No data was found

“พอเพียงคือทางออก”

กดติดตาม TOP NEWS

สุดสัปดาห์กับ "ปกรณ์ นิลประพันธ์" ชวนให้ทุกท่านคิด "ถ้าเปลี่ยนโควิดเป็นโอกาส เราไม่ได้ปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตรงไหนบ้าง

ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่เชื่อโดยสุจริตว่าโลกหลังโควิดจะเป็นโลกที่ไม่เหมือนเดิม และทุกภาคส่วนต้อง “ปรับตัว” ให้อยู่กับ “ความไม่เหมือนเดิม” นี้ให้ได้

ผู้เขียนจึงเชื่อว่าความพยายามที่จะทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม กลับไปเหมือนที่เคยเป็นอยู่ก่อนโควิดเป็นอะไรที่สวนกระแส เป็นไปไม่ได้ และเป็นการลงทุนที่อาจจะสูญเปล่า

ก่อนโควิด กำลังการบริโภคมีอัตราเร่งที่สูงมากจากลัทธิบริโภคนิยม กิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว สำหรับความรุ่งเรืองของระบบเศรษฐกิจของบ้านเราที่พันไปถึงความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมด้วยนั้น พึ่งพาการส่งออกกว่าร้อยละ 60 รวมกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่น่าตื่นเต้นถึงกว่าปีละ 40 ล้านคน

แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จะทรงพระราชทานคำสอนในการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนไว้ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้พวกเราแล้วว่า การดำรงชีวิตนั้นต้อง (1) มีเหตุผล (2) พอประมาณ และ (3) มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี แต่ผลตอบแทนที่ได้รับ ณ เวลานั้นทำให้คนส่วนใหญ่ละเลยคำสอนอันล้ำค่า มีการขยายการลงทุนในกิจการที่ “ต้องพึ่งพาคนอื่นมาก ๆ” จนไม่มีการคิดถึง “ความเสี่ยง” ที่ว่าถ้าวันหนึ่งคนอื่นเขาไม่สั่งซื้อสินค้าหรือใช้บริการของเรา เราจะอยู่ได้อย่างไร

เมื่อเกิดโควิด ความเสี่ยงที่ว่านี้เกิดเป็นจริงขึ้นมาและส่งผลกระทบอย่างรุนแรง อย่างกิจการสายการบินที่เฟื่องฟูมากมายเดินทางมาถึงวันที่ต้องเสี่ยงกับการล้มละลายเพราะการกำกัดการเดินทาง ธุรกิจสร้างเครื่องบินโดยสารกลายเป็นธุรกิจที่แทบจะไม่มีอนาคต ธุรกิจโรงแรมที่เปิดกันทั่วทุกหัวระแหงต้องปิดตัวลง โรงงานผลิตเพื่อการส่งออกจำนวนมากต้องปิดตัวลงเพราะไม่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อพนักงานในธุรกิจ รวมทั้งผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก แต่การช็อคทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงนี้เกิดขึ้นในทุกแห่งทั่วโลก มิได้จำกัดเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น

นี่ยังไม่รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการเมืองระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ข้อพิพาทที่ใช้กำลัง (arm conflicts) ซึ่งจำกัดทั้งขอบเขตและคู่กรณีนั้นมีน้อยลง แต่มีการตอบโต้กันด้วยมาตรการที่ไม่ใช่อาวุธมากขึ้น โดยเฉพาะการแทรกแซงทางการเมืองโดยผ่านตัวแทน และการตอบโต้กันทางการค้าของของประเทศมหาอำนาจอันเป็นอุปสรรคต่อการขายสินค้าและบริการทั่วโลก สภาพบังคับโดยอ้อมทำให้ประเทศเล็กประเทศน้อยต้อง “จำใจเลือกข้าง” และเมื่อเลือกข้างใดข้างหนึ่ง ก็จะถูกแทรกแซงจากอีกข้างหนึ่งทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม และการพิพาททางการค้าอย่างหนักนี้เองที่ทำให้ประเทศใหญ่น้อยต้องกลับมาเริ่มสั่งสมอาวุธทำลายล้างสูงไว้เพื่อเป็น “เครื่องมือต่อรอง” ในเวทีเจรจาต่าง ๆ กันอีกครั้ง

ในทัศนะของผู้เขียน เป็นไปแทบไม่ได้เลยที่จะทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศกลับไปสู่สภาวะเดิมก่อนโควิด จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องตระหนักถึงข้อเท็จจริงนี้และปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องความเป็นจริง ลดการพึ่งพาการส่งออก และทิ้งตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในอดีตไว้เป็นความทรงจำที่ดี เพราะคงเป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นอีกในอนาคตแม้จะมีวัคซีนป้องกันโควิดเกิดขึ้นก็ตาม

เรื่องที่จะชวนคิดคือเราจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างไร

ผู้เขียนไม่มีความลึกซึ้งในวิชาทางเศรษฐกิจนัก แต่สนใจเรื่องการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อม ๆ กันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก เป้าหมายมิใช่การเน้นการสร้างความมั่งคั่ง (Wealth) แต่เน้นการสร้างความแข็งแรงและความสุข (well-being) ของคนในระดับครอบครัวและระดับชุมชน ผู้เขียนเชื่อว่าถ้าครอบครัวและชุมชนเข้มแข็ง จะส่งผลให้สังคมและประเทศชาติในภาพรวมเข้มแข็งได้ในที่สุด

วิธีหนึ่งที่น่าสนใจคือ Urban Revitalization หรือการทำให้ชุมชนต่าง ๆ กลับมา “มีชีวิตชีวา” อีกครั้งหนึ่ง ที่ผ่านมานั้น ความเจริญกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ทำให้คนทิ้งถิ่นฐานเข้ามาทำงานเป็นพนักงานหรือลูกจ้างในเมือง ชุมชนต่าง ๆ ในเมืองรองเมืองเล็กเหลือแต่ผู้สูงอายุและเด็ก ความมีชีวิตชีวาของชุมชนเลือนหายไปโดยปริยาย ดังนั้น จึงเป็นการยากที่จะกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจและสังคมให้หมุนเวียนได้เพราะขาดพลัง

ถ้าเปลี่ยนโควิดให้เป็นโอกาส ผมเห็นว่าทุกคนควรถอดบทเรียนที่เกิดขึ้นกับตัวเองว่าเราไม่ได้ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตรงไหนบ้าง พอประมาณไหม สมเหตุสมผลไหม มีภูมิคุ้มกันพอไหม ซึ่งถ้าพูดแบบฝรั่งก็คือต้องมี risk appetite และต้องมี risk management และมี risk review เป็นประจำ และควรใช้เวลานี้ในการส่งเสริมให้เกิด urban revitalization ขึ้นเพื่อฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งจากฐานราก

มันคงยากที่จะทำ เพราะมันสวนกระแสบริโภคนิยม กระแสสุขสบายนิยม แต่ถ้าไม่ทำ เราก็ยังคงอยู่ในกับดักเดิม ๆ ที่ต้องวิ่งตามหาความมั่งคั่งด้วยจิตใจที่ร้อนรุ่ม แต่ไม่มีความสุขในชีวิต หรือมีสุขไปวัน ๆ ไม่ยั่งยืน

ชวนคิดนะครับ

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ดร.สามารถ" ไม่เชื่อทุกโปรเจกต์ก่อสร้าง "พระราม2" เสร็จปี 68 ชงข้อมูลเชียร์นายกฯเร่งลุยให้เสร็จ
ปลัด มท. ประชุมจัดกิจกรรม "เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" สร้างพลังจิตอาสา ให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องปชช.
เมียนมา กองทัพยืนยันยึดเมียวดีคืนได้แล้ว
ศาลสั่งคุก 18 ปี 24 เดือน "อดีตผอ.-รองผอ." สามเสนวิทยาลัย รับแป๊ะเจี๊ยะเข้ากระเป๋าตัวเอง
สุดทึ่ง พ่อเผลอทำลายแบงก์หมื่นเยนเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ลูกชายต่อจนแลกเงินคืนได้
ปรับครม. เศรษฐา 2 นิ่งสนิท! เด็กในคาถา "นายหญิง - นายใหญ่" เก้าอี้แข็งโป้ก
"สุรพงษ์" นำทีมคมนาคมลงใต้ ลุยพัฒนาระบบขนส่งหนุนท่องเที่ยวปัตตานี
"บิ๊กโจ๊ก" เดินสายร้องปปง.ค้านทำคดีฟอกเงิน จ่องัดม.157 ฟาดกลับ ปลดออกราชการมิชอบ
ผ่าชนวนระเบิดเวลาขย่มรัฐบาล แก้ "รธน." นโยบายเรือธงส่อแป้ก ยึดคืน "ประธานสภา" สะเทือนสัมพันธ์พรรคร่วม
ศาลลงโทษ “การ์ดวีโว่” จุ้นเรื่องเมียนมา ก่อม็อบต้าน “มินอ่องหล่าย” รัฐประหาร

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น