No data was found

“โรคสมองเสื่อม” 2565 รับมือและดูแลผู้ป่วยอย่างไรให้ถูกวิธี

โรคสมองเสื่อม, ภาวะสมองเสื่อม, สมองเสื่อม, กรมการแพทย์, ผู้ป่วยสมองเสื่อม

กดติดตาม TOP NEWS

"โรคสมองเสื่อม" แพทย์ย้ำ โรคนี้ต้องทำความเข้าใจ พร้อมแนะวิธีเตรียมความพร้อมอย่างไร ถึงจะเหมาะสมต่อการดูแลผู้ป่วย

โรคสมองเสื่อมกรมการแพทย์เผย โรคนี้มักเกิดในผู้สูงอายุ อาจมีอารมณ์ปรวนและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เน้นย้ำโรคนี้ต้องความเข้าใจเป็นหลัก พร้อมแนะขั้นตอนเตรียมความพร้อมสำหรับการดูแลผู้ป่วย ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

กรมการแพทย์แนะทำความเข้าใจผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
  • ควรดูแลด้วยความรู้ ความเข้าใจ อดทน และใจเย็น
  • ผู้ดูแล ต้องหมั่นดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด เพื่อพร้อมที่จะดูแลผู้ป่วยให้มีสุขภาพดีและมีความสุข

 

 

 

โรคสมองเสื่อม, ภาวะสมองเสื่อม, สมองเสื่อม, กรมการแพทย์, ผู้ป่วยสมองเสื่อม

นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ภาวะสมองเสื่อม เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมต้องประสบกับปัญหาความจำ หลงลืม ไม่สามารถจำสิ่งใหม่ ๆ ได้
  • มีปัญหาทางด้านอารมณ์ หงุดหงิดง่าย สิ้นหวัง ซึมเศร้า
  • นอนไม่หลับ
  • ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มีพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่เหมาะสม เช่น ตะโกน ก้าวร้าว เป็นต้น
  • มีอาการทางจิตประสาท เช่น หวาดระแวง หูแว่ว เห็นภาพหลอนตลอดจนไม่สามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจและไม่เข้าใจการสื่อสารของผู้อื่นเช่นกัน
  • ดังนั้น ผู้ดูแลผู้ป่วยจึงต้องทำความรู้ความเข้าใจกับภาวะสมองเสื่อม เพื่อจะได้ให้การดูแลและเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น

 

 

 

โรคสมองเสื่อม, ภาวะสมองเสื่อม, สมองเสื่อม, กรมการแพทย์, ผู้ป่วยสมองเสื่อม

นายแพทย์อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาวะสมองเสื่อมที่ผู้ป่วยต้องประสบอยู่ การดูแลมักจะตกเป็นภาระของสมาชิกในครอบครัวคนใดคนหนึ่ง อาจทำให้ผู้ดูแลมีความรู้สึกฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย ใช้คำพูดและมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วย
ดังนั้น ก่อนที่จะดูแลผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี จะต้องดูแลตนเองให้มีสุขภาพที่ดีก่อน เช่น
  • ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี
  • ป้องกันตนเองจากการบาดเจ็บจากการดูแลผู้ป่วย เช่น ปวดเมื่อยตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะอาการปวดหลัง ปวดไหล่ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนย้ายหรือยกตัวผู้ป่วยไม่ถูกวิธีและเกินกำลังของตน
  • นอกจากนี้ ควรทำจิตใจให้แจ่มใส นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • ทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสุข คลายความเครียด
  • และที่สำคัญ ควรเตรียมแผนสำรองในกรณีที่ตนเองมีภารกิจส่วนตัวที่จำเป็นหรือเจ็บป่วย
  • อย่างไรก็ตาม ทุกคนในครอบครัวต้องมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ไม่ทิ้งภาระทั้งหมดให้แก่ผู้ดูแลหลักเพียงคนเดียว และควรจัดแบ่งเวลาให้เหมาะสม เพื่อการดูแลผู้ป่วยให้มีสุขภาพดีและมีความสุข ผู้ดูแลไม่ทุกข์มีสุขภาพกายและใจที่ดี

 

 

 

โรคสมองเสื่อม, ภาวะสมองเสื่อม, สมองเสื่อม, กรมการแพทย์, ผู้ป่วยสมองเสื่อม

 

 

ข้อมูล : กรมการแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ปล่อยแถวร่วมป้องกันเหตุในช่วงวันไหลบางแสนวันที่ 16 และ 17 เมษายนนี้
ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง เนื่องในวันสงกรานต์ โดยนิมนต์พระสงฆ์ 29 รูป ขึ้นนั่งท้ายขบวนรถกระบะ และ รถตุ๊กตุ๊ก ให้ ปชช.ได้ใส่บาตร
"ก่อเหตุสังหารหมู่" มักป่วย 2 โรคจิตเวช-โรคจิตเภท ใช่หรือไม่
"นายกฯ" ย้ำไม่คิดอะไร คนเปรียบเทียบบารมี "ทักษิณ" รับได้รัฐมนตรีเคารพรักมากกว่า
"นายกฯ" เผย "ทักษิณ" อวยพรสงกรานต์ เป็นกำลังใจบริหารบ้านเมือง
เริ่มแล้ว “วันไหลบางแสน” นทท.แห่เล่นน้ำ สนุกสนาน
ถนนมิตรภาพคึกคัก คนแห่กลับกรุงเทพฯ บขส.ผู้โดยสารซื้อตั๋วเพียบ ขนส่งสั่งเพิ่มเที่ยวรถอีกเท่าตัว
"เทสลา" เตรียมเลิกจ้างพนักงานทั่วโลกมากกว่า 10 % หลังยอดขายรถ EV เดือด
อช.ไทรโยค รวบพรานป่าซุ่มล่า "ตะกวด" ช่วงหยุดสงกรานต์
อิสราเอล ลั่นจะเอาคืนอิหร่านไม่สนเสียงค้านนานาชาติ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น