No data was found

“ธนารักษ์” รีบสุด ไม่รอศาลปกครองพิพากษา นัด “วงษ์สยาม” เซ็นสัญญา 3 ส.ค.

กดติดตาม TOP NEWS

"กรมธนารักษ์" นัด "วงษ์สยาม ก่อสร้าง" วันที่ 3 ส.ค.65 เซ็นสัญญาโครงการบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก (อีอีซี) ไม่รอศาลปกครองพิพากษา

วันที่ 26 กรกฎาคม 2565 มีรายงานข่าวว่า นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์ ได้ลงนามในหนังสือ เรื่องการลงนามในสัญญาโครงการบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก ถึง กรรมการผู้จัดการ บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด

หนังสือระบุว่า กรมธนารักษ์ ได้กำหนดให้มีการลงนามในสัญญาโครงการฯ ในวันที่ 3 สิงหาคม 2565 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคาร 72 ปี กรมธนารักษ์

โดยในการลงนามสัญญาบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก ในวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด ต้องชำระเงินตามเงื่อนไขของสัญญาในวันลงนามในสัญญาโครงการดังกล่าว ดังนี้
1. ชำระค่าแรกเข้าเพื่อทำสัญญา เป็นเงินจำนวน 580,000,000 บาท
2. ชำระผลประโยชน์ตอบแทนรายปี (Fixed Fee) ปีที่ 1 เป็นเงิน 44,644,356 บาท มาชำระให้กรมธนารักษ์ในวันลงนามในสัญญาเช่าโครงการดังกล่าว
3. วางหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา เป็นเงินจำนวน 118,979,500 บาท

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าจับตาว่า การนัดลงนามเซ็นสัญญาครั้งนี้ เกิดขึ้นทั้ง ๆ ที่ศาลปกครองยังไม่ได้มีคำพิพากษาใดๆ เกี่ยวกับการประมูลท่อส่งน้ำ EEC และเคยมีความเห็นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 ระบุชัดเจนว่า กรณีนี้หากการคัดเลือกเอกชนเพื่อเข้าทำสัญญาในโครงการดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไป จนมีการลงนามในสัญญา ย่อมทำให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนอในการประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมยื่นข้อเสนอครั้งแรกได้รับความเสียหาย

เนื่องจากมาตรา 119 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 บัญญัติให้การฟ้องคดีไม่มีผลกระทบต่อการจัดซื้อจัดจ้างที่หน่วยงานของรัฐได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างแล้ว จึงย่อมทำให้การฟ้องคดีนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟ้องคดีในการแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากมติหรือคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ยกเลิกการคัดเลือกเอกชนเพื่อบริหารและดำเนินการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออกครั้งแรก

ประกอบกับโครงการพิพาทมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เอกชนบริหารจัดการและดูแลรักษาระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออกให้สามารถตอบสนองความต้องการใช้น้ำของชุมชนและกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอและทันต่อการณ์ โดยบริหารจัดการเพื่อให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงที่มีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคตะวันออก

 

ดังนี้ หากการยกเลิกการคัดเลือกเอกชนเพื่อบริหารและดำเนินการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออกเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงอาจเป็นอุปสรรคแก่การบริการสาธารณะด้านการให้บริการสาธารณูปโภค

ศาลจึงมีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยเร่งด่วนตามข้อ 49/2 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2543

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

หดหู่ใจ พ่อป่วยซึมเศร้า ไลฟ์สดตัดพ้อชีวิต ก่อนพาลูกสาววัย 1 ขวบ ขับรถดิ่งแม่น้ำ
"ดร.สามารถ" ฝาก 4 ข้อเร่งทำ ถ้าไม่อยากเห็นกทม.เป็นเมืองคนตกท่อซ้ำซาก
"อุบลฯ" อ่วมโดนพายุถล่ม "ต้นมะขามยักษ์" หักโค่นทับบ้านพัง 3 ชีวิตรอดหวุดหวิด
สภาพอากาศวันนี้ "อุตุฯ" ประกาศเตือน 3 ภาค พายุฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง ระวังอันตราย เตรียมรับมือให้ดี
อัลจาซีรา ประณามอิสราเอล
อิหร่านชี้ สหรัฐ-อังกฤษตัวการใหญ่หนุนหลังอิสราเอล
นักเตะทีมชาติมาเลเซียถูกสาดน้ำกรด
จยย.ข้ามเลนชนประสานงากระบะตาย 2
ด่วน !! เกิดเหตุถนนยุบตัวเป็นโพรงขนาดใหญ่ จากท่อร้อยสายไฟฟ้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
อัลจาซีรา จอดำ อิสราเอล สั่งปิด-ยึดอุปกรณ์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น