No data was found

4 โครงการใหญ่ EEC มูลค่าลงทุนรวม 6.25 แสนล้าน คืบแล้ว 25%

กดติดตาม TOP NEWS

 “คณิศ” เผย 4 โครงการโครงสร้างพื้นฐานใน EEC คืบหน้าแล้วประมาณ 25% ล่าช้าจากทยอยเวนคืนที่ดิน โวรัฐลงทุนแค่ 30% ที่เหลือเป็นเอกชน คาดท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เสร็จ จะขยับไปอยู่ระดับ 15 ของโลก

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยกับ TOPNEWS ถึงภาพรวมการลงทุน 4 โครงการใน EEC ซึ่งประกอบด้วย โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งมีมูลค่ารวม 6.25 แสนล้านบาท 70% เป็นเงินของเอกชน รัฐบาลลงทุนประมาณ 30%  โดยใช้รูปแบบการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน(PPP)

ปัจจุบัน โครงการทั้งหมด โดยรวมคืบหน้าแล้วประมาณ 25% เหลือช่วงก่อสร้าง ซึ่งระยะเวลาก่อสร้างใช้เวลาไม่นาน แต่จะมีความล่าช้าในส่วนของการเวนคืนที่ดิน

โครงการโครงสร้างพื้นฐานทั้ง 4 โครงการ ประกอบด้วย

1.รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ช่วงแรกจะส่งมอบที่ดินจากสนามบินสุวรรณภูมิวิ่งไปถึงสนามบินอู่ตะเภา ภายในเดือนตุลาคม ระยะทาง 150 กิโลเมตร เมื่อส่งมอบที่ดินได้ก็จะเริ่มก่อสร้างภายในสิ้นปีนี้

การดำเนินโครงการ มีการเวนคืนที่ดิน ประมาณ 800 ไร่ ใช้เงินงบประมาณ กว่า 3 พันล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อลงไปเวนคืนที่ดิน ราคาที่ดินปรับขึ้น จึงต้องขอครม.อนุมัติงบประมาณ มาอีกเกือบ 600 ล้านบาท ในการประชุมเมื่อ 1 มิ.ย.64  ซึ่งเงินงบประมาณนี้  ทำให้สามารถครอบครองพื้นที่เวนคืนทุกแปลงได้

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คาดว่าปี 2568 จะทดสอบระบบ และเปิดบริการได้ตามแผนเร่งรัด

นายคณิศ กล่าวถึงโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ว่า มีหนี้เดิมประมาณ 3 หมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งโอเปอเรชั่นเดิมที่ทำอยู่ ขาดทุนปีละ 200-300 ล้านบาท  จึงตัดสินใจให้เอกชนรับไปบริหาร โดยจะเริ่มเข้าไปถ่ายโอนกิจการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ในเดือนต.ค. นี้

ทั้งนี้  เอกชนได้หารือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) และแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ว่า จะลงทุนอีกราว 700-1,000 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงบริการของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เช่น การหาตู้รถไฟมาเพิ่มเติม เรื่องไฟฟ้าส่องสว่าง และการหาแอร์คอนดิชั่น มาเพิ่มเติม รวมถึงวางแผนร่วมกันว่าจะมีทางเดินใต้ดิน บริเวณสถานีมักกะสัน เมื่อเปิดใช้มักกะสันต้องสะดวก และจะมีการปรับเวลาเดินรถไฟฟ้าฯ จากเดิมที่ 15 นาที ควรจะไม่ห่างกันเกิน 5 นาที ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารสบายใจขึ้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดสถานการณ์การระบาดโควิด-19 นักท่องเที่ยวไม่มี จำนวนผู้โดยสารก็ดรอปลงมา จากเดิมที่ประมาณ  6 หมื่นคน/วัน เหลือประมาณ 2 หมื่นคน/วัน

2.สนามบินอู่ตะเภา มีความคืบหน้าคือ กองทัพเรือออกแบบรันเวย์ที่ 2 แล้ว จะเริ่มก่อสร้างภายในปลายปีนี้ โดยใช้เวลาก่อสร้าง 1-2 ปี โดยมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องคือ โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา(MRO) ศูนย์ซ่อมทันสมัยแห่งภูมิภาค มีพื้นที่ที่จะพัฒนาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการบิน ประมาณ 540 ไร่ เป็นพื้นที่ MRO เป็นระบบซ่อมประมาณ 200-300 ไร่

และเป็นพื้นที่ของ TG ประมาณ 100 กว่าไร่ อยู่ที่ว่าบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) เมื่อทำแผนฟื้นฟู แล้วอยากจะทำในส่วนนี้ต่อไหม  ซึ่งทาง EEC ก็พร้อมจะช่วยกันทำ เพราะการบินไทยมีโรงซ่อมอยู่แล้ว แต่โรงซ่อมอยู่กลางสนามบินที่จะเป็นรันเวย์ที่ 2 ถ้าการบินไทยจะทำต่อ ก็จะสร้างที่ใหม่ให้เช่า

ในส่วนของที่ดิน ที่มีประมาณ 500 ไร่นั้น การบินไทยเอาไป 100 กว่าไร่ ส่วนที่เหลือประมาณ 400 ไร่ ทาง EEC ก็จะมีการเปิดประมูลในช่วงปลายปี  โดยจะเปิดให้เช่าที่เพื่อ MRO เช่น สายการบินแอร์เอเชีย บางกอกแอร์เวย์ส เวียตเจ็ท เป็นต้น

ปัจจุบัน สนามบินรันเวย์เดียว สามารถรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคน/ปี เพราะฉะนั้น ในระยะแรก แม้รันเวย์ที่ 2 ไม่เสร็จก็ไม่เป็นไร

3.ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3

เป็นโครงการขยายพื้นที่ 1,000 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ถมทะเล รองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)  สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เริ่มมีการเข้าไปสำรวจพื้นที่ เพื่อถมทะเลแล้ว และภายใน 1-2 ปี น่าจะถมทะเลเสร็จ

ตามแผนในปี 66 จะมีการก่อสร้างท่าเรือก๊าซ และปี 69 จะเปิดดำเนินการท่าเรือก๊าซ และท่าเรือรับของเหลว

 

4.ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3

เลขาธิการฯ อีอีซี กล่าวว่า ก่อนโควิด-19 ท่าเรือเริ่มแน่น จึงวางแผนว่า 5 ปีต้องมีการขยาย คาดว่าการเจรจาในสัญญาขั้นสุดท้ายจะสรุป และเดือนก.ค. จะนำเข้ากรรมการเพื่ออนุมัติ และลงนามสัญญา

สำหรับท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 จะมีความพิเศษคือ เป็นระบบ Automation จะนำรถไฟเข้าไปล้อมท่าเรือนี้ เพื่อให้มีการขนส่งทางรถไฟอย่างน้อย 30% จากตอนนี้อยู่ที่ราว 7%

ทั้งนี้ เมื่อท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 สร้างเสร็จ จะทำให้สามารถรองรับ ตู้สินค้าได้ไม่ต่ำกว่า 7 ล้านตู้ จากปัจจุบันมี capacity ประมาณ 8 ล้านตู้ รวมเป็น 15 ล้านตู้ ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จจะทำให้ท่าเรือแหลมฉบังขึ้นไปอยู่ในระดับ 15 ของโลก เมื่อสร้างเสร็จ ภายในเวลา 4 ปี

นายคณิศ ยังกล่าวถึงโครงการท่าเรือบก(Dry Port) ว่า อยู่ระหว่างการนัดประชุมกับกรมศุลกากร ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.)  เป็นเจ้าของ

 “เราอยากจะเห็นท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือของภูมิภาค ต้องทำเรื่อง Dry Port ไปคู่กัน แล้วก็ในอนาคต เวลาที่ของที่อยู่ในลาว เค้าจะต้องรู้ว่าเข้ามารถไฟเที่ยวไหน ใช้เวลาเท่าไร ส่งลงมา หรือใช้รถคันไหน ส่งลงมาถึงท่าเรือเมื่อไร และขึ้นเรือลำไหน มันจะได้เกิด seamless ของการดูแลสินค้าเขา” เลขาธิการฯ กล่าว

เมื่อทำท่าเรือแหลมฉบังเสร็จ ก็กำลังทำ Dry Port เข้าไปที่ลาว จีน เมียนมาร์ และกัมพูชา เพื่อเอาคอนเทนเนอร์ ทางระบบรถไฟหรือรถ วิ่งมาเชื่อมกับแหลมฉบัง แล้วเช็คอินครั้งเดียว เช่น เช็คอินที่ลาวเสร็จ ที่แหลมฉบังไม่ต้องเช็คอินแล้ว โดยใช้กรมศุลกากรในการตรวจสอบ ทำให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือของภูมิภาคได้จริงๆ โดยความคืบหน้า จวนจะจบระเบียบที่ทำกับศุลกากรแล้ว

 


 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“บิ๊กต่อ” ตั้งทนายฟ้องกลับ “ทนายตั้ม” หมิ่นประมาท ปมแฉเอี่ยวส่วยเว็บพนัน เรียกค่าเสียหาย 5 ล้าน
สหรัฐ สามปธน. เดโมแครตระดมทุนครั้งใหญ่ช่วยไบเดน
สุดอั้น จ่อปรับขึ้น "ดีเซล" ราคาหน้าปั๊มทะลุ 30 บาท มีผล 1เม.ย.67
นิรโทษกรรมเหมาเข่ง ดีลับยืมมือ "แดง" พิฆาต "ส้ม" ไม่จริง เหตุ "ก้าวไกล" เน่าในอยู่แล้ว
"รถไฟฟ้าสีเหลือง" ผดส.ทยอยใช้บริการปกติ ชื่นชมพนง.ดูแลดีช่วงขัดข้อง ฝากตรวจสอบอย่าเกิดซ้ำ
ปะทะกันแล้ว ก็อดซิลล่า VS คิงคอง ที่สวนนงนุชพัทยา
ซัด "ก้าวไกล" ปมขึ้นค่าแรงจ้องหาเสียงตีกินการเมือง ชำแหละกึ๋นนโยบายใครทำคนตกงานระนาว
NBM แจงเทศกิจ ร้องวัสดุตกใส่รถยนต์ ยันไม่ใช่ชิ้นส่วน"รถไฟฟ้าสีชมพู"
"นายกฯ"เป็นประธานพิธีลงนาม "โครงการ 1 กีฬา 1 รัฐวิสาหกิจ" เดินหน้าผลักดันกีฬาไทยสู่ระดับโลก ดูแลบุคลากรสร้างชื่อเสียงให้ประเทศ
แกนนำ 3 นิ้วอ่วม คดีเพียบ ศาลนัดเชือดเรียงตัว หลัง “ไมค์” หนีป่าราบ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น