนูญแน่ ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญชี้กลับมา โดยอาจจะบอกว่าขัดหรือไม่ขัด หากไม่ขัดก็สามารถนำขึ้นทูลเกล้าต่อฯ และบังคับใช้ได้เลย แต่หากชี้ว่าขัดก็จะต้องตกออกทั้งฉบับหรือนำมาแก้เฉพาะช่วยที่มีปัญหา ซึ่งเมื่อแก้แล้วก็สามารถนำขึ้นทูลเกล้าได้ฯ” นายนิกร กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

จีนชี้หากสหรัฐต้องการเจรจาการค้าต้องยกเลิกภาษีก่อน
ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 2 พฤษภาคม 2568
MEA ผนึกกำลังสมาคมฟุตบอลฯ หนุน "ฟุตซอลไทยลีก 2025" พร้อมเปิดลีกอย่างเป็นทางการ
มุ่งเป้าเจาะชั้นใต้ดิน จุดที่คาดว่าผู้สูญหายติดค้างอยู่ อีกไม่เกิน 2 สัปดาห์ เคลียร์ชั้นใต้ดินได้หมด
กรมส่งเสริมสหกรณ์ แจงพร้อมช่วยเหลือสมาชิกเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมสหกรณ์การเกษตรแม่ทา จำกัด หลังประสบปัญหาขายนมไม่ได้ โต้! ผู้ประกอบการบางรายทำผิด MOU ซื้อขายน้ำนม
ระยอง เชิญเที่ยว เทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยอง 2568 15-18 พ.ค.นี้ ชู ไฮไลต์ทุเรียนหมอนทอง-เที่ยวสวนเกษตร
"แอ็คมี่ วรวัฒน์" สร้างประวัติศาสตร์คนไทยคนแรก คว้ารางวัลเวทีระดับโลกที่ดูไบ
"ชูศักดิ์"ยัน"ราชทัณฑ์"ส่งตัวนักโทษรักษา ไม่ต้องขออนุญาตศาล เชื่อไต่สวนชั้น 14 ไม่กระทบรัฐบาล
"นฤมล" ย้ำผลงาน 3 หน่วยงาน ร่วมมือวางแผนเปิดกรีดยางช้า ดันราคายางโลกขึ้นไม่หยุด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น