No data was found

เปิดผลวิจัย “โอไมครอน” พบอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าสูง Long COVID พบมากขึ้น

กดติดตาม TOP NEWS

หมอคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดงานวิจัยโอไมครอน ระบุผู้ติดเชื้อโควิด จะมีอาการเหนื่อยล้า อาการอ่อนเพลีย มากกว่าไวรัสชนิดอื่น ขณะที่ Long COVID จะพบมากขึ้น

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat เผยถึง สถานการณ์ระบาดของไทย พบว่าเมื่อวานนี้ (19 เมษายน 65)จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก และอันดับ 2 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก ทั้งนี้จำนวนคนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 28.73% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

ทั้งนี้จะมีอาการอ่อนเพลีย/เหนื่อยล้าหลังติดเชื้อโควิด-19 พบบ่อยกว่าไวรัสชนิดอื่น Khatib S และคณะจากสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารการแพทย์สากล Irish Journal of Medical Science เดือนเมษายน 2565 นี้ โดยทำการประเมินผู้ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 มานานเกินกว่า 4 สัปดาห์จำนวน 157 คน ตั้งแต่พฤษภาคม 2564 ถึงมกราคม 2565 พบว่าผู้ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 จะมีปัญหาเรื่องอ่อนเพลีย/เหนื่อยล้ามากถึง 43.3% ด้วยอัตราที่พบนี้ ถือว่าสูงกว่าไวรัสชนิดอื่นๆ ที่เคยมีการศึกษามาถึง 3.6 เท่า ในขณะที่เคยมีการศึกษาในคนที่เคยติดเชื้อไวรัส Ebola ก็พบอาการอ่อนเพลีย/เหนื่อยล้าประมาณ 28% ซึ่งก็น้อยกว่าที่พบในโควิด-19

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะที่งานวิจัยในช่วงที่ผ่านมาจากประเทศไอร์แลนด์ เคยรายงานว่าพบความชุกของอาการนี้ในผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ถึง 52.8% ซึ่งก็อยู่ในระดับเทียบเคียงกับงานวิจัยนี้จากอเมริกาดังนั้นปัญหา post-viral fatique หรือ อ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า หลังการติดเชื้อจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นความผิดปกติที่พบบ่อยในกลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 และเป็นเรื่องหนึ่งที่เราน่าจะนำมาใช้ประเมินสถานะสุขภาพของตนเองได้ด้วย หากเคยติดเชื้อมาก่อน

งานวิจัยนี้สะท้อนให้เราเห็นว่า แม้การฉีดวัคซีนนั้นมีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต แต่หากไม่ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ และเกิดการติดเชื้อขึ้นมา ปริมาณไวรัสก็อยู่ในระดับเทียบเท่ากันกับคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน และมีโอกาสที่จะแพร่เชื้อให้กับคนใกล้ชิด และคนอื่นในสังคมได้

ปัญหา Long COVID จะพบมากขึ้น และบั่นทอนสมรรถนะการดำเนินชีวิตประจำวัน ความสัมพันธ์ และสมรรถนะการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคมในระยะยาว คนที่เคยติดเชื้อมาแล้ว ยังต้องป้องกันตัว เพราะจะติดเชื้อซ้ำ (reinfection) ได้ และควรประเมินสถานะสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติต่างจากอดีต ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะความเสี่ยงของ Long COVID อาจไม่ได้เกิดแบบปุ๊บปั๊บ แต่เป็นความเสี่ยงระยะยาว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผวา ชาวบ้านถ่ายคลิป สัตว์คล้ายจระเข้ในแม่น้ำวัง วอนจนท.ช่วยตรวจสอบ
"สุทิน" เล่นใหญ่ดันแก้พ.ร.บ.กลาโหม ให้อำนาจนายกฯ ครม.ลงโทษทหาร คิดก่อรัฐประหาร เพิ่มสัดส่วนสมาชิกสภากลาโหม
รัฐบาลชวนเที่ยวงานฉลองกรุงเทพฯ “ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” 19-25 เมษายนนี้
พม.เปิดยื่นรับสิทธิครอบครัวอุปถัมภ์ 1,107 ราย เน้นให้สิทธิอุปถัมภ์ ผู้สูงอายุยากจนก่อน
"ผบก.น.2" ยันไม่ 2 มาตรฐาน ดำเนินคดี 2 บิ๊กตร.อย่างเท่าเทียม เผยเตรียมนัด "ทนายตั้ม" ให้ข้อมูลอีกครั้ง
บยสส. 3 เปิดเวที “สื่อสารอย่างไรให้เท่าเทียม สิทธิของ LGBTQIAN+ กับการเปิดรับของสังคม” หวังร่วมสร้างความเข้าใจในสังคมไทย เพื่อเปิดรับความหลากหลายอย่างเท่าเทียม
เดือด "เมียนมา" โต้กลับฝ่ายต่อต้าน ส่งฮ.โจมตีทางอากาศ ชาวบ้านหนีตายเพียบ
"วันชัย" สวนหมอดู ทักดวง "ทักษิณ" ก.ย.นี้โดนรัฐประหาร ลั่นใครจะทำเขามากับอาญาสวรรค์
"ดร.อานนท์" ประชดเจ็บ! อยากให้ "ก้าวไกล-ธนาธร"พัง! ลองให้เป็นรัฐบาลรับรองไปไม่รอด
แม่ร้อง "ปวีณา" ช่วยนำศพลูกสาวกลับไทย หลังสถานทูตเพิ่งแจ้งข่าว ดับปริศนา นานกว่า 1 ปี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น