No data was found

‘กรมเจรจาฯ’ ลุยเบตง ปูทางทุเรียนไทย ใช้ FTA ขยายส่งออกตลาดโลก

กดติดตาม TOP NEWS

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ลงพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา หนุนผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และเกษตรกร กรุยทางทุเรียนไทยเร่งใช้ประโยชน์จาก FTA สร้างแต้มต่อขยายส่งออกตลาดโลก หลังทุเรียนสายพันธุ์มูซังคิงหรือทุเรียนเบตง กำลังเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศ ด้านเกษตรกรวอนรัฐดูแลเรื่องปุ๋ยเคมี ทำต้นทุนพุ่งกว่า 30%

นางอรมน  ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พร้อมคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนสวนทุเรียนศักดิ์ศรี อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เพื่อหารือกับผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ให้ผลผลิตทุเรียนภาคใต้ที่เริ่มทยอยออกสู่ตลาดในเดือน ก.ค.นี้ ได้ใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ไทยทำกับคู่ค้า 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ชิลี และเปรู ที่ได้ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าทุเรียนจากไทยแล้ว เหลือเพียงเกาหลีใต้ที่ยังคงเก็บภาษีนำเข้าที่ร้อยละ 36 แต่จะทยอยลดเหลือร้อยละ 0 ในปี 2574 ภายใต้ความตกลง RCEP ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบและโอกาสทางการค้าของวิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และผู้ประกอบการไทย ในการขยายส่งออกสินค้าทุเรียนไปตลาดโลก

ข่าวที่น่าสนใจ

นางอรมน กล่าวว่า กรมฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพทางการค้าของผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยตั้งแต่ปี 2561 ได้ดำเนินโครงการ “สร้างเครือข่ายเชื่อมโยง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่ตลาดการค้าเสรีอาเซียน” มาอย่างต่อเนื่องทุกปี ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา ซึ่งเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้ประโยชน์จาก FTA ให้กับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ ซึ่งพบว่า มีสินค้าที่มีศักยภาพและความพร้อมส่งออก โดยเฉพาะผลไม้ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ส้ม ลองกอง และกล้วยหิน

ทั้งนี้ ไทยส่งออกทุเรียนสดและทุเรียนแช่แข็ง เป็นอันดับที่ 1 ของโลก ในปี 2564 มูลค่ารวม 3,788 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็น
– การส่งออกทุเรียนสด มูลค่า 3,490 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 68%
– ส่งออกทุเรียนแช่เย็น แช่แข็ง มูลค่า 299 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 42%
ตลาดส่งออกหลัก คือ จีน มูลค่าส่งออกสูงถึง 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐ (90% ของการส่งออกทุเรียนของไทย) รองลงมาคือฮ่องกง มูลค่า 197 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (5% ของการส่งออกทุเรียนไทย) และเวียดนาม 119 ล้านเหรียญสหรัฐ (3% ของการส่งออกทุเรียนไทย)

สำหรับในช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย. 65) ไทยส่งออกทุเรียนไปตลาดโลก มูลค่า 721 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็น ทุเรียนสด มูลค่า 676 ล้านเหรียญสหรัฐ (96% ของการส่งออกทุเรียนทั้งหมดของไทย) และส่งออกทุเรียนแช่เย็นแช่แข็ง มูลค่า 45 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน ฮ่องกง และจีนไทเป โดยส่งออกไปประเทศคู่ค้า FTA มูลค่ารวม 712 ล้านเหรียญสหรัฐ (สัดส่วน 99% ของการส่งออกทั้งหมด) ขยายตัวร้อยละ 23 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ด้านนายศักดิ์ศรี สง่าราศี เจ้าของสวนทุเรียน ศักดิ์ศรี ซึ่งเป็นทุเรียนสายพันธุ์ มูซังคิง ตั้งอยู่หมู่ 2 ตำเนาะแมะเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ผลผลิตทุเรียนสายพันธุ์มูซังคิง อยู่ที่ ประมาณ 5-8 ตันต่อปี ส่วนใหญ่เน้นการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ถึง 95% ราคาผลเกรดเอ จำหน่ายกิโลกรัมละ 650 บาท โดยมูซังคิง เริ่มมีความต้องการที่สูงขึ้นโดยเฉพาะในประเทศ เนื่องจากเป็นพันธุ์ทุเรียนที่นำเข้าจากต่างประเทศ

ขณะเดียวกัน จากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทำให้วิสาหกิจชุมชนสวนศักดิ์ศรีทุเรียนเบตง ได้วางเป้าหมายการส่งออกทุเรียนมูซังคิงไปยังต่างประเทศ ภายใน 5 ปี และปีนี้ ได้มีการทดลองส่งทุเรียนสายพันธุ์ มูซังคิง ไปจำหน่ายยัง จีนและ ออสเตรเลีย อีกทั้งยังมีผู้ประกอบการล้งติดต่อมายังวิสาหกิจ เพื่อทดลองส่งไปยังตลาดต่างประเทศ โดยราคาของทุเรียนขึ้นอยู่กับตลาด โดยขายประเทศจีน แบบแกะเนื้อ กิโลกรัมละ 3 พันบาท

ขณะเดียวกัน จากราคาปุ๋ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนประมาณ 30% จากช่วงต้นปีที่ผ่านมา จึงต้องการให้ภาครัฐเข้ามาส่งเสริมสนับสนุนในเรื่องของราคาปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร ผู้ปลูกทุเรียนสิ่งสำคัญต้องการให้ภาครัฐส่งเสริมเรื่องราคาปุ๋ย ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นประมาณ 30% จากช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการใช้ปุ๋ยเคมีและลดต้นทุนการผลิตให้ถูกลง

สำหรับวิสาหกิจชุมชนสวนศักดิ์ศรีทุเรียนเบตง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2564 มีสมาชิก 7 คน ปลูกทุเรียนบนพื้นที่ 25 ไร่ มากกว่า 17 ปี รวม 400 กว่าต้น ผลิตทุเรียน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์มูซังคิง พันธุ์โอวฉีหรือหนามดำ และพันธุ์ยาวลิ้นจี่ เป็นสวนเกษตรอินทรีย์ผลิตทุเรียนปลอดสารพิษและได้รับมาตรฐานรับรอง GAP ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพและราคาของทุเรียนให้เพิ่มสูงขึ้น เน้นการทำตลาดออนไลน์ และบางส่วนจำหน่ายใน Tops Supermarket อีกทั้งจำหน่ายต้นกล้าทุเรียน ราคาต้นละ 100 บาท ส่งจำหน่ายทั่วประเทศได้ปีละ 60,000-80,000 ต้น

ปัจจุบัน สินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด รวมทั้งได้จำหน่ายทุเรียนแช่แข็งให้กับนักท่องเที่ยว และเตรียมขยายการผลิตเพื่อการส่งออกในอนาคต สำหรับทุเรียนของเบตง มีเอกลักษณ์แตกต่างจากพื้นที่อื่น คือ มีสีเหลืองแห้ง กลิ่นหอมเฉพาะ และรสหวานจัด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อช.แก่งกระจาน" ประกาศปิดท่องเที่ยวเขาพะเนินทุ่งชั่วคราว เพื่อซ่อมถนน
“ประเสริฐ” แจง “ชลน่าน” ยังกำลังใจดีอยู่ แม้หลุดรัฐมนตรี ยัน ไม่ทราบลือเปลี่ยนนั่ง ปธ.สภาฯ
พายุฤดูร้อน มาแล้ว อุตุฯเตือนฉบับ 1 ไทยตอนบนรับมือฝนฟ้าคะนอง 3-7 พ.ค.นี้ ระวังฟ้าผ่า ลมแรง
"ธนาธร" กู่ไม่กลับ! ฉีกกฎเหล็ก "กกต." จูงจมูก สว.ส้ม หลอน "บิ๊กตู่" คอนเน็คชั่น
"ดร.ธรณ์" เผย "ทะเลไทย" ร้อนเท่าออนเซนญี่ปุ่น วัดอุณหภูมิน้ำจากแหล่งหญ้าในทะเล ทะลุ 40 องศา
“อ๋อม สกาวใจ” รับไม่ได้ โร่แจ้งความ "เกรียนคีย์บอร์ด" เมนต์คุกคามทางเพศ
"อนุทิน" นำทีมพบผู้ใช้แรงงาน รับ 10 ข้อเรียกร้อง ยันเดินหน้าปรับค่าจ้าง พัฒนาทักษะอาชีพ เพิ่มสวัสดิการชีวิต
ก้าวไกลตีปีก "ศาลรธน." อนุญาต ขยายเวลาชี้แจงคดียุบพรรคอีก 15 วัน
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ คดีม.112 “บอส ฉัตรมงคล” หนุ่ม 3 นิ้ว สั่งจำคุก 3 ปี หลังศาลชั้นต้นยกฟ้อง
เปิดใจ "แรงงานนอกระบบ" เผยสิ่งที่ต้องการ ขอแค่สวัสดิการที่เท่าเทียม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น