No data was found

‘รมว.แรงงาน’ วอนผู้ประกอบการ เห็นใจประชาชน อย่าขึ้นราคาสินค้า

กดติดตาม TOP NEWS

รมว.สุชาติ วอนผู้ประกอบการเห็นใจประชาชนอย่าขึ้นราคาสินค้า ชี้ มาตรการลดเงินสมทบ ช่วยลดต้นทุนนายจ้าง เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนกว่าแสนล้านบาท

วันที่ 25 เมษายน นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ได้ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งยูเครน – รัสเซีย รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนและพี่น้องผู้ใช้แรงงาน เนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวถือเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤตทั้งโรคระบาดและภัยสงคราม จึงได้ออกมาตรการมาช่วยเหลือเยียวยาและลดผลกระทบ ในส่วนของกระทรวงแรงงานได้ดำเนินการลดรายจ่ายของพี่น้องประชาชนที่เกิดขึ้นและลดต้นทุนการผลิตแก่นายจ้าง โดยการลดเงินสมทบทั้งในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตนทุกมาตรา ทั้งมาตรา 33,39 และ 40 เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน พ.ค. – ก.ค. 2565 โดยพี่น้องประชาชนจะได้รับการช่วยเหลือจากกระทรวงแรงงานประมาณ 24.2 ล้านคน เป็นเม็ดเงินประมาณ 34,540 ล้านบาท เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 100,000 ล้านบาท

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายสุชาติ กล่าวว่า มาตรการลดเงินสมทบในครั้งนี้ทำให้มีผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 11.2 ล้านคน จะได้ลดเงินสมทบจากร้อยละ 5 เหลือ ร้อยละ 1 ยกตัวอย่างหากคิดบนฐานเงินเดือน 15,000 บาท จากเดิมต้องส่งเงินสบทบ 750 บาท จะลดลงเหลือส่งเงินสมทบ 150 บาท ทำให้สามารถลดภาระค่าครองชีพไปได้ประมาณ 600 บาทต่อคนต่อเดือน ผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 1.9 ล้านคน จะได้ลดเงินสมทบจากร้อยละ 9 เหลือร้อยละ 1.9 คือจากเดิมที่ต้องส่งเงินสมทบ 432 บาท จะลดลงเหลือส่งเงินสมทบ 91 บาท หรือลดภาระค่าครองชีพไปได้ประมาณ 341 บาทต่อคนต่อเดือน และผู้ประกันตนมาตรา 40 จำนวน 10.6 ล้านคน จะได้ลดเงินสมทบในแต่ละทางเลือกลงร้อยละ 40 คือ ทางเลือกที่ 1 ลดการส่งเงินทบจากเดิม 70 บาท ลดลงเหลือ 42 บาท ทางเลือกที่ 2 ลดการส่งเงินทบจากเดิม 100 บาท ลดลงเหลือ 60 บาท ทางเลือกที่ 3 ลดการส่งเงินทบจากเดิม 300 บาท ลดลงเหลือ 180 บาท หรือลดภาระค่าครองชีพไปได้ประมาณ 84 – 360 บาทต่อคนต่อเดือน ส่วนนายจ้าง จำนวน 5 แสนราย จะได้ลดเงินสมทบจากร้อยละ 5 เหลือ ร้อยละ 1 ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิตของนายจ้างลงด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากนายจ้างจ่ายค่าจ้างบนฐานเงินเดือน 15,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน หากนายจ้างมีลูกจ้าง 1,000 คน จะสามารถลดต้นทุนการผลิตของนายจ้างต่อเดือนลง 600,000 บาท รวมระยะเวลา 3 เดือน เป็นเงินทั้งสิ้น 1,800,000 บาท

“ผมขอความร่วมมือไปยังผู้ประกอบการโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อย่าเพิ่งขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อเป็นการช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแก่พี่น้องประชาชนและพี่น้องผู้ใช้แรงงาน รวมทั้งยังช่วยลดต้นทุนแก่นายจ้างจากวิกฤตซ้อนวิกฤตเช่นนี้ เพื่อให้เราทุกคนก้าวข้ามสถานการณ์ครั้งนี้ไปด้วยกัน”นายสุชาติ กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สหรัฐ ไล่จับจระเข้โผล่นอนเล่นสนามบิน
'นักท่องเที่ยวจีน' ครองแชมป์ 'เที่ยวไทย' มากสุดช่วงสงกรานต์
"ธปท." ไม่ขัดข้องรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นศก. ย้ำจุดยืนแจก "ดิจิทัลวอลเล็ต" ต้องใช้งบคุณค่า ทำแบบเจาะจง
กรีซ ฝุ่นควันหม่นทึบ ย้อมฟ้าเป็นสีส้มในกรุงเอเธนส์
ฟิลิปปินส์เผยยอดดับจาก ‘อากาศร้อนจัด’ แตะ 6 ราย
ผู้ให้เช่ารถพยาบาล "โอด" ถูกบริษัทซัพคอนแทรคชื่อดังย่านบ่อวินเบี้ยวจ่ายค่าเช่ารถพยาบาลกว่า 2 แสน
ที่ปรึกษารมว.พม. ห่วง "เด็ก 8 ขวบ เชื่อมจิต" ชี้ครอบครัวอาจเข้าข่ายยินยอมให้ประพฤติไม่เหมาะสม
เทศบาลตำบลเกล็ดแก้วจัดพิธี ทำบุญวันเทศบาล ประจำปี 67
"พิพัฒน์" แจงบิ๊กเซอร์ไพรส์ 1 พ.ค.นี้ "ขึ้นค่าแรง 400 บาท" รายอาชีพทั่วปท. ปรับจริงเริ่ม 1 ต.ค. 67
ป.ป.ช.เคาะมติเอกฉันท์ ไม่อุทธรณ์คดี "ยิ่งลักษณ์" จ้างสื่อ 240 ล้าน ทำโรดโชว์ประเทศ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น