รศ.ดร.ปณิธานเผยจม.เปิดผนึกขบวนการพูโลถึงยูเอ็น สะท้อนการเคลื่อนไหวใหม่

นักวิชาการด้านความมั่นคงวิเคราะห์จม.เปิดผนึกประธานพูโลถึงยูเอ็น เป็นตัวอย่างของการเคลือนไหวใหม่

เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 64 ภายหลังมีการเผยแพร่เอกสารที่ระบุว่า ประธานองค์กรปลดปล่อยสหปาตานีหรือพูโล (Patani United Liberation Organisation, PULO) นายกัสตูรี มะห์โกตา ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงองค์กรสหประชาชาติ (UN) องค์กรความร่วมมืออิสลาม (OIC) และสหภาพยุโรป โดยมีผู้รับเป็นเลขาธิการสหประชาชาติ นาย Antonio Guterres เลขาธิการโอไอซี Dr. Yusef bin Ahmad Al-Othaimeen และประธานสภายุโรป นาย Charles Michel เรียกร้องให้ยูเอ็น โอไอซีและอียู กดดันรัฐบาลไทยให้ยุติการบังคับใช้กฎอัยการศึกและกฎหมายพิเศษที่ปาตานี  และดำเนินการอำนวยเอกราชให้แก่ประเทศหรือชาติที่ตกเป็นอาณานิคม ตามมติสมัชชาสหประชาชาติ 1549 (XV) ในวันที่ 14 ธันวาคม 1960

ทางด้านรศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร  อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย  ให้ความเห็นว่าต่อสถานการณ์ดังกล่าวว่า  หลายปีที่ผ่านมา หลายฝ่ายเชื่อว่า ได้มีความพยายามของกลุ่มบุคคลและองค์กร ที่จะยกระดับเรื่องปัญหาในจชต.ในเวทีนานาชาติ

ความพยายามดังกล่าว อาศัยแนวทางเรื่องสิทธิมนุษยชนและการกำหนดใจตนเอง ที่องค์กรสากลและหลายประเทศสนใจสนับสนุน เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อน   เป้าหมายระยะสั้น คือการกดดันและต่อรองในเรื่องการปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ ผ่านกระบวนการพูดคุยและอื่นๆ

นักวิชาการด้านความมั่นคง กล่าวต่อไปว่า   ระยะยาว คือการโน้มน้าวชักจูงให้ประชาชนในพื้นที่ ลงมติเรียกร้องและผลักดันให้มีการแบ่งแยกดินแดน หรือจัดตั้งเขตปกครองตนเอง หรือเขตปกครองพิเศษ ผ่านกระบวนการสร้างสันติภาพที่นานาชาติและองค์การสากลเหล่านั้นจะช่วยบริหารจัดการ

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยในรอบหลายปีที่ผ่านมา ได้ให้กระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหลักในการไปดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น

แต่ปัจจุบัน มีพลวัตรใหม่ๆ ทั้งในพื้นที่จชต. ตลอดจนในระดับชาติและนานาชาติ เกิดขึ้นอีกหลายปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้แนวทางการยกระดับเหล่านี้ขยายตัวขึ้น

“แถลงการณ์ที่เกิดขึ้นของกลุ่ม PULO ซึ่งเดิมได้ลดบทบาทลงไปแล้ว แต่ปัจจุบันเริ่มที่จะมีความเคลื่อนไหวอีก ก็เป็นตัวอย่างที่สำคัญของสถานการณ์ใหม่ หรือความปกติใหม่ (ที่ไม่ปกติ) ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้” นักวิชาการด้านความมั่นคง กล่าว

 

ทั้งนี้ หนังสือที่อ้างว่า มาจากกัสตูรี มะห์โกตา  ประธานพูโล มีเนื้อหาดังนี้

 

พูโลและข้าพเจ้าขอแสดงความวิตกกังวลต่อประเด็นที่ถูกลืมที่เกิดขึ้นในดินแดนแห่งหนึ่งของโลกที่ถูกลืมเช่นกัน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สวยงาม เขียวขจี และอุดมสมบูรณ์ มีน้ำตกหลาย ๆ แห่ง ผู้คนที่อยู่อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้มีระดับจริยธรรมสูง แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขายังเป็นเป้าหมายของการกดขี่และสิทธิของพวกเขาก็ถูกปฏิเสธด้วย พวกเขาเป็นเหยื่อของการล่าอาณานิคมในดินแดนปาตานี ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างชายแดนของประเทศไทยและมาเลเซีย

ปาตานีเคยมีอธิปไตย แต่หลังจากการลงนามสนธิสัญญากรุงเทพฯ (Anglo-Siamese Treaty) เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1909 ระหว่างรัฐบาลไทยกับอังกฤษ ปาตานีสูญเสียอธิปไตยและต้องอยู่ภายใต้การควบคุมคอบระบอบปกครองของไทย

ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา การเจรจาสันติภาพระหว่างขบวนการปลดปล่อยปาตานีกับรัฐบาลไทยเกิดขึ้นมาหลายรอบแล้ว แต่ไม่เคยบรรลุผลสำเร็จใด ๆ เนื่องจากขาดความจริงใจ การเล่นการเมืองบน “โต๊ะเจรจา” เป็นอุปสรรคสำหรับการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ชาวปาตานีที่เป็นเหยื่อ และได้สร้างบรรยากาศแห่งการลอยนวลสำหรับการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรงของไทยด้วย ความพยายามต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูกระบวนการสันติภาพไม่เคยประสบความสำเร็จ ความจริงแล้วกระบวนการเจรจาถูกนำมาใช้เพื่อยืดเยื้อสถานการณ์ปัจจุบันที่ฝ่าฝืนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ ตอนนี้ถึงเวลาแล้วเพื่อประกันให้การพูดคุยสันติภาพดำเนินบนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นกรอบเดียวที่สามารถรับรองแนวทางแก้ไขอันยุติธรรมและยั่งยืนต่อความขัดแย้งได้ ด้วยเหตุนี้ พูโล – องค์กรปลดปล่อยสหปาตานี – หวังว่า สหประชาชาติ (ยูเอ็น) องค์กรความร่วมมืออิสลาม (โอไอซี) และสหภาพยุโรป (อียู) จะสามรถให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการแสวงหาแนวทางแก้ไขอันยุติธรรม ครอบคลุ่มและยั่งยืนต่อความขัดแย้ง

พวกเราขอเรียกร้องให้ยูเอ็น โอไอซีและอียู

– กดดันรัฐบาลไทยให้ยุติการบังคับใช้กฎอัยการศึกและกฎหมายพิเศษที่ปาตานี

– ดำเนินการอำนวยเอกราชให้แก่ประเทศหรือชาติที่ตกเป็นอาณานิคม ตามมติสมัชชาสหประชาชาติ 1549 (XV) ในวันที่ 14 ธันวาคม 1960

ด้วยความเคารพ

กัสตูรี มะห์โกตา

ประธานพูโล

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) เจ้อเจียงเปิดตัว 'แพลตฟอร์มท่องเที่ยว' พลัง AI
กกล.บูรพา รวบ 2 สาวไทย อ้างถูกหลอกทำงานปอยเปต เบื้องหลังรับจ้างข้ามแดนเปิด "บัญชีม้า-สแกนหน้า" ให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์
“50 ปีไม่มีแก่” คำนี้ไม่มีอยู่จริงสำหรับคุณอาร์ต วศิน วรรณพฤกษ์ ผู้บริหารรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
ศน. ต่อยอดกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ “ตักบาตรทางน้ำริมคลองข้าวตอก จังหวัดพิจิตร” ส่งเสริมพุทธศาสนิกชนเข้าวัด น้อมนำหลักธรรมดำเนินชีวิต
รมว.คลัง โต้ลือ "สหรัฐ" ตัดสินใจเก็บภาษีไทย 36% แจงเร่งยื่นข้อเสนอใหม่ก่อน 9 ก.ค. นี้
"ศิริโชค" อดีตสส.สงขลา โพสต์อัปเดต จับมือลอบเผารถยนต์ได้แล้ว เร่งขยายผลผู้จ้างวาน ไม่หวั่นอิทธิพลมืด
เหยื่อร้อง Top News ถูกตัวแทนนายหน้าประกัน โกงค่าสินไหมอุบัติเหตุกว่าแสน เชื่อทำเป็นขบวนการ
"จีน-เมียนมา-ไทย" เห็นพ้อง ร่วมมือยกระดับกวาดล้างเครือข่ายคอลเซ็นเตอร์ เมืองเมียวดี
“นันทิวัฒน์” ตอกย้ำเขมร ปราสาท “ตาเมือนธม” เป็นของไทยตั้งแต่อดีต ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ตั้งแต่ยังไม่มีชื่อกัมพูชา
เจอแล้ว! “รั้วกั้น-หมุดหลักเขต” นับ 100 หมุด ชี้ชัด 3 ปราสาทอยู่ในแผ่นดินไทย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น