No data was found

“ยาฆ่าพยาธิ VS โควิด” 2565 ไอเวอร์เม็กติน ข้อมูลอันผิดพลาด

กดติดตาม TOP NEWS

"ยาฆ่าพยาธิ VS โควิด" ผลศึกษา 2565 ไอเวอร์เม็กติน ไม่มีประสิทธิภาพลดเข้ารักษาตัวใน รพ. เปิดทางหันไปทุ่มเทค้นคว้าและพัฒนาแนวทางรักษาอื่น ๆ ดีกว่า

“ยาฆ่าพยาธิ VS โควิด” ไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) ยากำจัดพยาธิในคนและสัตว์ ฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ในห้องปฏิบัติการ เป็นข้อมูลแพร่หลายไปในวงกว้าง แต่ล่าสุด TOP News มีข้อมูลใหม่ ผลการศึกษาจากคณะนักวิจัยนานาชาติและ ออสเตรเลีย พบ ไอเวอร์เม็กติน ไม่มีประสิทธิภาพลดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจาก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)

ข่าวที่น่าสนใจ

การศึกษา “ยาฆ่าพยาธิ VS โควิด” ฉบับดังกล่าวเผยแพร่ในวารสารการแพทย์ นิว อิงแลนด์ (New England) เมื่อวันพฤหัสบดี (31 มีนาคม 2565) โดยเป็นผลลัพธ์จากการทดลองแบบปกปิดข้อมูลสองทาง (Double-blind) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวน 3,515 ราย

ผู้ป่วย 679 ราย จำนวน 2 กลุ่ม ที่มีอาการของโรคโควิด-19 นานถึง 7 วัน และมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้โรคลุกลามอย่างน้อยหนึ่งปัจจัย ถูกสุ่มให้รับประทานยาไอเวอร์เม็กติน วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน หรืออาจได้รับยาหลอก

นักวิทยาศาสตร์จากเซอร์ทารา (Certara) บริษัทชั้นนำด้านการจำลองทางชีวภาพ และอดีตนักวิจัยของมหาวิทยาลัยโมนาช ศาสตราจารย์ เครก เรย์เนอร์ ซึ่งร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการดังกล่าวผ่านแพลตฟอร์มการทดลองนานาชาติ ทูเกเธอร์ คลินิคัลไทรอัลส์ (TOGETHER ClinicalTrials) เผยกับ สำนักข่าวซินหัว ว่า การศึกษาพบการรักษาด้วยยาไอเวอร์เม็กตินในกลุ่มผู้ป่วยนอกที่ถูกวินิจฉัยว่าป่วยโรคโควิด-19 ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ไม่ได้ลดความจำเป็นของการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล

ยาฆ่าพยาธิ VS โควิด
แฟ้มภาพซินหัว : บุคลากรการแพทย์อินโดนีเซียสวมชุดป้องกันขณะเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งเพื่อตรวจโรคโควิด-19 ในจังหวัดชวาตะวันตกของอินโดนีเซีย วันที่ 24 ก.ย. 2020

“การทดลองแบบปกปิดข้อมูลสองทางมีความสำคัญ โดยช่วยรับประกันว่าผลลัพธ์นั้นเป็นจริง และไม่ได้รับผลกระทบจากการปัจจัยอื่น เนื่องจากทั้งผู้ป่วยและผู้ให้บริการด้านการรักษาพยาบาลไม่ทราบถึงการแทรกแซง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการขจัดอคติที่อาจเกิดขึ้น” เรย์เนอร์ ระบุ

ทั้งนี้ ข้อมูลอันผิดพลาดเกี่ยวกับยาไอเวอร์เม็กตินนั้นแพร่หลายเป็นวงกว้าง หลังจากมีการพบว่ายาตัวนี้สามารถฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ในห้องปฏิบัติการ ทว่าปัจจุบันไม่มีหลักฐานทางคลินิกใดที่บ่งชี้ว่ามันสามารถฆ่าเชื้อไวรัสฯ ในร่างกายมนุษย์ได้

เรย์เนอร์ ทิ้งท้ายว่า การศึกษาข้างต้นจะช่วยให้เหล่านักวิทยาศาสตร์หันไปทุ่มเทเวลาและกำลังกับการค้นคว้าและพัฒนาแนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ที่มีศักยภาพอื่น ๆ มากกว่า

ยาฆ่าพยาธิ VS โควิด
แฟ้มภาพซินหัว : ประชาชนรอรถรางในนครซิดนีย์ของออสเตรเลีย วันที่ 30 มี.ค. 2022

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นานาชาติเรียกร้องอิหร่าน-อิสราเอลยุติการตอบโต้
ภาพวงจรปิดจับชัด 3 โจ๋ควงมีด บุกปล้นร้านค้ากลางวันแสกๆ ไม่เกรงกลัวกฎหมาย
"พชร" ปลุกทุกองค์กรเร่งสร้างบุคลากรดิจิทัล สู้ภัยคุกคาม AI ย้ำกสทช.ร่วมป้องปชช. เข้าถึงระบบสื่อสารปลอดภัย
ก.แรงงานลงนาม MOU ร่วมกับ CPF ขับเคลื่อนองค์กรสีขาว เพื่อย่างก้าวที่ยั่งยืน ต้นแบบสถานประกอบกิจการดูแลพนักงานปลอดยาเสพติด
"จักรภพ" ให้ปากคำเพิ่ม ยันเป็นผู้บริสุทธิ์ ลั่นตนเองไม่ได้ทำผิด
แห่แชร์ จยย.รับจ้างทำร้าย นทท.อินเดีย ยับ ด้าน วินจยย.เปิดใจ นนท.อินเดียทำร้าย เขาทำลูกวัย 7 ขวบ ก่อน
สวนนงนุชพัทยา ต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดการประชุมประจำปี “สพฐ. โปร่งใส ร่วมใจต้านทุจริต” ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ (NICE)
วันไหลพัทยา คลื่นมหาชนกร่วมเล่นสงกรานต์สาดน้ำกันอย่างคึกคัก เมืองพัทยาร่วมกับฝ่ายปกครอง ตำรวจ และอาสาสมัคร สนธิกำลังนับร้อยเฝ้าระวังป้องกันเหตุ
"ศุภมาส" เปิด "Thailand Pavilion" นำงานวิจัย นวัตกรรมไทย อวดสายตาโลก
"สว.สมชาย" จ่อฟ้อง "ไอลอว์" บิดเบือนหมิ่นลอกดุษฎีนิพนธ์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น