No data was found

“เอนก” รมว.อว.ชู มรภ.อุดรฯ ตัวอย่างพัฒนาผ้าและสิ่งทอเชิงสร้างสรรค์

กดติดตาม TOP NEWS

“เอนก” รมว.อว.ชู มรภ.อุดรตัวอย่างพัฒนาผ้า และสิ่งทอเชิงสร้างสรรค์ เผยไวรัสโควิด-19 ที่กระทบการศึกษา มันเหมือนกับเด็กเรียนหนังสือช่วงสงคราม

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องประชุม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และผู้บริหารกระทรวง ลงพื้นที่ จ.อุดรธานี ตรวจติดตามผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยมี นายนิติพัฒน์ ลีลาเลิศแล้ว รองผวจ.อุดรธานี ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล รักษาราชการแทน อธิการบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา ร่วมให้การต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงาน

โอกาสนี้ ได้เยี่ยมชมความก้าวหน้าของศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี หรือ FTCDC : Fabric and Textile Creative Design Center โดยมี ผศ.ดร.ธีระยุทธ์ เพ็งชัย รองอธิการบดี ในนามประธานศูนย์ FTCDC เป็นผู้บรรยายสรุป สำหรับแบบผ้าไทย Circular design ซึ่งออกแบบตัดเย็บ โดยศูนย์ฯ ในปีงบประมาณ 2564 ได้ดำเนินกิจกรรมในการพัฒนาเพื่อยกระดับผ้าทอชุมชนสู่สากล อาทิ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ผ้าทอ “พิพิธภัณฑ์ผ้าทออีสาน” และการถอดรูปแบบลวดลายขิดดั้งเดิมจากม้วนผ้าขิดที่ยาวที่สุดในโลก 600 ลาย , พัฒนาแหล่งเรียนรู้ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติดอกดาวเรืองคำชะโนด, ส่งเสริมปลูกฝ้ายสี ,พัฒนานวัตกรรมมาตรฐานสีย้อมผ้าธรรมชาติจากดอกบัวแดง ดอกจาน , การพัฒนาการผลิตเนื้อคราม จากครามพื้นเมืองจังหวัดอุดรธานี , และการออกแบบพัฒนาลวดลายผ้าขิดดั้งเดิมเพื่อเพิ่มมูลค่าผ้าขิดอุดรธานี เป็นต้น

จากนั้น รมว.อว.และคณะ ได้เยี่ยมชมบูทนิทรรศการผลการดำเนินงานโครงการของมหาวิทยาลัยฯ อาทิ นิทรรศการ “การผลิตอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำ” ภายใต้โครงการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล : U2T ซึ่งในปี 2564 ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำ และร่วมพัฒนารูปแบบการเลี้ยงและบริหารจัดการด้านอาหารสำหรับโคเนื้อ และไก่ไข่ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ตำบลแสงสว่าง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ทำให้เกษตรกรมีเงินเหลือเก็บมากยิ่งขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยใช้ทรัพยากรท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า อุดรธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีมรดกทางผ้า ผ้าขิด ผ้ามัดหมี่ เพราะอุดรฯ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูงมากตั้งแต่โบราณกาล ซึ่งเมื่อก่อนไม่รู้ว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมจะเอาไปทำอะไร แต่ตอนนี้รู้แล้วว่านำมาทำเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ อีกอย่างได้พบความร่วมมืออย่างดีจากทางจังหวัดและมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี การพัฒนาจากนี้ไป นอกจากรัฐร่วมมือกับเอกชนที่เราคุ้นเคยมา 40-50 ปีแล้ว ต่อไปเราจะคุ้นเคยการร่วมมือระหว่างรัฐกับมหาวิทยาลัย

รัฐในที่นี้หมายถึง องค์กรส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น ต้องร่วมมือกับมหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษา เพราะว่าการพัฒนาต่อจากนี้ไป ต้องพัฒนา 2 เรื่องหลักคือ เศรษฐกิจเชิงวิทยาศาสตร์ กับเทคโนโลยี เพราะว่ามูลค่าเพิ่มสูง 2 เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่สร้างมาจากศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี อารยะ สุนทรียะ ขอประชาชนเราเอง คิดว่าอุดรธานีเป็นตัวอย่างจะต้องทำเป็นแบบอย่างให้จังหวัดอื่นๆ ซึ่งมาเห็นที่อุดรธานีแล้ว ก็จะได้พูดให้ประชาชนเข้าใจว่า เรามีมหาวิทยาลัยไว้ทำไม ไม่ใช่มีไว้สอนเท่านั้น ไม่ใช่มีไว้วิจัยเท่านั้น แต่เอาความรู้ นวัตกรรม ศิลปะ วิทยาการ มาพัฒนาท้องถิ่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ตอบข้อซักถาม ในส่วนเรื่องการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระทบต่อการศึกษาจะแก้ไขอย่างไรนั้น บอกว่า มันเหมือนกับเด็กเรียนหนังสือช่วงสงคราม ในอดีต ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เด็กจำนวนหนึ่งเรียนไปหลบลูกระเบิดไป หรือเรียนอยู่กรุงเทพฯ ต้องย้ายไปเรียนที่ศรีราชา จันทบุรี เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องปรับตัว เราตะหนักว่าบางเรื่องต้องซ่อม ต้องเสริม แต่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่มีเรื่องดีด้วย สำหรับเด็กที่อยู่ในยุคโควิด ปรับตัวอยู่กับเทคโนโลยีได้เร็วเหลือเกิน ก่อนเกิดโควิด เราคาดการณ์ว่าอีก 5 ปี ชาวไทยถึงจะตามทันเทคโนโลยี สื่อสังคมทัน แต่ปรากฏว่าโควิดมาทีเดียว เราทันเลย ก็เป็นมุมมองที่อยากให้ได้มองเห็นว่า โควิดไม่ได้มีอะไรร้ายแรงกับเราจนรับไม่ได้

ส่วนเรื่องที่เป็นปัญหา คนตกงาน ทำให้ธุรกิจล้มละลาย มันเป็นเรื่องจริง ในขณะเดียวกันเราก็ปรับตัวได้ดีมาก เราเอาตัวรอดมาได้หลายระรอกแล้ว ส่วนโอมิครอนก็ไม่ได้ติดเชื้อกันเป็นหมื่นเป็นแสน เหมือนที่บางคนคาดคะเนเอาไว้ ทั้งประเทศประมาณ 8000 คน คนเสียชีวิตก็ไม่ได้มาก เหมือนที่วาดภาพเอาไว้ว่า มหากลียุคมาแล้ว เราก็จัดการปัญหาได้ ทุกจังหวัดเป็นหน่วยงานรัฐเป็นองค์กรรัฐที่สำคัญที่ทำให้เกิดความมั่นคงและสงบ มหาวิทยาลัยก็เกิดภูมิใจที่ได้ช่วยจังหวัด มันตอบคำถามได้ว่า ทำไมมหาวิทยาลัยราชภัฎถึงมีตึกเยอะ มีสถานทีเยอะ มีหอประชุมใหญ่ หลายที่ นอกจากงานปกติแล้ว ในยามคับขันเป็นแหล่งที่พึ่งสุดท้าย ที่จังหวัดและประชาชนสามารถมาขอความช่วยเหลือได้ และมหาวิทยาลัยได้แสดงจิตใจร่วมเป็นร่วมตายสมกับตั้งอยู่ในจังหวัด

ส่วนการเรียนระบบออนไลน์ จะมีผลกระทบทำให้นักศึกษาลดลงนั้น ไม่ต้องไปกังวล มหาวิทยาลัยก็ต้องปรับตัวไปตามสภาพอาจจะมีคนมาเรียนน้อยลง ไม่ต้องตกใจว่าเราจะหมดงาน เพราะสังคมยังต้องการการศึกษาที่สั้นลง เรียนจบแล้วมีงานทำ มีอาชีพดีๆ เราก็เปิดหลักสูตรไม่มีปริญญาบัตร( Non degree) ซึ่งเราได้ทำ MOU กับหลายสถาบัน ที่จะหลักสูตร Non degree อาจจะเรียนแค่ 3 เดือน 6 เดือน ก็จะปรับตัวได้ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจ เพราะเราคิดเรื่องพวกนี้มาตลอด และปรับตัวมาตลอด ซึ่งเมื่อคืนได้ดูการออกแบบ การเดินแบบ ถ้าฝึก 3-6 เดือนก็สามารถออกไปเป็นอาชีพนางแบบได้ ซึ่งสามารถเอาไปสอนเป็นหลักสูตรระยะสั้นได้.

ภาพ/ข่าว กฤษดา จันทร์ดวง ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.อุดรธานี

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี และ ศรีราชา ให้การต้อนรับ มิสเตอร์ เจสัน รองกรรมการโรงพยาบาลสมัยใหม่ กวางโจ สาธารณประชาชนจีน นายชนะพล คลังรุ่งเรือง นายกสมาคมการค้า ไทย-เหลียวหนิง พร้อมทั้งโชว์ศักยภาพการให้บริการโรงพยาบาลในเครือ "สมิติเวช"
"ทนายเดชา" ฟันธงหลักฐานมัด "บิ๊กโจ๊ก" เตรียมต่อสู้ในชั้นศาล หักล้างความผิด
"จั๊กกะบุ๋ม" จุดธูปสาบานกลางรายการ ตอบชัดๆ "เป็ด เชิญยิ้ม" โทรหา "แม่ปูนา" หรือไม่
“อุ๊งอิ๊ง” แจงปมร้อน บินฮ่องกง มีหลายบทบาท ลั่นพร้อมรับฟังทุกดราม่า
วันไหลแห่เจ้าพ่อพระปรง หรือ วันไหล สงกรานต์ สระแก้ว อย่างยิ่งใหญ่
สื่อยิวเผยอิสราเอลยิงขีปนาวุธพิสัยไกลเข้าอิหร่านไม่ใช่โดรน
"ธีรยุทธ" ร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นศาลรธน.วินิจฉัยพรป.เลือกสว.เอื้อระบบฮั้วขัดกม.
"ก้าวไกล" หัวร้อนหนัก แจงโต้ "ชัยวัฒน์" กล่าวหาฝ่ายค้านเอี่ยวเผาป่าหวังผลการเมือง
“เสรีพิศุทธ์” ตอบทุกคำถาม หลังถูกมองเข้าข้าง “บิ๊กโจ๊ก” มีความเป็นกลางหรือไม่ในการวิเคราะห์
นานาชาติเรียกร้องอิหร่าน-อิสราเอลยุติการตอบโต้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น