ชาวสวนยางพาราเดือดร้อนหนัก ประสบปัญหาโรคในใบยางพาราชนิดใหม่

ชาวสวนยางพาราเดือดร้อนหนัก ประสบปัญหาโรคในใบยางพาราชนิดใหม่

วันที่ 25 ม.ค. 2565 นางแพรวพรรณ ทองพิทักษ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชํานาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอ ย่านตาขาว ลงพื้นที่รับรู้การแพร่ระบาด และแนวทางการจัดการโรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี ณ สวนยางพาราใน ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ซึ่งโรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่ เกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis sp. หรือ Colletotrichum sp. ในอาการเริ่มแรก จะเกิดจุดช้ำบริเวณใต้ใบ และด้านบนของใบบริเวณเดียวกันจะเป็นสีเหลืองลักษณะกลม ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นสีคล้ำ ขอบแผลดำ และกลายเป็นเนื้อเยื่อแห้งสีน้ำตาลจนถึงขีดขาวซีด รูปร่างจุดแผลค่อนข้างกลม รอบแผลไม่มีสีเหลืองล้อมรอบ จำนวนมากกว่า 1 จุด อาจซ้อนกันเป็นแผลขนาดใหญ่ เมื่ออาการรุนแรงจะเกิดใบเหลืองและร่วง
ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อต้นยางพาราทำให้น้ำยางพาราลดปริมาณลง 30 % ระยะเวลาในการกรีดยางพาราลดลง หากเป็นแบบนี้หลายๆปีก็จะทำให้ต้นยางพาราไม่มีน้ำยาง หรือ(ต้นยางพาราตายนึ่ง) เพื่อเป็นการรักษาต้นยางพารา และควบคุมโรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่ เกษตรกรสามารถดำเนินการตามคำแนะนำของนักวิชาการเกษตร ดังนี้ 1)ควรมีแปลงเรียนรู้ ในการสำรวจแปลง สังเกตว่าปีที่3 ของการเกิดโรคอาการจะเริ่มรุนแรงขึ้น เชื้อราจะจับที่ขั้วใบสีเขียว แล้วจะร่วงหล่นในขณะที่ใบยังเขียว ใบทุกใบที่หล่นฝังในดินคือการสะสมของเชื้อโรคเมื่อลมพัด สปอร์ของเชื้อราจะแพร่ไปยังใบอื่น ใบที่เป็นโรคสังเกตจากใบเป็นจุดและโปร่งแสง 2)สร้างการรับรู้ ใช้ชีวภัณฑ์ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตราเชื้อสด 1 กิโลกรัม รำ4กิโลกรัม ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก 100กิโลกรัม ฉีด หรือหว่าน ทุก3เดือน 3)การกำหนดมาตรฐานการเกิดโรค ถ้าพบการเกิดโรคต้องมีการจัดการ เพราะเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายโดยลม 4)การบำรุงต้นโดย ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใส่โดโลไมท์ อัตราส่วน 400 กรัมต่อต้นต่อปี 5) กรีดยางพาราให้มีความสัมพันธ์กับจำนวนใบยางพารา เพื่อทำเป็นการบำรุงต้นยางพาราให้มีความแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ


ซึ่งอำเภอย่านตาขาวมีเกษตรกรปลูกยางพารา จำนวน 57,000 ไร่ ได้รับผลกระทบจากโรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่ไปแล้ว จำนวน 25,000 ไร่


ล่าสุดสำนักงานเกษตรอำเภอย่านตาขาว ได้ส่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่สร้างการรับรู้การแพร่ระบาดโรคใบร่างยางพาราชนิดใหม่ และขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) และได้ร่วมกันผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เพื่อนำไปใช้ในแปลงยางพารา โดยแนะนำวิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในอัตราส่วนดังนี้ ทางดิน โดยผสมเชื้อสด 1 กิโลกรัม : รำละเอียด 4 กิโลกรัม : ปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม โรยรอบโคนต้น ต้นละ 1 กิโลกรัม หรือผสมเชื้อสดกับรำละเอียดในอัตราส่วน 1 : 1 ทาบริเวณลำต้นที่เป็นโรค หรือใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำสะอาด 100-200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง

ถนอมศักดิ์  หนูนุ่ม / จ.ตรัง

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สวธ. จัดประกวด Cosplay World Thailand 2025 หนุนคนรุ่นใหม่ แสดงพลัง Soft Power ผ่านศิลปะไทยประยุกต์ ต่อยอดสู่อาชีพในอนาคต
หลายหน่วยงาน เข้าช่วยเหลือ เด็กออทิสติก หลังแม่ผูกคอหนีปัญหาหนี้สิน ก่อนฟื้นคืนชีพต่อหน้าเจ้าหน้าที่
ด่านผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน อ.คลองหาด จ.สระแก้ว เงียบเหงา คนกัมพูชาทำงานในไทยรอดูสถานการณ์หลังไทยผ่อนปรน
"กรมบังคับคดี" ร่วมงานมหกรรมการเงินหาดใหญ่ MONEY EXPO 2025 เดินหน้าจัดงานไกล่เกลี่ยหนี้ ช่วยประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเป็นธรรม
"นิพนธ์" สวนเดือดผู้บริหารปชป. ลั่นเลือดแท้รับได้มติพรรค แต่รับไม่ได้พวกใช้อำนาจสั่ง ขู่ไล่คน เพื่อบังคับยัดเยียด ยอมรับมติโจร
RBSO ร่วมกับ สวธ. จัดการแสดงคอนเสิร์ต Royal Concert “A Celebration of Thai Masters” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
"วิโรจน์" หยันสุด "พิชัย" บินเจรจาภาษีการค้าสหรัฐไร้ข้อสรุป หยันเหมือนมวยโดนจระเข้ฟาดหาง จะฟื้นตัวทันเดดไลน์หรือไม่
ปิดประตูตีมาร! หยุดอนุญาตธุรกิจรักษ์โลกจอมปลอม ปูพรม ฟาดรีไซเคิล EEC เถื่อน
ลือ ! เปิดชายแดนหาดเล็ก 7 หรือ 10 กรกฎาคมนี้
"เอกนัฏ" เอาจริง จัดการบริษัทลักลอบนำกากอุตสาหกรรมม ไปฝั่งใต้ดินในพื้นที่โซน EEC

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น