โรงไฟฟ้าขยะ จ่อเอาผิด หน่วยงานในกระทรวงพลังงาน เหตุลดอัตรารับซื้อไฟฟ้าสร้างความเสียหาย

จับตาโรงไฟฟ้าขยะพลิกข้อกฎหมาย จ่อเอาผิดหน่วยงานในกระทรวงพลังงาน เหตุดองโครงการ-ลดอัตรารับซื้อไฟฟ้า โดยไม่ฟังความคิดเห็นภาคเอกชน-มหาดไทย พร้อมหยิบคดีบีทีเอสฟ้องชนะหน่วยงานรัฐเทียบเคียง

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขยะชุมชน ว่าล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน โยนเรื่องให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ศึกษาและกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าใหม่อีกครั้ง และนำเรื่องเข้าคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)อนุมัติ คาดว่าต้องใช้เวลาอีกนับเดือนโดยอย่างช้าไม่เกินไตรมาส2 ของปี 2565

ในด้านของเอกชนมีความเห็นว่า โครงการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อแปลงเป็นพลังงานจำนวนทั้งสิ้น 23โครงการนั้น ล้วนดำเนินการผ่านคณะกรรมการกลางจัดการสิ่งปฎิกูลและมูลฝอยซึ่งมีผู้แทนระดับผู้บริหารจากกระทรวงที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม รวมทั้งผู้แทนจากกระทรวงพลังงานและได้ผ่านการประมูลคัดเลือกเอกชนผู้เข้าร่วมโครงการภายใต้พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองแล้วโดยได้ใช้ข้อมูลรายละเอียดและหลักเกณท์ที่เกี่ยวกับอัตรารับซื้อตามมติ กพช.เมื่อปี2560ในการยื่นข้อเสนอโครงการทั้งสิ้น ดังนั้นโดยหลักเกณท์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีจึงย่อมถือได้ว่าหลักเกณท์ที่บังคับใช้ในขณะการประมูลโครงการย่อมเป็นข้อผูกพันของรัฐ หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆจึงต้องรับฟังความคิดเห็นและได้รับความยินยอมจากทั้งจากกระทรวงมหาดไทยและเอกชนผู้ชนะการประมูลอันเป็นผู้มีส่วนได้เสียก่อน และเป็นไปตามหลักการในกระบวนการยุติธรรมดังแนวคำพิพากษาของศาลปกครองกลางคดีรถไฟฟ้าบีทีเอส

การเปลี่ยนแปลงนโยบายรับซื้อไฟฟ้าหากทำให้อัตรารับซื้อโครงการไฟฟ้าจากขยะมูลฝอยลดต่ำกว่าอัตราที่ประกาศกำหนดตามมติกพช.ปี2560ย่อมทำให้รายได้อันพึงได้ของเอกชนลดต่ำลงจนส่งผลกระทบถึงการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นอกจากนี้การดำเนินการล่าช้าเนื่องจากการกลับไปกลับมาของนโยบายของกระทรวงพลังงานยังสร้างภาระต่อต้นทุนในการดำเนินโครงการโรงฟ้าสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงกระทบต่อแผนงานการจัดการขยะมูลฝอยและการบริหารจัดการงบประมาณเกี่ยวกับขยะในองค์รวมของประเทศให้ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างขึ้นและส่งผลต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ

ดังนั้นภาคเอกชนจึงเตรียมศึกษาข้อกฎหมายว่าการปฎิบัติราชการโดยล่าช้า รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงหลักเกณท์กติกาเกี่ยวกับอัตรารับซื้อไฟฟ้าที่ได้มีประกาศเป็นการทั่วไปจนมีเอกชนได้รับการคัดเลือกและมีการลงนามในสัญญากับกระทรวงมหาดไทยแล้ว โดยไม่รับฟังความเห็นของภาคเอกชน และกระทรวงมหาดไทย จนสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางจะเข้าข่ายเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และการกระทำละเมิดต่อเอกชนหรือไม่

 

โดยนำคำพิพากษาของศาลปกครองกลางกรณีบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส มาเปรียบเทียบ เพราะมีความคล้ายคลึงกัน โดยคดีนี้บีทีเอสชนะคดียื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนพ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นจำเลยที่1 และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นจำเลยที่ 2 เนื่องจากเรื่องนี้มีการแก้ไขหัวข้อการประเมินข้อเสนอด้านเทคนิค และการเงิน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการคัดเลือกเอกชน โดยไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการ ซึ่งศาลปกครองกลางมีคำนิจฉัยเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2565 พิพากษาว่ากรณีดังกล่าว เป็นคำสั่งทางปกครองทั่วไปที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อภาคเอกชน และให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“ศุภมาส” นำอว. ร่วมสตม. คุมเข้มมหาวิทยาลัยรับนักศึกษาต่างชาติ เตรียมมาตรการสแกนหลักสูตร Non-Degree สุ่มตรวจไม่ปล่อยเกิดปัญหา
หนุ่มตกงานขับรถพุ่งชนนักเรียนประถมที่ญี่ปุ่น
ไรอันแอร์จะซื้อเครื่องบินจีนถ้าภาษีทรัมป์ดันโบอิ้งแพงขึ้น
"ดร.หนุ่ม" วัย 38 ปี ร้องถูกแก๊งคอลฯ บังคับคุยโทรศัพท์ 7 วัน 7 คืน สูญเงิน 8.5 ล้าน
"รัฐบาล" ย้ำอย่าตื่นตระหนก 2 พ.ค 68 ทดสอบส่งข้อความแจ้งเตือนภัย 5 พื้นที่
“ทนายทักษิณ” มั่นใจชี้แจงได้ หลังศาลตั้งองค์ไต่สวนปมชั้น 14 ยํ้ายึดหลักข้อเท็จจริง
“ภูมิธรรม” เผยผลหารือ GBC ไทย-กัมพูชา เลี่ยงปะทะปมปราสาทตาเมือนธม ให้กำลัง 2 ฝ่ายถอยกลับจุดเดิม หาข้อตกลงร่วมกัน
ระทึกจริง "อดีตสว.สมชาย" กาง ป.วิอาญา 246 ชี้ชัดอำนาจศาล วินิจฉัยเหตุ สั่งทุเลาจำคุก "ราชทัณฑ์" ให้ "ทักษิณ" นอนชั้น 14 เสี่ยงทำผิด
สธ.สั่งเด้งทันที "ผอ.รพ." เมาแล้วขับชน 2 ช่างภาพ เจ็บสาหัส ยันพร้อมดูแลให้ความเป็นธรรมเต็มที่
สหรัฐขอเจรจาภาษีกับจีนแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น