“ดร.สามารถ”เผยชัด ผู้รับเหมาขอรฟท.ใช้TORรถไฟทางคู่แบบสายใต้ แต่กลับเมินเฉย

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ โพสต์เฟซบุ๊ก เผยก่อนประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือ-อีสาน มีผู้รับเหมาหลายรายเสนอให้นำทีโออาร์สายใต้ช่วงนครปฐม-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร มาใช้ในการประมูล แต่ร.ฟ.ท.ปฏิเสธ

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ชำนาญด้านโครงการและแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนและ ท่าอากาศยาน โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีผู้รับเหมาหลายรายเสนอใช้ทีโออาร์สายใต้ ประมูลทางคู่เหนือ-อีสาน แต่เหลว!

ก่อนประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายอีสานช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้สอบถามความเห็นจากผู้รับเหมาที่สนใจจะเข้าประมูล ปรากฏว่ามีผู้รับเหมาหลายรายเสนอให้ ร.ฟ.ท. นำข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง(ทีโออาร์) ของสายใต้ช่วงนครปฐม-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร มาใช้ แต่ ร.ฟ.ท.ปฏิเสธ

 

การประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ ทำอย่างไร?

ร.ฟ.ท. ได้แบ่งการประมูลออกเป็นสัญญาย่อยหลายสัญญา ทำให้ได้ค่าก่อสร้างต่อสัญญาต่ำลง และได้กำหนดผลงานของผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลไว้ดังนี้

  1. ต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 10% ของราคากลาง หรือ
  2. ต้องมีผลงานก่อสร้างโครงสร้างทางรถไฟหรือรถไฟฟ้าในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 7% – 8% ของราคากลาง และผลงานติดตั้งระบบรางรถไฟหรือรถไฟฟ้าในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 2% – 3% ของราคากลาง

การกำหนดผลงานไว้เช่นนี้ ทำให้ผู้รับเหมาขนาดกลางสามารถเข้าประมูลได้ด้วย ไม่ใช่เฉพาะผู้รับเหมาขนาดใหญ่เท่านั้น เป็นผลให้การประมูลมีการแข่งขันกันมากกว่า สามารถประหยัดค่าก่อสร้างได้มากถึง 2,039 ล้านบาท คิดเป็น5.66% ของราคากลาง

การประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสาน ทำอย่างไร?

ร.ฟ.ท. ไม่ได้แบ่งการประมูลออกเป็นสัญญาย่อยหลายสัญญา ทำให้ค่าก่อสร้างต่อสัญญาสูง และได้กำหนดผลงานของผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลไว้ดังนี้

  1. ต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 15% ของราคากลาง
  2. ในกรณีสายเหนือซึ่งมีการก่อสร้างอุโมงค์ด้วย จะต้องมีผลงานก่อสร้างอุโมงค์ในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 5% ของค่าก่อสร้างอุโมงค์

การกำหนดผลงานไว้เช่นนี้ จะทำให้ผู้รับเหมาขนาดกลางไม่สามารถเข้าประมูลได้ด้วย จึงมีเฉพาะผู้รับเหมาขนาดใหญ่เพียง 5 รายเท่านั้นที่เข้าแข่งขันกัน ผลการประมูลจึงประหยัดค่าก่อสร้างได้เพียง 106 ล้านบาท คิดเป็น 0.08% ของราคากลางเท่านั้น

 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้ไม่เหนือความคาดหมายของคนในวงการก่อสร้าง ซึ่งเห็นได้ว่าก่อนการประมูลมีผู้รับเหมาขนาดกลางหลายรายได้ทักท้วงการกำหนดผลงานไม่น้อยกว่า 15% ของราคากลาง และได้เสนอให้ใช้ผลงานไม่น้อยกว่า 10% ของราคากลางเหมือนสายใต้ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ยกตัวอย่างเช่น

 

“บริษัท…ขอเสนอว่า ร.ฟ.ท. ควรกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของผลงานไว้เช่นเดิมเพียง 10% ของราคากลาง เพื่อให้โอกาสผู้ที่มีคุณสมบัติเดิมได้เข้าร่วมเสนอราคาด้วย บริษัทฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อเสนอแนะดังกล่าวจะเป็นประโยชน์เพื่อความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ไม่เป็นการกีดกันผู้รับเหมารายอื่น และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงานราชการ” หรือ

“กรณีดังกล่าว (เพิ่มผลงานจาก 10% ของราคากลาง เป็น 15% ของราคากลาง) ถือเป็นการกีดกันไม่ให้ผู้เสนอราคารายเดิมที่เคยมีสิทธิ์เสนอราคาเข้าร่วมเสนอราคาด้วย อันเป็นการเอื้อผลประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนใดกลุ่มทุนหนึ่งเฉพาะเจาะจง ทำให้มีผู้เสนอราคาน้อยกว่าปกติหรือไม่” หรือ

“ผลงานที่เป็นเกณฑ์ในการยื่นข้อเสนอควรลดมาให้เหลือ 10% ของราคากลาง เพื่อให้เป็นไปตามร่างประกาศการประมูลรถไฟทางคู่ของ ร.ฟ.ท. ข้อ 13 และ ข้อ 14

ข้อ 13 ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องมีนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง

ข้อ 14 ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องลงนามในข้อตกลงคุณธรรม กรณีโครงการได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (คณะกรรมการ ค.ป.ท.) ให้จัดทำข้อตกลงคุณธรรม”

 

นั่นหมายความว่า ผู้รับเหมารายนี้คงเห็นว่าการเสนอให้ลดผลงานลงเหลือ 10% ของราคากลาง จะทำให้มีการแข่งขันกันมากกว่า เป็นผลให้สามารถป้องกันการทุจริตได้

 

แม้มีผู้รับเหมาหลายรายไม่เห็นด้วยกับการใช้ผลงานไม่น้อยกว่า 15% ของราคากลาง และได้เสนอให้ใช้ผลงานไม่น้อยกว่า 10% ของราคากลาง แต่ ร.ฟ.ท. กลับปฏิเสธ โดยให้เหตุผลเหมือนกันทุกรายว่า “การกำหนดเปอร์เซ็นต์ผลงานของผู้ยื่นข้อเสนอเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติของกรมบัญชีกลางในการกำหนดคุณสมบัติและการกำหนดผลงานของผู้ยื่นข้อเสนอ”

 

ทั้งๆ ที่ ร.ฟ.ท. ได้ประจักษ์มาจากการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ แล้วว่าการกำหนดผลงานไม่น้อยกว่า 10% ของราคากลาง สามารถประหยัดค่าก่อสร้างได้มากถึง 20.51% ของราคากลาง

 

และทั้งๆ ที่ ร.ฟ.ท. มีประสบการณ์จากการประมูลรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย โดยได้แยกการประมูลก่อสร้างอุโมงค์รถไฟช่วงวิหารแดง-บุใหญ่ เป็นสัญญาย่อยต่างหาก ไม่รวมอยู่กับงานอื่น ทำให้สามารถประหยัดค่าก่อสร้างได้มากถึง 32% ของราคากลาง

แต่ทำไม ในการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสาน ร.ฟ.ท. จึงไม่แบ่งการประมูลออกเป็นสัญญาย่อยหลายสัญญา และไม่กำหนดผลงานเป็นไม่น้อยกว่า 10% ของราคากลาง? ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติได้เป็นอย่างมาก และที่สำคัญ การทำเช่นนี้ก็เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรมบัญชีกลางเช่นกัน

 

ขอบคุณ  ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ตำรวจ สภ.สัตหีบ" ใจฟู "หนุ่มใหญ่ใจบุญ" มอบทุนปรับปรุง "ตู้ยาม" เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน
"นายกฯอิ๊งค์" ถวายสัตย์ปฏิญาณตน แล้ว ยิ้มตอบสื่อ พรุ่งนี้เริ่มทำงาน ก.วัฒนธรรม
ชาวบ้านล้อมจับโจรขโมย จยย. ผู้ก่อเหตุแกล้งเมา พูดไม่รู้เรื่อง
"ท็อปนิวส์" ขออภัยนำเสนอภาพและคลิปข่าว "โดรน JOUAV" ผิดพลาดคลาดเคลื่อน
เรือเฟอร์รี่อินโดนีเซียล่มใกล้เกาะบาหลี
โซเชียลสวดยับ “จิรัฏฐ์” เหยียด "สมาคมแม่บ้านทหารอากาศ" ลั่นแรง "อิพวกแม่บ้าน"
"หนุ่มวัย 28" ดับปริศนาคาโรงแรม กับงูเห่าในถุงผ้าที่มัดไว้
คืนเดียว 2 เคส หนุ่มไทยหนีตายจากแก๊งบัญชีม้า เล่าชะตากรรมสุดช้ำในกรุงปอยเปต
"ปตท." ครองบริษัทชั้นนำอันดับ 1 ในไทย ซ้ำได้อันดับ 2 ใน Southeast Asia ต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน สะท้อนศักยภาพดำเนินงานเป็นเลิศในระดับสากล
"ปตท." จับมือ บีเอ็นพี พารีบาส์ ลงทุนตราสารหนี้ ESG หนุนภารกิจยั่งยืน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น