No data was found

ม.ขอนแก่น ค้นพบบึ้งสกุลใหม่ของโลก ที่ จ.ตาก พร้อมตั้งชื่อ “บึ้งปล้องพระเจ้าตากสิน”

กดติดตาม TOP NEWS

ม.ขอนแก่น ค้นพบบึ้งสกุลใหม่ของโลก ที่ จ.ตาก พร้อมตั้งชื่อ “บึ้งปล้องพระเจ้าตากสิน” หลังพบบนพื้นที่ภูเขาสูงกว่า 1,000 เมตร อาศัยอยู่ในป่าไผ่ วอนประชาชนช่วยกันรักษาผืนป่าหวั่นบึ้งสูญพันธ์ ขณะที่ “นรินทร์”เผยเป็นการค้นพบบึ้งสายพันธุ์ใหม่ในรอบ 104 ปี ของทวีปเอเชีย

วันที่ 2 ก.พ. 2565  ที่อาคาร 5101 คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ ดรุณี โชดิษฐยางกูล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ ปรเมศ บรรเทิง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและการต่างประเทศ แถลงข่าวการค้นพบบึ้งต้นไม้สกุลใหม่ของโลก Taksinus bambus หรือ บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน ซึ่งเป็นการค้นพบบึ้งสกุลใหม่ของเอเชียในรอบ 104 ปี และยังเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการค้นพบบึ้งสกุลใหม่จากประเทศไทยโดยถูกค้นพบเป็นครั้งแรกที่จังหวัดตาก และได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

โดยลักษณะนิเวศวิทยาของบึ้งชนิดนี้มีความพิเศษ เนื่องจากเป็นบึ้งชนิดแรกในโลกที่มีการดำรงชีวิตอยู่เฉพาะบนต้นไผ่เท่านั้น สร้างความน่าประหลาดใจแก่วงการวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีบึ้งต้นไม้อยู่เพียง 4 สกุลคือ Omothymus, Lampropelma, Phormingochilus และ Melognathus กระจายตัวอยู่ในแถบมาเลเซีย สิงคโปร์ สุมาตรา บอเนียว อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยบึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน ถูกค้นพบห่างไกลออกไปในทางพื้นที่ภูมิศาสตร์ทั้งหมดที่เคยถูกค้นพบมาก่อนหน้านี้ โดยค้นพบในป่าไผ่บนภูเขาสูงกว่า 1,000 เมตร ในพื้นที่จังหวัดตาก บึ้งเป็นสัตว์ไม่สามารถเจาะรูไม้ไผ่ได้เอง จากการศึกษาสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากสัตว์ฟันแทะเจาะเข้ามาใช้ประโยชน์ในการหาอาหารจากไผ่เพื่อกินหนอนที่อยู่ภายใน รวมถึงอาจเกิดจากสัตว์อื่น ๆ เช่น แมลงที่เจาะเข้าไป หรือเกิดกจากการปริแตกตามธรรมชาติของต้นไผ่ รวมจากการกระทำของคน บึ้งชนิดนี้จะอาศัยอยู่ภายในปล้องไผ่โดยสร้างใยปกคลุมล้อมรอบภายในปล้อง และมักออกมาหาอาหารซึ่งจะเป็นสัตว์ขนาดเล็กหรือแมลงในช่วงกลางคืน

ลักษณะสำคัญในการจำแนกบึ้งสกุล Taksinus มีลักษณะแตกต่างจากบึ้งต้นไม้ในสกุลอื่น ๆ คือลักษณะของอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ที่สั้นและความชันของส่วนปลายน้อยกว่าบึ้งต้นไม้ในสกุลอื่นที่พบทั้งหมด รวมทั้งบึ้งสกุลนี้ยังมีขนาดเล็กกว่าบึ้งต้นไม้ในสกุลอื่น ๆ ด้วย แต่ปัจจุบันพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยเหลืออยู่เพียง 31 เปิร์เซ็นต์ หากในอนาคตพื้นที่ป่าลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน ก็เป็นหนึ่งในสัตว์ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ อันเนื่องมาจากลักษณะการดำรงชีวิตที่ผูกติดกับป่าไผ่ และสามารถพบได้บนพื้นที่บนภูเขาสูงทางภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น.

 

ภาพ/ข่าว นิติกรณ์ ฝางมาลา ผู้สื่อข่าวภูมิภาค  จ.ขอนแก่น

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ยายวัย 82 โชคดีหวิดดับ หลังมายืนรดน้ำต้นไม้
ผู้กำกับพัทยาจัดพิธีบวงสรวง เสด็จเตี่ย เนื่องในวันอาภากร
สพป.ขอนแก่น สั่งเด้ง "ผอ." ซื้อบริการเด็ก 12 ปี ตั้งคกก.สอบ เข้าข่ายผิดวินิยร้ายแรง
"โฆษกศธ." ย้ำนโยบายลดภาระเปิดเทอม ผ่อนผัน ยกเว้นแต่งชุดนร.ไม่ใช่ยกเลิก
"ทนายด่าง" เตรียมนำทีมครอบครัว ทวงถามรพ.ราชทัณฑ์ ขอเอกสารก่อน "บุ้ง" เสียชีวิต 5 วัน ยังคาใจใส่ท่อผิดจุด
เตรียมพิธีรับมอบ "Golden Boy–สตรีพนมมือ" หวนคืนแผ่นดินไทย 21 พ.ค.นี้
"นักโบราณคดี" ยืนยัน "โกลเด้นบอย" ถูกค้นพบที่ จ.บุรีรัมย์ ถือเป็นหลักฐานใหม่ พลิกหน้าประวัติศาสตร์
คลิปนี้ชัดมาก “แม่น้องไนซ์” พูดเต็มปากเต็มคำ เชื่อมจิตมีในพระไตรปิฎก โซเชียลจับตาส่อผิด พ.ร.บ.คอมพ์
ครอบครัว-เพื่อนสนิท เคลื่อนศพ “บุ้ง ทะลุวัง” วนรอบเมรุ กล่าวคำอาลัยก่อนทำพิธีฌาปนกิจ
"มูลนิธิยังมีเรา" ร่วม "มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์-ไทยสมายล์ กรุ๊ป" มอบทุนการศึกษา "เยาวชน สมุทรสงคราม" สานฝันโอกาสเด็กยากไร้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น