“นายกฯตู่” มุ่งพัฒนา การศึกษาไทยต่อเนื่อง

นายกฯ ให้ความสำคัญการศึกษา ไทย เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก วางรากฐานเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

วันที่ 5 ก.พ.65.-นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาเพื่อทรัพยากรมนุษย์มาโดยตลอด เป็นหนึ่งในปัจจัยที่นารัฐมนตรีมุ่งมั่น ตั้งใจให้เห็นภาพความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้วางแนวทางด้านการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตลอดการทำงาน

นายกรัฐมนตรีเน้นการพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อสร้างคนในชาติ ก้าวทันความเปลี่ยนแปลง และพลวัตของโลก ซึ่งในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ได้เห็นชอบโครงการนำร่องของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่ได้พัฒนาหลักสูตรการศึกษารูปแบบใหม่ “Higher Education Sandbox” ตอบสนองแนวทางการศึกษาในอนาคตที่ยืดหยุ่นและคล่องตัว มุ่งให้เกิดประสิทธิภาพการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ ให้ความสำคัญทั้งกับหลักการ และประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริง รวมทั้ง เป็นการศึกษาที่มุ่งการสร้างอาชีพ เป็นการผลิต “กำลังคนขั้นสูง” ตอบโจทย์ความต้องการ ด้านเศรษฐกิจและสังคมยุคใหม่มากขึ้น ถือเป็นก้าวสำคัญของ “การปฏิรูปการศึกษา” ในระดับมหาวิทยาลัย สร้างทรัพยากรมนุษย์มารองรับการขับเคลื่อนประเทศชาติ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ในระดับ “การศึกษาขั้นพื้นฐาน” รัฐบาลได้ผลักดัน พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 ขับเคลื่อนการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทในแต่ละท้องถิ่น ทั้งอาชีพและความต้องการแรงงาน กำหนด “โรงเรียนนำร่อง” และสร้าง “เครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง” เน้นการส่งเสริมความถนัดของผู้เรียน สนับสนุนการมีส่วนร่วมของ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

นายธนกรฯ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ที่มุ่งมั่นตั้งใจทำงานโดยในการทำงานนั้น จะวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ และเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานบูรณาการการทำงานร่วมกัน ในส่วนของการพัฒนาบุคลากรมนุษย์ นายกรัฐมนตรีได้วางแนวทางให้ กระทรวงศึกษาธิการ และการทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็น “ต้นทาง” ฝ่ายผลิตกำลังคน มีกลางทาง และปลายทาง คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงแรงงาน เป็นต้น มองความต้องการทั้งในประเทศ ตามการผลักดันนโยบายของรัฐบาล ได้แก่ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โมเดล BCG ครอบคลุมอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมทั้งสร้างโอกาสใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งนายกรัฐมนตรีเชื่อว่า รัฐบาลต้องดำเนินการทุกมิติพร้อมๆ กัน ทั้งโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (Hardware) กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ พันธสัญญาต่างๆ กับประชาคมโลก (Software) และการเตรียมกำลังคนด้วยการปฏิรูปการศึกษา (Peopleware)

“เชื่อมั่นว่า การทำงานของนายกรัฐมนตรีซึ่งให้ความสำคัญตลอดมากับอนาคตของลูกหลานไทย ไม่เคยทิ้งใครไว้ข้างหลัง และตั้งใจพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบ ครอบคลุม กำหนดกรอบการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน บูรณาการทุกส่วนงาน และควบคุมในเชิงนโยบายอย่างรอบคอบ สุจริต โปร่งใส จะทำให้ระบบการศึกษาไทย เท่าทันการพัฒนาของโลก เด็กไทยจะมีอนาคตที่ดี มีอาชีพ มีรายได้ที่เป็นไปตามภาวะตลาดโลก และเป็นบุคลากรโลก ที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดแรงงานโลก ”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“ดีเจแมน” เดินสวน “ฟิล์ม รัฐภูมิ” เจอหน้าครั้งแรก เข้าไกล่เกลี่ย ปมหมิ่นประมาทเรียกเงิน 14 ล้าน
“ปานเทพ” แจงยอดเงินบริจาค “คณะรวมพลังแผ่นดินฯ” 30 ล้าน หักค่าใช้จ่ายชุมนุม 2 ล้าน ประสานทหารแล้ว มอบเตรียมมอบกองทัพภาค 1- ภาค 2
พบแล้วร่าง "ร.ต.ท.เริงศักดิ์ ขวกเขียว" ที่แม่น้ำเลย หลังจมหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่จับคนร้าย
"แอ๊ด-หงา-ปู" ประกาศจุดยืน ปล่อยเพลงต้านนโยบายกาสิโนเพื่อไทย
"หมอตุลย์" เดินหน้ายื่นปธ.วุฒิฯ ส่งคำร้องศาลรธน.วินิจฉัย "อุ๊งอิ๊ง" พ้นรมว.วัฒนธรรม พร้อมหยุดปฏิบัติหน้าที่
"นิพิฏฐ์" เตือน "แพทองธาร" เสี่ยงมาก เลี่ยงย้ายทำหน้าที่รมว.วัฒนธรรม ชี้คำร้องเรื่องคุณสมบัติ เป็นไปตามรธน.มาตรา 160
"อุตุฯ" เตือน 45 จังหวัด รับมือฝนฟ้าคะนอง กทม.ไม่รอด ร้อยละ 70 ของพื้นที่
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) วนอุทยาน 'ไซห่านป้า' ผืนป่าฝีมือมนุษย์ใหญ่สุดในโลก
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) เซี่ยงไฮ้ต้อนรับ 'นักท่องเที่ยวต่างชาติ'พุ่งสูง คนไทยติดอันดับ
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) มวยไทย-ระบำเอ็งกอ ผูกโยงวัฒนธรรมไทย-จีน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น