No data was found

“พ.ร.บ.คู่ชีวิต” vs. สมรสเท่าเทียม แตกต่างกันอย่างไร

พ.ร.บ.คู่ชีวิต, สมรสเท่าเทียม, พ.ร.บ. คู่ชีวิต, ilaw, คู่สมรส

กดติดตาม TOP NEWS

"พ.ร.บ.คู่ชีวิต" ครม. ประกาศไฟเขียวร่างพ.ร.บ. แล้วกฎหมายนี้การสมรสเท่าเทียม มีความแตกต่างกันอย่างไร เช็คด่วนก่อนใครที่นี่

ครม. ไฟเขียว ร่าง “พ.ร.บ.คู่ชีวิต” ก่อนจะเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป แล้วพ.ร.บ.กับ สมรสเท่าเทียมมีความแตกต่างกันอย่างไร 8ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (มติ ครม.) ประกาศไฟเขียวรับร่าง “พ.ร.บ.คู่ชีวิต” กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากในกระแสสังคม ด้วยสังคมที่เปิดกว้างในเรื่องเพศมากขึ้นในปัจจุบัน การผ่านมติในครั้งนี้ จึงเปรียบเสมือนจุดความหวังให้กับกลุ่มหลากหลายทางเพศ 

 

 

 

ความแตกต่างระหว่าง “พ.ร.บ.คู่ชีวิต” และ สมรสเท่าเทียม

1. ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต

  • ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ร่างแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2556 ในยุครัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ก็เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เนื่องจาก สิทธิที่ได้รับน้อยมาก ซึ่งแตกต่างกับสมรสของชาย-หญิงเป็นอย่างมาก

 

 

 

สาระสำคัญ ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต

  • คู่ชีวิต หมายความว่า บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิด และได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ. นี้
  • กำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ. นี้
  • กำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองฝ่ายมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย รวมทั้งกำหนดบุคคลต้องห้ามไม่ให้จดทะเบียนคู่ชีวิต เช่น ทั้งสองคนเป็นญาติสืบสายโลหิตกัน เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา เป็นต้น
  • กรณีที่ผู้เยาว์จะจดทะเบียนคู่ชีวิต ต้องได้รับความยินยอมของบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือศาล รวมทั้งกำหนดให้ผู้เยาว์ย่อมบรรลุ นิติภาวะเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิต
  • กำหนดบทบัญญัติเพื่อรองรับลักษณะความสัมพันธ์ของคู่ชีวิต เช่น ต้องอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวและช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน

 

 

 

พ.ร.บ.คู่ชีวิต, สมรสเท่าเทียม, พ.ร.บ. คู่ชีวิต, ilaw, คู่สมรส

 

 

 

  • กำหนดให้คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา (มาตรา 3 และ 5 (2) และมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา (มาตรา 29 วรรคหนึ่ง) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
  • ทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต แบ่งเป็นสินส่วนตัวและทรัพย์สินร่วมกัน
  • คู่ชีวิตสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ รวมทั้งคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียน รับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมของตนด้วยก็ได้
  • เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่ เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
  • การสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิต คู่ชีวิตย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย ศาลพิพากษาให้เพิกถอน หรือการเลิกการเป็นคู่ชีวิต รวมทั้งกำหนดเหตุฟ้องเลิกการเป็นคู่ชีวิต เช่น คู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันคู่ชีวิต ประพฤติชั่ว ทำร้าย ทรมานร่างกายหรือจิตใจ จงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี
  • กำหนดให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยคู่สมรส (มาตรา1606 1652 1563) ครอบครัว และบุตรบุญธรรม มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลม

 

 

 

2. สมรสเท่าเทียม 

  • การแก้ไขถ้อยคำในหลายมาตราที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า สามีและภรรยา เป็น คู่สมรส
  • มีการปรับถ้อยคำจากคำว่า ชาย หรือ หญิง เป็น บุคคล เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการสมรสระหว่างบุคคล
  • ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา เป็นทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส รวมถึงการแบ่งมรดกของผู้ตายที่มีคู่สมรส

 

 

 

พ.ร.บ.คู่ชีวิต, สมรสเท่าเทียม, พ.ร.บ. คู่ชีวิต, ilaw, คู่สมรส

สาระสำคัญสมรสเท่าเทียม

  • ให้บุคคลเพศเดียวกัน หรือต่างเพศ ซึ่งมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ทำการหมั้นกันได้
  • แบบของการหมั้นให้ผู้หมั้นส่งมอบ หรือโอนทรัพย์สินให้กับผู้รับหมั้น ในส่วนของเรื่องสิทธิ และหน้าที่ระหว่างคู่หมั้นยังคงตามหลักการเดิม
  • บุคคลซึ่งเป็นญาติ สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป หรือลงมา จะทำการสมรส กันมิได้
  • บุคคลจะทำการสมรส ในขณะที่ตนมีคู่สมรสไม่ได้
  • การสมรสจะทำได้ ต่อเมื่อบุคคลทั้งสอง ยินยอมเป็นคู่สมรส
  • คู่สมรสต้องอยู่กินกันฉันคู่สมรส และช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู ตามความสามารถ และฐานะของตน
  • การจัดการทรัพย์สิน หนี้สินของคู่สมรส สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน ระหว่างคู่สมรส
  • การหย่า เหตุหย่า การฟ้องหย่าระหว่างคู่สมรส สิทธิได้รับค่าทดแทน การแบ่งสินสมรส
  • การเป็นผู้อนุบาลคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง กรณีศาลสั่งให้เป็น คนไร้ความสามารถ
  • การสมรสเท่าเทียม จะเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลเพศเดียวกัน สามารถสมรสกันได้ตามกฎหมาย เพื่อให้สามารถได้รับสิทธิในการสมรส

 

 

 

พ.ร.บ.คู่ชีวิต, สมรสเท่าเทียม, พ.ร.บ. คู่ชีวิต, ilaw, คู่สมรส

 

 

 

  • สิทธิในการกู้เงินซื้อบ้านและทำประกันชีวิตร่วมกันในฐานะคู่สมรส
  • สิทธิในการรับบุตรบุญธรรม
  • สิทธิในการใช้สถานะสมรสเพื่อลดหย่อนภาษี
  • สิทธิในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน
  • สิทธิเข้าเยี่ยมในเรือนจำกรณีที่นักโทษป่วย ในฐานะคู่สมรส
  • สิทธิในการขอวีซ่าเดินทาง กรณีบางประเทศต้องตรวจสอบยอดเงินในบัญชี คู่สมรสสามารถยื่นบัญชีของอีกฝ่ายเป็นหลักฐานได้

 

 

 

ส่วนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
  • ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมี คู่สมรส หรือ คู่ชีวิต อยู่ไม่ได้
  • กำหนดให้เหตุฟ้องหย่ารวมถึง กรณีสามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉัน คู่ชีวิต
  • ให้สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพในกรณีหย่าหมดไป ถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่หรือจดทะเบียนคู่ชีวิต

 

 

 

ข้อมูล : ilaw

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ปตท." รวมพลังเดินหน้าปรับภูมิทัศน์ "คลองเปรมประชากร" ถวายเป็นพระราชกุศล
สหรัฐวิตกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ผุดเป็นดอกเห็ดเต็มพรมแดนเมียวดี
"ปารีณา" สุดซึ้งน้ำตาคลอ นักการเมืองที่เคยฟาดฟันกลางสภา ยกลูกพรรค มาร่วมงานศพ "พ่อทวี ไกรคุปต์"
"สมาคมธนาคารไทย" ร่วมมือรัฐบาล เคาะลดดอกเบี้ย 0.25% นาน 6 เดือนช่วยลูกหนี้เปราะบาง
"นายกฯ" นำครม.เยี่ยมชมหลักสูตรการฝึกปฏิบัติ "เศรษฐกิจพอเพียง" ศูนย์ฝึกร.ร.จิตอาสา 904
"ตั๊น จิตภัสร์" ฝึกโดดร่มลงทะเล นาวิกโยธิน ร่วมกับทหารเสือราชินี รุ่น 23 เตรียมพร้อมรองรับทุกสถานการณ์
บังกลาเทศร้อนพุ่ง ทำละหมาดขอฝน
สหรัฐหนาว จีนติดสปีดเทคโนโลยีอวกาศ
จีนเตรียมปล่อยยานเสินโจว-18 คืนนี้
อิสราเอลประกาศเดินหน้าแผนโจมตีราฟาห์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น