No data was found

เปิดข้อมูลอีกด้าน ต้นเหตุค่าไฟแพง หลังจ่อปรับขึ้นเป็น 5 บ.

กดติดตาม TOP NEWS

เปิดข้อมูลอีกด้าน ต้นเหตุค่าไฟแพง หลังจ่อปรับขึ้นเป็น 5 บ.

หลังจากมีรายงานว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวน และปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าหรือค่าเอฟที ในงวดใหม่เดือนกันยายนถึงธันวาคม 2565 มีแนวโน้มพุ่งสูงถึง 90-100 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งอาจทำให้ค่าไฟฟ้าจากปัจจุบันค่าไฟอยู่ที่ 4 บาทต่อหน่วย ต้องปรับเพิ่มเป็นเกือบ 5 บาท ในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีนี้ โดยอ้างว่าสาเหตุมาจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ แอลเอ็นจี ที่นำเข้าเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติต้นทุนต่ำในอ่าวไทย มีแนวโน้มราคาแพงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 จนถึงปัจจุบัน โดยราคาแอลเอ็นจีนำเข้าแตะระดับ 30 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู จากเดิมอยู่ที่กว่า 20 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ทั้งนี้กกพ.จะประกาศค่าเอฟทีอย่างเป็นทางการประมาณปลายเดือนนี้หรือต้นเดือนหน้า

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบสัดส่วนของแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศไทยปัจจุบัน พบว่ามีดังนี้
อันดับ 1 มาจากก๊าซธรรมชาติ 57.8% ซึ่งไทยมีแหล่งผลิตราว 13 แห่ง แหล่งใหญ่คือ แหล่งบงกช ,แหล่งเอราวัณ และบงกชใต้ อย่างไรก็ตามได้เกิดปัญหาการเปลี่ยนผ่านผู้ผลิตแหล่งก๊าซเอราวัณ จากเชฟรอนเป็นปตท.สผ.มีความล่าช้า ทำให้การผลิตไม่เป็นไปตามเป้า 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่วันนี้ผลิตได้ราว 250-300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันเท่านั้น จึงต้องนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจี
อันดับ 2 นำเข้าถ่านหินและลิกไนต์ 16.2%
อันดับ 3 นำเข้า 12.2%
อันดับ 4 พลังงานทางเลือก 10.4%
อันดับ 5 พลังงานน้ำ 2.9%
อันดับ 6 น้ำมัน 0.5%

ส่วนกำลังผลิตไฟฟ้ารวมทั้งประเทศ อยู่ที่ประมาณ 4 หมื่นกว่าเมกะวัตต์ แบ่งเป็น ผลิตเองจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือ กฟผ. 35.13% รับซื้อจากเอกชน 64.87% ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ 32.78% ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก 20.84% และจากลาว และมาเลเซีย 12.55%

 

อย่างไรก็ตามมีข้อมูลจากสภาองค์กรของผู้บริโภค ชี้ว่าปัญหาค่าไฟฟ้าแพงของประเทศ ไม่ได้มีปัจจัยจากภาวะสงครามหรือราคาก๊าซธรรมชาติขยับสูงขึ้น ตามที่หน่วยงานด้านพลังงานกล่าวอ้างเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยสำคัญที่ไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนอีก 5 สาเหตุด้วยกัน คือ

1.การวางแผนการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศที่คำนึงถึงความมั่นคงทางด้านพลังงานเกินความจำเป็น และเอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนธุรกิจพลังงานไฟฟ้าเกินสมควร ทำให้เกิดปัญหาปริมาณสำรองไฟฟ้าที่มากเกินจำเป็น หรือมีโรงไฟฟ้าในระบบล้นเกินความต้องการ เห็นได้จากปัจจุบัน ไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 46,136 เมกะวัตต์ แต่มียอดใช้ไฟฟ้าสูงสุดที่เกิดขึ้นในแต่ละปีนับแต่ปี 2562-2565 เพียงปีละประมาณ 30,000 เมกะวัตต์เท่านั้น หรือมีปริมาณเกินไปปีละ 10,000 เมกะวัตต์ หรือมีกำลังการผลิตสำรองสูงถึง 50% ขณะที่กำลังการผลิตสำรองไฟฟ้าที่เหมาะสมควรอยู่ที่ประมาณ 15 เท่านั้น

2.โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าล้นเกินความต้องการใช้ ไม่ต้องเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า แต่ยังได้เงินค่าไฟฟ้าที่เรียกว่า “ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า” ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าในลักษณะ “ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย” หรือ Take or Pay ซึ่งประมาณการว่ามีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ 8 ใน 12 แห่งไม่ได้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าหรือเดินเครื่องไม่เต็มศักยภาพ แต่ยังได้รับเงินค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้าแบบไม่ซื้อก็ต้องจ่ายมากถึง 49,000 ล้านบาทต่อปี

3.การที่โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ไม่ได้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าอย่างเต็มศักยภาพ เพราะกำลังผลิตไฟฟ้าล้นระบบ จึงผ่องถ่ายการผลิตไฟฟ้าไปให้โรงไฟฟ้าขนาดเล็กเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าแทน

4. ค่าไฟฟ้าแพงเพราะประชาชนไม่ได้ใช้ราคาก๊าซธรรมชาติที่ผลิตจากอ่าวไทยที่มีราคาต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบราคาก๊าซจากแหล่งอื่นๆ แต่ต้องใช้ราคา POOLก๊าซ หรือราคาผสมจากทุกแหล่ง ทั้งก๊าซที่ออกจากโรงแยกก๊าซ ก๊าซนำเข้าจากเมียนมา และ LNG ที่ขยับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

5.ค่าไฟฟ้าแพงเพราะรัฐยังไม่ตระหนักถึงปัญหาปริมาณไฟฟ้าสำรองที่ล้นเกินอย่างจริงจัง และแทนที่รัฐจะหยุดหรือลดการรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติม แต่รัฐยังจะเดินหน้ารับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไฟฟ้าในลาวเข้ามาอีก 2 โรง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อ.ประจักษ์" เขียนบทความใหม่ "ถ้าไม่มี สว." ชี้จุดเปลี่ยนที่กำลังจะเกิดขึ้น หากปชช.ไม่นิ่งเฉย
"โรงเรียนดังย่านมีนบุรี" แจงดราม่าเวลาเรียน หลังผู้ปกครองหลายคนกังวล ตารางเรียนแน่นเกินไป
นทท.จีนแห่เที่ยวเชียงใหม่ หลังฝุ่นจาง บรรยากาศสุดคึกคัก
บูชาหญิงเร่ร่อนเป็นพระแม่
ม็อบต้านเทสลารวมพลบุกโรงงานในเยอรมนี ตร.สกัดวุ่น(คลิป)
"มูลนิธิยังมีเรา" ร่วมท็อป นิวส์ เดินหน้าสานฝันเยาวชนยากไร้ มอบทุนการศึกษา เด็กๆฝากขอบคุณทุกน้ำใจ
ฮือฮา ล้างป่าช้าจีนโคราช "พบร่างอาจารย์ทอง" ครั้งแรกรอบ 12 ปี
วินจยย.เล่านาทีระทึก โจรเมียนมาชิงมือถือนทท. ซอยนานา พลาดตกสะพานลอยเจ็บ
"นายกฯ" เผยยังไม่คุยภท. ดึงกัญชากลับเป็นยาเสพติด ยันเห็นตรงกัน ต้องฟังความเห็นทุกภาคส่วน
“โฆษกรบ.” ซัดยับ พวกวิจารณ์ด้อยค่าข้าว 10 ปี ชี้วาทกรรมลวงโลก “ข้าวเน่า”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น