No data was found

“ทุเรียน” ป้ายน้ำยาเร่งสุก กินเเล้วอันตรายไหม มีคำตอบแล้ว

ทุเรียน, น้ำยาเร่งสุก, อ.เจษฎ์

กดติดตาม TOP NEWS

"ทุเรียน" ชาวเน็ตสงสัย น้ำยาเร่งสุกที่ใช้ป้ายผลไม้ คืออะไร? เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคมากแค่ไหน? ล่าสุด อ.เจษฎ์ ออกมาชี้แจงแล้ว

“ทุเรียน” TOP News ราชาผลไม้กับรสชาติหอมหวาน ชวนน้ำลายไหล แต่เมื่อไม่นานมานี้ ชาวเน็ตสงสัย น้ำยาเร่งสุกที่ใช้กันนั้น เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคมากแค่ไหน อ.เจษฎ์ เฉลยแล้ว

ข่าวที่น่าสนใจ

และด้วยคำถามดังกล่าว ทำให้ชาวเน็ตถึงกับชะงัก เริ่มคิดตามคำถามดังกล่าว ด้าน อ.เจษฎ์ หรือ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์  อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์  รีบไขข้อสงสัย ผ่านเพจ Facebook อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ โดยระบุว่า

มีคำถามจากทางบ้านมาครับว่าที่ “ทุเรียน” ที่ขายกันตามตลาดทุกวันนี้ มีการป้ายน้ำยาเร่งสุก จนเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว น้ำยาที่ว่านี้ เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคมากแค่ไหนครับ ตอนนี้ป้ายกันทุกสวนทุกเจ้า?

ทุเรียน, น้ำยาเร่งสุก, อ.เจษฎ์

น้ำยาเร่งสุก คืออะไร 

  • ยาป้ายขั้วผลไม้ที่ใช้กันทั่วไปนั้น คือ สารเอทิฟอน (ethephon) ซึ่งจะปลดปล่อยก๊าซเอทิลีน (ethylene) ซึ่งเป็นฮอร์โมนพืชตามธรรมชาติ มาป้ายที่ขั้วผลทุ เรียน หรือผลไม้ชนิดอื่น ๆ ทำให้ผลไม้สุกเร็วขึ้น โดย ethephon เป็นสารเคมีอินทรีย์ ในสถานะบริสุทธิ์เป็นผลึกรูปเข็มสีขาว ใช้เป็นสารกระตุ้นและควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และมีประสิทธิภาพต่อการส่งเสริมการสุกแก่ของผลไม้ได้
การสุกของผลไม้ จากก๊าซเอธิลีนที่ได้จากสารเอทิฟอนนั้น เป็นกระบวนการสังเคราะห์ทางสรีรวิทยาและทางชีวเคมีที่ซับซ้อนของพืช แต่ไม่ก่อให้เกิดสารที่เป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์
ทุเรียน, น้ำยาเร่งสุก, อ.เจษฎ์
การบ่มด้วยสารเอทิฟอนนี้ จะไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยได้รับการวิจัยและศึกษาของภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน ว่า การใช้ยาป้ายขั้วทุ เรียนนั้น จะไม่มีตกค้างอยู่ทั้งในเนื้อและเมล็ด เมื่อใช้แล้วจะมีตกค้างอยู่เฉพาะแค่ที่เปลือก และจะสลายตัวไปในที่สุด ผู้ที่รับประทานผลที่ใช้ยาป้ายขั้วนั้น จะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ จากสารเร่งสุก ปลอดภัย 
ทุเรียน, น้ำยาเร่งสุก, อ.เจษฎ์
อย่างไรก็ตาม ถ้าได้รับสารเอทิฟอนเข้าไปโดยตรง เป็นปริมาณมาก ก็อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น
  • ระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา
  • อาจจะมีอาการแสบร้อน
  • คลื่นไส้
  • อาเจียนหลังจากรับประทานเข้าไปโดยไม่ตั้งใจ
  • อาเจียนเป็นสีน้ำตาลและสีดำ
  • กิจกรรมของเอนไซม์ cholinesterase ลดลง

ข้อมูล : อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ชาวเน็ตแห่แชร์ภาพคุณยายวัย 89 ปี อยู่คนเดียว สุดรันทดในบ้านไม้ผุพังไม่มีหลังคาบังแดดบังฝนวอนหน่วยงานเร่งช่วยเหลือ
"หมอธีระวัฒน์" แจ้งข่าวลาออก หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ รพ.จุฬาฯ หลังวิจารณ์ปมวัคซีนโควิด หวั่นกระทบภาพลักษณ์องค์กร
"รทสช." ยังไม่นิ่ง! สะพัด "เสี่ยเฮ้ง" รีเทิร์นคั่วเก้าอี้ "รมช."
สลด "นศ.สาวปี 3" รอมอบตัว หลังใช้มีดไล่แทง "แฟนหนุ่ม" บาดเจ็บสาหัส
“ศุภมาส” จับมือเยอรมนีลงนามปฏิญญายกระดับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของ 2 ประเทศครอบคลุม 10 กิจกรรม
อบต.บางคา อ.ราชสาส์น ขานรับนโยบายกระทรวงมหาดไทย เปิดงาน"MOI Waste Bank Week - มหาดไทยปักธงประกาศความสำเร็จการจัดตั้งธนาคารขยะ
จัดพิธีพุทธาภิเษก "ท้าวเวสสุวรรณจันทรา ปางพระคุณ ปางพระเดช" เข้มขลัง ยิ่งใหญ่มีสาธุชนเข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง
กาญจนบุรี กฟภ.ตรวจพบบ้านใช้กระแสไฟฟ้าผิดปกติ เข้าตรวจพบกำลังขุดบิทคอยน์ โดยลักลอบใช้ไฟฟ้าเสียหายเกือบ 10 ล้านบาท
อัปเดตชีวิตล่าสุด “ครูส้ม” บูลลี่ “ป๋าเปรม” ลาออกจากราชการแล้ว
"สมาพันธ์คนงานรถไฟ" ยื่นนายกฯเร่งตัดสินใจอนาคต "รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน" เหตุประมูลเกือบ 5 ปีไร้คืบหน้า

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น