No data was found

สธ.ชี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อยังพุ่งสูง-ย้ำไม่ต้องตรวจ RT-PCRซ้ำ

กดติดตาม TOP NEWS

กรมควบคุมโรค​เผยยังจำเป็นต้องคงมาตรการควบคุมโควิด-19 ระดับ 4​ ไว้​ก่อนเนื่องจากตัวเลขผู้ติดเชื้อยังพุ่งสูงแม้อาการไม่รุนแรง​ เฝ้าระวัง กลุ่มผู้ป่วยติดเชื้ออาการหนัก มีภาวะปอดอักเสบใส่ท่อช่วยหายใจ หลัง พบเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในช่วง 2 สัปดาห์ ยังไม่จำเป็นต้องเปิดระบบศูนย์พักคอยหรือ​ CI​ เพิ่ม​ เน้นย้ำประชาชน หากผลATKเป็นบวกไม่จำเป็นต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ

นายแพทย์​จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระบุ สถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกเป็นการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งเป็นการแพร่ระบาดที่เร็ว แต่ความรุนแรงของโรคยังน้อยอยู่ เช่นเดียวกับไทยที่เป็นช่วงขาขึ้นของการระบาดสายพันธุ์โอมิครอน สอดคล้องกับการแพร่ระบาดในหลายประเทศ เช่นกันที่ต้องเฝ้าระวังผู้ป่วยมีอาการหนักที่อาจจะนำไปสู่การเสียชีวิตให้มากขึ้น เช่น ในกลุ่มผู้ป่วยภาวะปอดอักเสบ ที่ตอนนี้มีอยู่ 905 ราย/วันนี้เพิ่มขึ้น 23 ราย /และที่ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 240 ราย วันนี้เพิ่ม​ 11 ราย ที่ในช่วง 2 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 2 เท่า ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตก็เพิ่มขึ้น​

แม้​ผู้ติดเชื้อในประเทศส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือ อาการน้อยจำนวนมากก็ตาม / โดยอัตราผู้ติดเชื้อโควิด-19 เฉลี่ย 14 วันที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 70 โดยมีผู้ป่วยโควิด-19 ที่ทำการรักษาอยู่ 180,993 ราย //แบ่งเป็นใน Home Isolation(Hl)​ /Community Isolation(CI)​และโรงพยาบาลสนาม 107,223 ราย และรักษาในโรงพยาบาลในส่วนที่มีอาการน้อย 72,865 ราย และ เมื่อเทียบกับช่วงการระบาด เดลต้า การเสียชีวิตถือว่าน้อย ห่างกัน10 เท่า

ข่าวที่น่าสนใจ

แต่หากในส่วนอัตราการติดเชื้อทั่วไปใกล้เคียงกับช่วงเดลต้าส่วนการตรวจเชื้อโควิด​ นายแพทย์​จักรรัฐ​ ยังยืนยันว่า​หากตรวจด้วยชุดตรวจ ATK และพบผลบวก การที่จะตรวจ RT-PCR แล้วผลบวกมีความเป็นไปได้สูง จึงไม่จำเป็นที่จะต้องตรวจซ้ำ//ส่วนกรณีที่ต้องตรวจซ้ำ จะเป็นในกลุ่มที่มีอาการหนักและจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งจะเป็นเฉพาะบางกรณี บางรายเท่านั้น

ด้าน​ นายแพทย์​โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุถึง การติดเชื้อขณะนี้เกิดขึ้นในกลุ่มวัยทำงาน กลุ่มที่ไปสถานที่เสี่ยง และนำมาแพร่เชื้อในชุมชนในครอบครัว ขณะที่ในวัยเด็กอัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตอนระบาดสายพันธุ์เดลต้า โดยในช่วงนี้ กลุ่มผู้สูงอายุมีอัตราการติดเชื้อที่ต่ำกว่าในกลุ่มวัยอื่นๆ แต่ถือว่ามีความเสี่ยงสูงอาการหนัก และเสียชีวิตได้ หากรับเชื้อโควิด-19 แต่แนวโน้มผู้สูงอายุเมื่อป่วยรุนแรงจากโควิด-19 มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ถึง​ 666 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี คิดเป็นร้อยละ 82 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งในจำนวนนี้พบว่าร้อยละ 58 ไม่มีประวัติการฉีดวัคซีนร้อยละ 30 มีประวัติกับวัคซีนครบ 2 เข็มร้อยละ 10 มีประวัติกับวัคซีน 1 เข็มและร้อยละ 2 มีประวัติรับวัคซีน 3 เข็มขึ้นไป จึงทำให้ต้องเร่งรัดการฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีนและฉีดเข็มกระตุ้นขณะที่ข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด-19 จนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีผู้รับวัคซีนเข็มที่ 1 ไปแล้วร้อยละ 76.6 / เข็มที่ 2 ร้อยละ 71.3 / และเข็มที่ 3 ขึ้นไปร้อยละ 28.2

ขณะที่นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ได้เปิดเผยถึง สถานการณ์เตียงทั่วประเทศ ตอนนี้ ครองเตียงไปแล้วร้อยละ52 จากเตียงทั้งหมด1แสน8หมื่นเตียง / โดยเหลือเตียงรองรับร้อยละ40 /ซึ่งเตียงที่นอนในโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสีเขียว/ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ยังคงมีเตียงรองรับ​ /สำหรับ สถานการณ์ เตียงเพิ่มเติม เช่น ที่ โรงพยาบาลสนาม ของโรงพยาบาลเลิดสิน มี 200 เตียงตามเดิมรองรับกลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดง แต่ตอนนี้ยังคงมีเตียงว่างอยู่จึงนำมาให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวบางส่วน ยืนยันไม่ต้องใช้ผล RT-PCR ก็สามารถเข้าสู่ระบบการรักษาได้​ผ่านการโทรช่องทางหลัก​ 1330 สปสช.​ และได้แก้ปัญหารองรับช่วยเหลือผู้ติดเชื้อที่พุ่งสูงขึ้นหลังจากก่อนหน้ามีสายโทรเข้าพุ่งกว่า5หมื่นสายต่อวัน​

โดยการเพิ่มบุคลากรที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนและประชาชน​ กรอกข้อมูลผ่านเว็พไซต์​ สปสช.​  หรือติดต่อผ่านเบอร์คอลเซ็นเตอร์​ประจำจังหวัดโดยเฉพาะทุกเขตของกทม.​ ที่ทำงาน​ 24​ ชม.​ ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่ยังคงเป็นผู้ป่วยสีเขียวและหากมีการประเมินว่าอาการรุนแรงจะส่งต่อเข้าสู่ระบบการรักษาในโรงพยาบาลตามขั้นตอนทั้งนี้หากเป็นคนไข้ที่มีอาการรุนแรงและเร่งด่วนขอให้โทรไปที่​ สายด่วน1669 สถาบันการแพทย์​ฉุกเฉิน​แห่งชาติ​แทน

ส่วนสถานการณ์​ตอนนี้จำเป็นหรือไม่ในการเปิดศูนย์พักคอยฯ หรือCI เพิ่มในกทม.นั้น​ นายแพทย์ณัฐพงศ์​ระบุว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่ ไม่นิยมเข้ารับการรักษาใน​ระบบ CI จึงยังไม่ได้มีการเปิดเต็มรูปแบบ แต่หากผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับร้อยละ70 -​ 80 อาจจะมีการพิจารณาเปิดในส่วนนี้เพิ่มเติม ทั้งนี้หากเป็นผู้ป่วยติดเชื้อโควิด ที่ไม่มีอาการเลย ไม่จำเป็นต้องได้ยาฟาวิพิราเวียร์ แต่หากมีอาการอื่นๆก็จะต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ในการจ่ายยา ซึ่งจะเน้นการจ่ายยารักษาตามอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อาหารไทยดังไม่หยุด "ต่างชาติ" ยกขบวนบินลัดฟ้า เรียนทำอาหารไทย เมนูดัง "ผัดไทย-ต้มยำกุ้ง"
ญาติปล่อยโฮ ยืนยันอัตลักษณ์ศพ "โกหมาส" รอผลตรวจดีเอ็นเอ ก่อนรับร่างกลับบ้านเกิดประกอบพิธีทางศาสนา
"งูประหลาด" 2 หัว ปากกัด-หางต่อย? ตำนานเล่าขานจนแทบสูญพันธุ์
ระทึก เรือสปีดโบ๊ทรับส่งพนักงานล่มระหว่างทาง โชคดีไม่มีผู้เสียชีวิต
"หนุ่มคลั่ง" ซิ่งเก๋งชนรถตร.ทางหลวง พังยับ สุดท้ายไม่รอด โดนรวบทันควัน
"รถไฟฟ้าสีเหลือง" ขออภัยระบบรางนำไฟฟ้าขัดข้อง คมนาคมสั่งหยุดชั่วคราวเร่งสอบแก้ปัญหา
จีน ตากล้องจับภาพ 'ราชาแห่งภูเขาหิมะ' ระยะประชิด
"พระเลขาฯ" วัดเที่ยงพิมลมุข โต้กลับ “ทนายตั้ม” ยัน "บิ๊กตร." ไม่เคยโอนเงินให้วัด
"อัษฎางค์" ซัด UN สองมาตรฐาน หยุดสร้างความเหลื่อมล้ำ หลังจี้ยุติดำเนินคดี112 "อานนท์ นำภา"
ออสเตรเลีย ประกาศเคอร์ฟิวเมืองท่องเที่ยวหลังวัยรุ่นตีกัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น