logo

“ยื่น ภาษี ออนไลน์” 64 วันนี้วันสุดท้าย ทางลัด เช็คคืนภาษี

ยื่น ภาษี ออนไลน์, ภาษี, ยื่นภาษี, คืนภาษี

"ยื่น ภาษี ออนไลน์" 2564 ได้ถึงวันนี้ เกินกำหนดมีค่าปรับเท่าไหร่ ติดตามการคืนภาษี ได้อย่างไร เช็คด่วน ทางลัด สรุปรวบตึงข้อมูลมาให้แล้ว ที่นี่ ครบ จบ

“ยื่น ภาษี ออนไลน์” ได้ถึงวันไหน เป็นคำถามสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ยื่น ส่วน ติดตามการคืนภาษี ผู้ที่ยื่นแล้วอยากรู้คำตอบ ทั้งนี้ กรมสรรพากร อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่จะ ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ’64 และ สอบถามการคืนภาษี สามารถทำได้แบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ www.rd.go.th โดย TOP News สรุปรวบตึงข้อมูลมาให้แล้ว ดังนี้

ข่าวที่น่าสนใจ

“ยื่น ภาษี ออนไลน์” ต้องรู้ 3 เรื่อง ไม่เหมือนเดิม มีอะไรบ้าง

ลดการส่งเงินสมทบประกันสังคม

  • ปกติแล้วผู้มีรายได้ที่มีการจ่ายเงินสมทบเข้าไปในประกันสังคมทุก ๆ เดือน จะสามารถนำจำนวนเงินที่สมทบเข้าประกันสังคมตลอดทั้งปี ในอัตราที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท ไปใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ แต่ในปีนี้ ประกันสังคม มีนโยบายลดอัตราส่งเงินสมทบของกองทุนประกันสังคมทุกมาตรา ทั้ง ม.33 ม.39 ม.40 ทำให้ผู้เสียภาษีสามารถนำเงินส่วนนี้ไปลดหย่อนภาษีได้น้อยลงด้วย

ผู้ประกันตน ม.33

  • จะสามารถยื่นลดหย่อนภาษีในส่วนของประกันสังคมได้สูงสุดที่ 5,100 บาทในปีภาษี 2564 (จากเดิมสูงสุด 9,000 บาท) เนื่องจากในปีนี้ ประกันสังคมมีนโยบายเรียกเก็บเงินสมทบลดลงในช่วง โควิด-19 ระบาด จากสูงสุดเดือนละ 750 บาท ดังนี้
  1. เดือน มกราคม หัก 3% สูงสุด 450 บาท
  2. เดือน กุมภาพันธ์ – มีนาคม หัก 0.5% สูงสุด 75 บาท
  3. เดือน เมษายน – พฤษภาคม หักเงินสมทบตามเดิม 750 บาท
  4. เดือน มิถุนายน – พฤศจิกายน หัก 2.5% สูงสุด 375 บาท
  5. เดือน ธันวาคม ไม่ได้มีการแจ้งลดการหักเงินสมทบ จึงกลับมาคิดที่เต็มจำนวนเงินสมทบเดิมที่อัตรา 750 บาท

ผู้ประกันตน ม.39

  • จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนประกันสังคมในปีภาษี 2564 ได้สูงสุดไม่เกิน 3,483 บาท เนื่องจากมีการลดการส่งเงินประกันสังคมในปีนี้จากเดิม 432 บาท ดังนี้
  1. เดือน มกราคม – มีนาคม ลดสมทบเหลือ 278 บาท
  2. เดือน เมษายน – พฤษภาคม หักสมทบ 432 บาทตามเดิม
  3. เดือน มิถุนายน – สิงหาคม ลดสมทบเหลือ 216 บาท
  4. เดือน กันยายน – พฤศจิกายน ลดสมทบเหลือ 235 บาท
  5. เดือน ธันวาคม ไม่ได้มีการแจ้งลดการหักเงินสมทบ จึงคิดการหักสมทบ 432 บาทตามเดิม

ผู้ประกันตน ม.40

  • จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนประกันสังคมในปีภาษี 2564 ได้สูงสุดไม่เกิน 700 , 1,000 และ 3,000 บาท ตามการสมทบ ทางเลือกที่ 1 ทางเลือกที่ 2 และ ทางเลือกที่ 3 ตามลำดับ
  1. เดือน มกราคม – กรกฎาคม จ่ายตามปกติ ทางเลือกที่ 1 = 70 บาท ทางเลือกที่ 2 = 100 บาท และทางเลือกที่ 3 = 300 บาท
  2. เดือน สิงหาคม – ธันวาคม ลดเงินสมทบประกันสังคมลง ทางเลือกที่ 1 = 42 บาท ทางเลือกที่ 2 = 60 บาท และทางเลือกที่ 3 = 180 บาท

* ดังนั้น หมายความว่า ผู้มีเงินได้ที่มีรายได้เท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้น ในช่วงปี 2564 จะมีตัวช่วยลดหย่อนภาษีได้น้อยลง และอาจต้องมองหาสิ่งที่จะสามารถนำมาช่วยลดหย่อนภาษีจากส่วนอื่น ๆ เพิ่มขึ้นในปีนี้

ยื่น ภาษี ออนไลน์, ภาษี, ยื่นภาษี, คืนภาษี

หักภาษี ณ ที่จ่าย ลดลง

  • อีกหนึ่งมาตรการพิเศษช่วยเหลือประชาชนที่เกิดขึ้นในปีนี้ คือ การลดอัตรา หักภาษี ณ ที่จ่าย ในปี 2564 จากเดิม 3% ลดลงเหลือ 1.5 – 2% ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน และเป็นไปตามประเภทของเงินได้ที่แต่ละคนได้รับ ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ให้ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย จาก 1 ตุลาคม 2563 – 31 ตุลาคม 2564 ลดหักภาษี ณ ที่จ่าย จาก 3% เป็น 2% สำหรับผู้มีประเภทเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ดังนี้

เงินได้ตาม มาตรา 40 (6)* หักภาษี ณ ที่จ่าย 2%

* เงินได้ประเภทที่ 6 คือ รูปของค่าตอบแทนจากการประกอบวิชาชีพอิสระที่มีจำนวนไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปริมาณหรือความยากง่าย ซึ่งมี 6 อาชีพ ได้แก่ การประกอบโรคศิลปะ , นักกฎหมาย , วิศวกร , สถาปนิก , นักบัญชี และ ช่างประณีตศิลป์

เงินได้ตาม มาตรา 40 (7)** หักภาษี ณ ที่จ่าย 2%

** เงินได้ประเภทที่ 7 คือ ค่ารับเหมาที่มีการเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ โดยที่คุณเป็นผู้จัดหาทั้งแรงงาน เครื่องมือ และสัมภาระเอง เช่น รับเหมาก่อสร้าง , รับผลิตสินค้าตามแบบที่ลูกค้าต้องการโดยที่ปกติคุณไม่ได้ทำขายเป็นปกติทั่วไป เช่น ผลิตตามต้นแบบของลูกค้า

เงินได้ตาม มาตรา 40 (8)*** ในส่วนจ้างทำของ รางวัล ส่วนลด ส่งเสริมการขาย หักภาษี ณ ที่จ่าย 2%

*** เงินได้ประเภทที่ 8 คือ เงินได้พึงประเมินที่ไม่สามารถจัดให้เข้ากลุ่มเงินได้ประเภทที่ 1 – 7 ได้ เช่น ขายของออนไลน์ เปิดร้านอาหาร กำไรจากการขายกองทุน LTF / RMF เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนและคณะบุคคล และอื่น ๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ หักภาษี ณ ที่จ่าย คือ การหักภาษีล่วงหน้าบางส่วนตอนที่มีการจ่ายและรับเงิน หากผู้มีรายได้มีการยื่นภาษีแล้วเงินได้สุทธิไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี หรือพบว่าถูกหักภาษีไว้มากกว่าจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายจริง จะสามารถขอรับเงินภาษีคืนจากที่เคยถูกหักไปก่อนหน้านี้ได้

ดังนั้น ผลจากการลดการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลดลง ช่วยให้ประชาชนถูกหักภาษีน้อยลง ณ เวลาที่ได้รับเงิน มีสภาพคล่องมากขึ้น แต่ในช่วงที่กำลังมองหาตัวช่วยลดหย่อนภาษี อัตราการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ลดลงทำให้ตัวเลขที่จะนำมาช่วยลดหย่อนต่ำลงไปด้วย สำหรับคนที่ยังมีรายได้สุทธิอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี จึงควรวางแผนภาษีใหม่ หรือหาตัวช่วยอื่น ๆ มาลดหย่อนภาษีในส่วนนี้แทน

“ยื่น ภาษี ออนไลน์” ได้รับ เงินเยียวยา จากมาตรการของรัฐ เสียภาษีเงินได้อย่างไร ?

  • ในช่วงปี 2564 มีมาตรการเยียวยาและการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาให้ประชาชนหลายโครงการ ซึ่งผู้ที่เป็นบุคคลธรรมดาที่ได้รับสิทธิใช้เงิน เช่น โครงการ คนละครึ่ง เราชนะ เราเที่ยวด้วยกัน ไม่ต้องนำเงินจำนวนนี้มา ยื่นภาษี และไม่ต้อง เสียภาษี แต่อย่างใด เนื่องจากตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ยกเว้นภาษีเงินได้โครงการ คนละครึ่ง และ เราเที่ยวด้วยกัน ไว้อยู่แล้ว ส่วนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ คนละครึ่ง และ เราเที่ยวด้วยกัน ซึ่งเป็นนิติบุคคลหรือร้านค้า หากมีเงินได้ที่ถึงฐานก็ต้องเสียภาษีปกติ ซึ่งเป็นคนละกรณีกับบุคคลทั่วไป

การคืนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก

  • กรมสรรพากรจะทำการโอนเงินภาษี ที่ได้อนุมัติคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ สำหรับบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชนกับบัญชีเงินฝากธนาคาร และได้แจ้งความประสงค์ขอรับเงินคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารดังกล่าว ซึ่งเป็นช่องทางที่ผู้ขอคืนเงินภาษีเกินกว่า 90% เลือกใช้บริการในปีภาษีที่ผ่านมา

การคืนเงินผ่านสาขา บมจ.ธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

  • กรณีผู้ขอคืนเงินภาษีไม่ประสงค์รับเงินภาษีคืนด้วยการโอนเงินภาษีคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ กรมสรรพากรจะออกหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ค.21) เป็นหลักฐานเพื่อนำไปติดต่อรับเงินคืนที่สาขาธนาคารธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

การคืนเงินสำหรับผู้ขอคืนที่ไม่สามารถลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก

  • กรณี ชาวต่างชาติ ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล วิสาหกิจชุมชน และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง กรมสรรพากรจะออกหนังสือ ค.21 (หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) พร้อมเช็ค โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ตามที่อยู่บนแบบแสดงรายการให้ผู้ขอคืน เพื่อนำไปเข้าบัญชีเงินฝากที่สาขาธนาคารเท่านั้น

* สำหรับผู้ขอคืนที่ได้รับ ค.21 ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2565 ที่ยังไม่ได้ขอคืนเงินที่สาขาธนาคาร และ ค.21 หมดอายุ ให้ยื่นคำร้องขอออกเช็คคืนเงินภาษี ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ กรมสรรพากรจะออก ค.21 ฉบับใหม่พร้อมเช็คและจัดส่งทางไปรษณีย์ให้ผู้ขอคืนต่อไป

“ยื่น ภาษี ออนไลน์” ได้ถึง 8 เมษายน 2565 นี้ เท่านั้น เกินกว่านี้ระวังโดนปรับ

นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ โฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรเปิดให้ประชาชนผู้มีเงินได้สามารถยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจำปี 2564 ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้จนถึงวันที่ 8 เมษายน 2565 เวลา 24.00 น. หากพ้นกำหนดดังกล่าว จะต้องเสียค่าปรับอาญาไม่เกิน 2,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1.5

“วิธีการยื่นภาษีนั้นให้เข้าไปที่เว็บไซต์ www.rd.go.th คลิกที่เมนู ยื่นแบบ จากนั้นกรอกข้อมูลตามขั้นตอน ระบบจะคำนวณสิทธิลดหย่อนภาษีให้อัตโนมัติในทันที ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก สามารถยื่นแบบได้ทุกที่ ทุกเวลา ขอเชิญชวนผู้มีเงินได้ ยื่นแบบภาษีตามกำหนด โดยกรมสรรพากรจะนำรายได้จากการจัดเก็บภาษีประจำปี นำส่งรัฐบาลเพื่อจัดสรรและนำไปใช้จ่ายในการบริหารประเทศต่อไป”

วิธีการ “ยื่น ภาษี ออนไลน์” ผ่านระบบ E-Filing สามารถทำได้ ดังนี้

  • เปิดเว็บไซต์ของกรมสรรพากรเพื่อสมัครสมาชิก efiling.rd.go.th : คลิกที่นี่
  • เลือก ยื่นแบบออนไลน์ : คลิกที่นี่
  • กรอกข้อมูลส่วนตัว ชื่อ วัน เดือน ปีเกิด และเลขหลังบัตรประชาชน จากนั้นกด ตรวจสอบ
  • กรอกข้อมูลที่อยู่ พร้อมเลือกวิธีที่จะใช้ยืนยันตัวตน สามารถเลือกได้ระหว่าง โทรศัพท์มือถือ และ อีเมล
  • หากเลือกยืนยันตัวตนผ่านเบอร์โทรศัพท์มือถือ ให้กรอกรหัส OTP ที่ได้รับภายใน 5 นาที
  • กำหนดคำถามสำหรับใช้ในการยืนยัน กรณีหากลืมรหัสผ่าน
  • กดยืนยันการลงทะเบียน

ทางลัด ตรวจสอบข้อมูลการขอ คืนเงินภาษี

  • หลังจากยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 พร้อมยื่นขอคืนเงินภาษี แล้ว สามารถตรวจสอบสถานะคืนเงินภาษี หรือสอบถามข้อมูลการขอคืนเงินภาษีได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
  1. ผ่านเว็บไซต์ กรมสรรพากร www.rd.go.th เลือกเมนู สอบถามการขอคืนเงินภาษี หรือเข้าเมนูลัด : คลิกที่นี่ (กรณียื่นแบบฯ กระดาษ สามารถตรวจสอบได้ภายหลังจากวันที่ยื่นแบบฯ แล้ว 1 วัน)
  2. ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (RD Call Center) : 1161
  3. สำนักงานสรรพากรพื้นที่ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏตามการยื่นแบบฯ

ยื่น ภาษี ออนไลน์, ภาษี, ยื่นภาษี, คืนภาษี

“ยื่น ภาษี ออนไลน์” แล้วสามารถ ตรวจสอบผลการขอคืน ผ่านทางเว็บไซต์ www.rd.go.th : คลิกที่นี่

ยื่น ภาษี ออนไลน์, ภาษี, ยื่นภาษี, คืนภาษี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เช็กเลย "ขสมก." จัดรถเมล์ฟรี 5 เส้นทาง ชมเห่เรือพระราชพิธี-จุดเทียนถวายพระพร "ในหลวง"
"มอเตอร์เวย์ ฟรี" วันหยุดยาว วันเฉลิมพระชนมพรรษา เช็กจุดที่นี่
ทั่วไทยเจอฝนฟ้าคะนอง 17 จว.อ่วม ฝนถล่ม เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน กทม.ก็โดนด้วย
เพจกล้าที่จะก้าว นำเหยื่อ “แชร์ลูกโซ่ธุรกิจออมทอง” เข้าร้องเรียน ดีเอสไอ ภาค 1 หลังโดนโกงสูญเงินนับร้อยล้าน
"บิ๊กอุ้ม" ลุยบุรีรัมย์กับ "กสศ." แก้ปัญหาเด็กหลุดนอกระบบการศึกษา มอบ "สกร." ตามเด็กถึงบ้าน ตั้งเป้าเทอม 2/2567 "บุรีรัมย์เด็กดร็อปเอาต์เป็นศูนย์"
"อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท" ชื่อนี้มีที่มา ลุ้นเป็น "มรดกโลก" แห่งที่ 8 ของประเทศไทย
สถานทูตฯ เตือนคนไทยในฝรั่งเศส ระวังตัว หลังเกิดเหตุวินาศกรรมเผาเส้นทางรถไฟ
จนท.เฝ้าระวัง "น้ำป่า" ไหลหลากผ่ากลางโรงเรียน หวั่นอาคารถล่ม วิกฤติซ้ำซ้อน เด็กนร. โดนไฟช็อต เร่งหามส่งรพ.ด่วน
"อ.อ๊อด" ค้านใช้ไซยาไนด์กำจัด "ปลาหมอคางดำ" หวั่นกระทบสิ่งแวดล้อม
โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระราชาคณะ 5 รูป วัดโพธิ์

ดู LIVE รายการ

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น