“จุฬาฯ”ชูความสำเร็จ สุนัขดมกลิ่นคัดกรองผู้ป่วยโควิด19 พร้อมเปิดตัว สุนัขทั้ง 6 ตัว

จุฬาฯ ร่วมเอกชน ชูความสำเร็จงานวิจัยใช้สุนัขดมกลิ่นคัดกรองผู้ป่วยโควิด19 ผ่านการทดสอบและให้บริการตรวจคัดกรองแก่พนง.บริษัทเชฟรอน ฯ และสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา รวมทั้งพื้นที่กรุงเทพฯ พบมีความแม่นยำ 96% พร้อมสนับสนุนสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง

เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.2564 ที่อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพิธีเปิดตัว “รถดมไว เพื่อนำสุนัขดมกลิ่นคัดกรอง COVID-19 ออกปฏิบัติงานภาคสนาม” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ บริษัทเชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด และบริษัทพีคิวเอ แอสโซซิเอส จำกัด พร้อมทั้งภายในงานยังสุนัข ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ 6 ตัว ที่ได้รับการฝึกดมกลิ่นผู้ติดเชื้อ COVID-19 และ ชมการตรวจคัดกรองตัวอย่างเหงื่อบน “รถดมไว” ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยเคลื่อนที่สำหรับการปฏิบัติงานของสุนัข

ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ออกแบบรถดมไว กล่าวว่า รถที่ออกแบบจะคำนึงถึงความสะดวกสบายของสุนัข โดยทำงานในห้องแอร์เย็นสบาย ขั้นตอนการทำงาน คือ เราจะใช้สำลีหนีบไว้ที่รักแร้ของผู้สัมผัสทั้งสองข้างข้างละ 5 นาทีเพื่อเก็บเหงื่อจากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการเตรียมการณ์ให้สุนัขดมเนื่องจากกลิ่นเหงื่อของแต่ละคนจะมีกลิ่นเฉพาะ ซึ่งสุนัขมีความสามารถรับกลิ่นได้มากกว่ามนุษย์ถึง 50 เท่า ขณะที่เชื้อไวรัสโควิดก็มีกลิ่นเฉพาะตัวของมันเช่นกัน หากสุนัขดมกลิ่นเหงื่อแล้วไม่ได้กลิ่นก็จะเดินผ่าน แต่หากดมแล้วมีเชื้อโควิด สุนัขก็จะนั่งลงเราก็จะนำบุคคลนั้นไปตรวจหาเชื้อ โดยวิธีการ RT-PCR อีกครั้ง ทั้งนี้ จากการทดสอบสุนัขดมกลิ่นมีความแม่นยำในการตรวจหาเชื้อถึง 96% วิธีการนี้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ตรวจเชิงรุกได้รวดเร็วขึ้น รวมทั้งลดภาระการสว๊อป โดยแต่ละรอบสุนัขสามารถดมกลิ่นได้รอบละ 12 ตัวอย่างในภาพรวมสามารถตรวจได้วันละ 600 ถึง 1,000 ตัวอย่าง
นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขอบคุณจุฬาที่คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ และนำมาสนับสนุนการควบคุมโรค ที่ผ่านมาจุฬาฯได้นำรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ ช่วยงานของกรมควบคุมโรคได้มากสำหรับรถดมไว จะเป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่จะช่วยในการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ โดยจะนำไปใช้ควบคู่กับการตรวจผลเพื่อใช้ทำงานการตรวจเชิงรุกในชุมชนที่เกิดการระบาด โดยทีมกรมควบคุมโรคจะคัดกรองแบ่งกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำ จากนั้นจะให้สุนัขช่วยคัดกรองในกลุ่มผู้สัมผัสเสียงต่ำ หากพบสุนัขจะนั่งลง แสดงว่าเป็นผู้ติดเชื้อเราก็จะนำบุคคลนั้นไปสว๊อปหาเชื้อโดยวิธี RT-PCR เพื่อตรวจหาเชื้อยืนยันผลอีกครั้ง

ทั้งนี้ ในแต่ละวันรถตรวจหาเชื้อจะสว๊อปประชาชนในชุมชนประมาณวันละ 1,000 คน การนำสุนัขมาช่วยดม ซึ่งมีความแม่นยำในระดับที่ใช้ได้ จะช่วยลดการสว๊อป ซึ่งจะช่วยประหยัดทรัพยากรไปได้มาก ส่วนพื้นที่ที่จะลงไปคัดกรองเชิงรุกโดยใช้สุนัขดมกลิ่นนั้นขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของกรมควบคุมโรค
ดร.ชฎิล กุลสิงห์ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมวิจัย อธิบายการใช้สุนัขดมกลิ่น ว่า สารเคมีระเหยง่ายที่เก็บมาจากผิวหนังมนุษย์อาจมาจากแหล่งกำเนิดหลายแหล่ง ได้แก่ ต่อมใต้ผิวหนังชนิด Eccrine, Sebaceous และ Apocrine โดยต่อม Apocrine นี้จะเป็นต่อมสำคัญที่ผลิตสารระเหยง่าย เป็นกลิ่นตัวเฉพาะของมนุษย์ ส่วนต่อมอีกสองชนิดจะผลิตสารเคมีที่ไม่ระเหยง่ายเป็นส่วนใหญ่ซึ่งไม่มีผลต่อกลิ่นตัวโดยตรง
อย่างไรก็ตาม สารพวกนี้จะถูกนำไปใช้ต่อโดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ใต้ผิวหนังมนุษย์ แล้วเปลี่ยนเป็นสารระเหยง่าย ให้กลิ่นไปปนอยู่กับกลิ่นตัวมนุษย์ ดังนั้นกลิ่นโดยรวมของตัวอย่างเหงื่อที่ดูดซับโดยแท่งสำลี แล้วเก็บมาให้สุนัขดม จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันขึ้นกับชนิดและปริมาณของต่อมในแต่ละอวัยวะ การที่ผู้ป่วยโควิด-19 มีกระบวนการเผาผลาญในร่างกายที่แตกต่างออกไปจากก่อนที่จะได้รับเชื้อ ทำให้มีสารเคมีจากต่อมทั้งสามชนิดเปลี่ยนแปลงไปทั้งชนิดและปริมาณ จึงถูกตรวจจับโดยสุนัขได้

หลังรายงานความสำเร็จของโครงการวิจัย “การใช้สุนัขดมกลิ่นตรวจหาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในเดือนมีนาคม 2564 สุนัขดมกลิ่นได้ให้บริการตรวจคัดกรองแก่พนักงานบริษัทเชฟรอน ฯ และสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา แล้วจำนวนกว่า 500 ราย

เมื่อมีการระบาดของโรคในกรุงเทพฯ สุนัขดมกลิ่นจึงได้เดินทางจากจังหวัดสงขลา มาตั้งจุดตรวจที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ให้บริการตรวจคัดกรองแก่บุคลากรจุฬาฯ ผู้ป่วยติดเตียง (โดยความร่วมมือกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) โดยมีอาสา พม. ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างเหงื่อมาส่งตรวจแล้วจำนวนทั้งสิ้นกว่า 1,500 ราย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสจากสิ่งแวดล้อมไปบนตัวสุนัขในระหว่างลงพื้นที่คลัสเตอร์ต่าง ๆ จึงได้มีการออกแบบห้องปฏิบัติงานเคลื่อนที่ “รถดมไว” พร้อมอุปกรณ์มาตรฐานตามข้อกำหนดของกรมควบคุมโรค ซึ่งจะสร้างความปลอดภัยทั้งผู้ที่มารับการตรวจและสุนัขที่ปฏิบัติงาน อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองเชิงรุกในชุมชน และคลัสเตอร์ที่เกิดขึ้นใหม่ในแต่ละวัน

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทอ.กองบิน 46 พิษณุโลก" เตรียมเรียกกำลังสำรอง ฝึกช่วยเหลือบรรเทาสาธารณะภัย ในการช่วยเหลือปชช.
ทรัมป์ลั่นจะเก็บภาษีปท.ที่เข้าข้าง”บริกส์”เพิ่มอีก 10%
"กปน." ยันอุบัติเหตุงานก่อสร้างถังเก็บน้ำใส สถานีสูบจ่ายน้ำมีนบุรี ไม่กระทบโครงสร้างอาคาร เร่งดูแล ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
"หมอวรงค์" ถาม "อ.พนัส" ไม่รู้จริงหรือ "นายกฯอิ๊งค์" คุย "ฮุน เซน" นินทา มท.ภ.2 ผิดจริยธรรมข้อไหน
"ดร.สามารถ" ทวงแรง "โครงการแลนด์บริดจ์" คืบหน้าถึงไหนแล้ว รัฐบาลประกาศจะเปิดประมูลปลายปี 68
วันนี้ "หมอตุลย์" นัดยื่นหนังสือ "ผบ.ตร." ค้านเลื่อนขั้น 2 แพทย์ใหญ่ โดนแพทยสภาชี้ผิดจริยธรรม เอื้อ"ทักษิณ" นอนชั้น 14
"เครือข่ายกัญชา" บุก สธ.วันนี้ เตรียมปักหลักค้าง เปิดเวทีอภิปราย "สมศักดิ์" ปมสมุนไพรควบคุม
ประชุมนัดแรกวันนี้ "บช.ก." เดินหน้าสอบคำร้อง "สมชาย" พร้อมคณะ เอาผิด "นายกฯอิ๊งค์" ปมคลิปเจรจา "ฮุน เซน"กระทบความมั่นคงรัฐ
"กรมอุตุฯ" เตือน ฝนตกหนัก เช็ก 39 จว.อ่วม เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก กทม.ก็โดนด้วย
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) “นาจา 2” สร้างสถิติหนังจีนทำรายได้ในต่างประเทศสูงสุดรอบ 20 ปี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น