No data was found

“สิงห์สยามโพล” เปิดผลสำรวจ คนกรุงฯหนุนผู้ว่าฯกทม.-สก.ลงอิสระ ไม่สังกัดพรรคการเมือง

กดติดตาม TOP NEWS

"สิงห์สยามโพล" ม.สยาม ชี้คนกรุงหนุนผู้ว่าฯกทม.-สก.ลงในนามอิสระ มองความสามารถเป็นหลักตัดสินใจเลือก การจราจรเป็นปัญหาใหญ่อยากให้แก้ไข

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “สิงห์สยามโพล” คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิดาภา ถิรศิริกุล คณบดีคณะรัฐศาสตร์ แถลงผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เรื่อง การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร โดยทำการสำรวจข้อมูลระหว่าง วันที่ 30 มีนาคม – 2 เมษายน 2565 ผลการสำรวจ พบว่า

1) ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรงุเทพมหานครควรสังกัดพรรคการเมืองหรืออิสระ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าไม่ควรสังกัดพรรคการเมือง (อิสระ) จำนวน 900 คน คิดเป็นร้อยละ 72.5 และเห็นว่าควรสังกัดพรรคการเมืองจำนวน 342 คน คิดเป็นร้อยละ27.5

2) ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ควรสังกัดพรรคการเมืองหรืออิสระ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าไม่ควรสังกัดพรรคการเมือง (อิสระ) จำนวน 792 คน คิดเป็นร้อยละ 63.8 และเห็นว่าควรสังกัดพรรคการเมืองจำนวน 450 คน คิดเป็นร้อยละ 36.2

3) กรณีผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรงุเทพมหานครสังกัดพรรคการเมือง ท่านคิดว่าพรรคใดน่าสนใจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าไม่สังกัดพรรคการเมือง (อิสระ) จำนวน 552 คน คิดเป็นร้อยละ 44.4 รองลงมาคือ พรรคก้าวไกลจำนวน 378 คน คิดเป็นร้อยละ 30.4 อื่นๆ จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 9.2 พรรคพลังประชารัฐจำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 6.8 พรรคประชาธิปัตย์จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 4.8 และสุดท้ายคือ พรรคไทยสร้างไทยจำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 4.3

4) กรณีผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) สังกัดพรรคการเมือง ท่านคิดว่าพรรคใดน่าสนใจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าไม่สังกัดพรรคการเมือง (อิสระ) จำนวน 537 คน คิดเป็นร้อยละ 43.2 รองลงมาคือ พรรคก้าวไกล จำนวน 393 คน คิดเป็นร้อยละ 31.6 อื่นๆ จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 9.2 พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 7.2 พรรคพลังประชารัฐจำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3 และสุดท้ายคือ พรรคไทยสร้างไทยจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 2.4

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

5) คุณลักษณะของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครข้อใดสำคัญที่สุดต่อการตัดสินใจเลือกของท่าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรมีความรู้ความสามารถ จำนวน 429 คน คิดเป็นร้อยละ 34.5 รองลงมาคือ มีภาวะผู้นำ จำนวน 229 คน คิดเป็นร้อยละ 18.4 ซื่อสัตย์สุจริต จำนวน 208 คน คิดเป็นร้อยละ 16.7 มีคุณธรรม จริยธรรม จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 12.1 มีความมุ่งมั่นตั้งใจ จำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 10.0 เป็นนักประสานผลประโยชน์ระดับชาติและพื้นที่ จำนวน 81 คน คิดเป็นร้อยละ 6.5 ยึดมั่นในกฎระเบียบ จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 1.4 และสุดท้ายคือ อื่นๆ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ .2

6) คุณลักษณะของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ข้อใดสำคัญที่สุดต่อการตัดสินใจเลือกของท่าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรมีความรู้ความสามารถ จำนวน 442 คน คิดเป็นร้อยละ 35.6 รองลงมาคือ ซื่อสัตย์สุจริต จำนวน 257 คน คิดเป็นร้อยละ 20.7 มีคุณธรรม จริยธรรม จำนวน 192 คน คิดเป็นร้อยละ 15.5 มีความมุ่งมั่นตั้งใจ จำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 9.7 เป็นนักประสานผลประโยชน์ระดับชาติและพื้นที่ จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 9.2 มีภาวะผู้นำ จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 8.7 ยึดมั่นในกฎระเบียบ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ .5 และสุดท้ายคือ อื่นๆ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ .2

7) ความสนใจในประเด็นหาเสียงของผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการแก้ปัญหาจราจร จำนวน 498 คน คิดเป็นร้อยละ 40.1 รองลงมาคือ เปิดกรุงเทพมหานครให้ใช้ชีวิตปกติ จำนวน 393 คน คิดเป็นร้อยละ 31.6 แก้ปัญหาอื่นๆ จำนวน 168 คน คิดเป็นร้อยละ 13.5 แก้ปัญหาน้ำท่วมจำนวน 126 คน คิดเป็นร้อยละ 10.1 และสุดท้ายคือ เปิดกรุงเทพมหานครให้ท่องเที่ยวได้ จำนวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 4.6

 

8) ภูมิหลังด้านอาชีพและประสบการณ์ของผู้สมัครที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรมากจากนักการเมือง จำนวน 501 คน คิดเป็นร้อยละ 40.3 รองลงมาคือ นักธุรกิจ จำนวน 381 คน คิดเป็นร้อยละ 30.7 อาชีพอื่นๆ จำนวน 186 คน คิดเป็นร้อยละ 15.0 ทหาร จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 5.8 ข้าราชการ จำนวน 66 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3 อาจารย์ จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 2.4 และสุดท้ายคือ ตำรวจจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ.5

9) ภูมิหลังด้านอาชีพและประสบการณ์ของผู้สมัครที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรมากจากนักธุรกิจ จำนวน 351 คน คิดเป็นร้อยละ 28.3 รองลงมาคือ นักการเมือง จำนวน 330 คน คิดเป็นร้อยละ 26.6 อาชีพอื่นๆ จำนวน 267 คน คิดเป็นร้อยละ 21.5 อาจารย์ จำนวน 171 คน คิดเป็นร้อยละ 13.8 ข้าราชการ จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 5.8 และสุดท้ายคือ ทหาร จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 4.1

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ชลบุรี ตำรวจ บก.ปทส. พร้อมเจ้าหน้าที่กรมอุตสาหกรรม นำหมายค้นเข้าตรวจสอบบริษัทรีไซเคิล ในพื้นที่ตำบลคลองกิ่ว หลังชาวบ้านร้องกลัวว่าจะเป็นที่กักเก็บกากแคดเมียม
ตำรวจรวบตัว "3 ชาวจีน" ถูกทิ้งอยู่ข้างทาง หลังหนีการสู้รบจาก "เมืองเมียวดี" ลักลอบเข้าไทย
เด็ก "เจ๊แดง" ผงาด "จักรพล" ขึ้นแท่น "โฆษกรัฐบาล" ลุยทำงานเต็มสูบหลังโผครม.เศรษฐา 2 คลอด
ตำรวจสอบสวนกลาง รวบ "แม่เล้า" ริมฝั่งโขง ค้ากามเด็กสาวไทย-ลาว เตือนผู้ปกครองควรใส่ใจดูแลบุตรหลาน
“แม่น้องไนซ์” รอพบสำนักพุทธฯ เคลียร์ปมเชื่อมจิต ลั่นเตรียมฟ้องสื่อ 5 ช่อง เผยแพร่ข้อมูลเท็จ
3 จีนเทา หนีสู้รบ จากเมียวดีฯ ลอบเข้าไทยจะไปปอยเปตถูกนำมาปล่อยทิ้งข้างถนน
เมืองพัทยา คึกคัก กองเรือพิฆาตเทียบฝั่ง ทหารอเมริกันยกพลขึ้นบกท่องเที่ยว
ชาวเน็ตแห่แชร์ภาพคุณยายวัย 89 ปี อยู่คนเดียว สุดรันทดในบ้านไม้ผุพังไม่มีหลังคาบังแดดบังฝนวอนหน่วยงานเร่งช่วยเหลือ
"หมอธีระวัฒน์" แจ้งข่าวลาออก หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ รพ.จุฬาฯ หลังวิจารณ์ปมวัคซีนโควิด หวั่นกระทบภาพลักษณ์องค์กร
"รทสช." ยังไม่นิ่ง! สะพัด "เสี่ยเฮ้ง" รีเทิร์นคั่วเก้าอี้ "รมช."

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น