No data was found

1 ใน 21 ส.ส.ถูกขับพ้นพปชร. ร้อง “ลุงป้อม” ถูกยัดไส้ ก๊วนธรรมนัส!

กดติดตาม TOP NEWS

1 ใน 21 ส.ส.ถูกขับพ้นพปชร. ร้อง "ลุงป้อม" ถูกยัดไส้ ก๊วนธรรมนัส!

วันที่ 21 ม.ค. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่พรรคพลังประชารัฐ นายสมศักดิ์ พันธ์เกษม ส.ส.นครราชสีมา 1 ใน 21 ส.ส. ที่พรรคพปชร.มีมติขับออก ได้เข้ายื่นหนังสือถึง พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค และ ประธานคณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ เรื่อง ขอให้ทบทวนมติพรรคพลังประชารัฐ ให้สมาชิกออกจากการเป็นสมาชิกพรรค

โดยหนังสือดังกล่าว มีเนื้อหาดังนี้ตามที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคและที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรค พลังประชารัฐ มีมติที่อ้างถึงเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565 ให้สมาชิกพรรคพลังประชารัฐจำนวน 21 คน ออกจากการเป็นสมาชิกพรรคตามข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ ข้อ 54 (5) โดยข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อสมาชิกพรรค 21 คน นั้นด้วย

ทั้งนี้ ปรากฎจากการแถลงข่าวของนายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 ที่เผยแพร่ในสื่อมวลชนทั่วไปถึงสาเหตุการมีมติที่อ้างถึงของกรรมการบริหารพรรคและที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคว่าข้าพเจ้ากับ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเฝา เลขาธิการพรรค และพวกรวม 21 คน ได้ยื่นข้อเสนอให้มีการปรับโครงสร้างพรรคขนานใหญ่ ซึ่งหัวหน้าพรรคเห็นว่าเป็นการสร้างปัญหาและเกรงจะเกิดความขัดแย้งครั้งใหญ่ในพรรค หากดำเนินการตามข้อเสนอจะทำให้เกิดความเสียหายของพรรดทั้งระบบ

ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาหลักการแห่งพรรคพลังประชารัฐทั้งเรื่องเอกภาพ เสถียรภาพ และอุดมการณ์ของพรรค หัวหน้าพรรคจึงเรียกประชุมกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวนี้เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2585 ซึ่งที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคเห็นว่าไม่อาจรับข้อเสนอนั้นได้

แต่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนอแจ้งว่าหากคณะกรรมการบริหารพรรคไม่รับข้อเสนอแล้วจะมีปัญหาการบริหารพรรค และจะมีการเคลื่อนไหวต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความเสียหายกับพรรค ซึ่งจะเป็นเหตุร้ายแรงกระทบกับเสถียรภาพพรรคต่อไป กรรมการบริหารพรรคจึงเห็นว่าเป็นเหตุร้ายแรงตามข้บังคับพรรคพลังประชารัฐ ข้อ 54 (5) และมีมติให้ ร.อ. ธรรมนัสฯกับพวกรวม 21 คน รวมทั้งข้าพเจ้าด้วย ออกจากการเป็นสมาชิกพรรดพลังประชารัฐ ตาม ข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ ข้อ 54 (5) ความละเอียดแจ้งแล้วนั้น

มติพรรคพลังประชารัฐวันที่ 19 มกราคม 2565 ให้ข้าพเจ้าออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ตามข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ ช้อ 54 (4) ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นมติพรรคที่ไม่เป็นธรรมกับข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้าไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่ามีการกล่าวอ้างว่าข้าพเจ้าเกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมกับการกระทำของ ร.อ. ธรรมนัสฯ กับพวก

อีกทั้ง กรรมการบริหารพรรคมิได้สอบสวนหาข้อเท็จจริงและมิได้เปิดโอกาลให้ข้าพเจ้าได้ชี้แจงข้อเท็จจริงที่ถูกต้องก่อนการพิจารณาลงมติ และทำให้ข้าพเจ้าไม่มีโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริงต่อที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคในการประชุมวันที่ 19 มกราคม 2565 ด้วย ข้าพเจ้าจึงไม่ได้รับการความเป็นธรรมและไม่ได้รับการพิจารณาที่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐข้อ 54 (5) จึงขอให้ท่านโปรดดำเนินการให้แก้ไขมติพรรคดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าพเจ้า โดยด่วน ทั้งนี้ ข้าพเจ้าขอเรียนว่า

1. ข้าพเจ้าไม่เคยทราบและไม่เคยใด้ยินมาก่อนว่า ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรค และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ใดของพรรคพลังประชารัฐจะเสนอให้มีการปรับโครงสร้างพรรคขนานใหญ่ ตามการแถลงข่าวของนายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค

2. ข้าพเจ้าไม่เคยเรียกร้อง ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และไม่มีส่วนร่วมใดๆ ในการเสนอข้อเรียกร้องให้มีการปรับโครงสร้างพรรคพลังประชารัฐขนานใหญ่ของ ร.อ. ธรรมนัสฯ กับพวก ตามการแถลงข่าวของนายไพบูลย์ฯ

3. ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าเหตุใดจึงมีชื่อข้าพเจ้าเสนอต่อที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค และที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อพิจารณาลงมติว่าข้าพเจ้ากับ ร.อ. ธรรมนัสฯและพวกรวม 21 คน ได้ร่วมกันเสนอข้อเรียกร้องให้มีการปรับโครงสร้างพรรคและหากไม่ดำเนินการตามข้อเรียกร้องจะมีการเคลื่อนไหวต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความเสียหายกับพรรค อันจะเป็นเหตุร้ายแรงกระทบกับเสถียรภาพพรรค

ซึ่งนอกจากข้าพเจ้าแล้วก็ยังมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รายอื่นของพรรคที่มีชื่อรวมอยู่ในจำนวนรายชื่อ 21 คนนั้น ที่ไม่ทราบเรื่องและไม่รู้เห็นเกี่ยวข้องกับการดำเนินการดังกล่าวของ ร.อ. ธรรมนัสฯ กับพวก เช่นเดียว กับข้าพเจ้า

4. จากการแถลงข่าวของนายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค ปรากฏว่นาย ไพบูลย์ฯ กล่าวถึงแต่เพียง ร.อ. ธรรมนัสฯ แต่ผู้เดียวที่อ้างว่าหากไม่มีการดำเนินการตามข้อเรียกร้องให้ปรับโครงสร้างพรรคแล้วจะมีการเคลื่อนไหวต่างๆ และจะทำให้เกิดความเสียหายกับพรรด ซึ่งจะเป็นเหตุร้ายแรงกระทบกับเสถียรภาพพรรคต่อไป

โดยนายไพบูลย์ฯ ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดของข้อเสนอและการกระทำของ ร.อ. ธรรมนัสฯ กับพวก ว่ามีข้อเสนอหรือมีพฤติกรรมใดที่ทำหรือจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงกับพรรค และมิได้กล่าวถึงการกระทำใดๆ ของข้าพเจ้าและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านอื่นในรายชื่อ 21 คนนั้นด้วยเลยว่า ข้าพเจ้าหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายอื่นนั้นกระทำหรือจะกระทำการใดเป็นการส่วนตัวหรือโดยการร่วมกันกับ ร.อ. ธรรมนัสฯ ที่ทำหรือจะทำให้เกิดความเสียหายกับพรรค

ดังนั้น จากข้อเท็จจริงตามการแถลงข่าวของนายไพบูลล์ๆ จะเห็นว่าการกระทำที่อาจเข้าข่ายหลักเกณฑ์ข้อบังคับพรรดพลังประชารัฐ ข้อ 54 (6) นั้น เป็นการกระทำของ ร.อ. ธรรมนัสฯ แต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับ ข้าพเจ้าหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรครายอื่น ในรายชื่อ 21 คนนั้น

5. ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการปรับโครงสร้างพรรคขนานใหญ่ตามข้อเสนอของ ร.อ.ธรรมนัสฯ กับพวก (ไม่รวมข้าพเจ้าเพราะข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้อง) มีรายละเอียดเป็นประการใดที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่หลักการแห่งพรรคพลังประชารัฐ ทั้งเรื่องเอกภาพเสถียรภาพ และอุดมการณ์ของพรรค ตามที่กำหนดหลักเกณฑ์ในข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐที่จดทะเบียนไว้ต่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และโดยปกติแล้วการปรับโครงสร้างพรรคมิได้ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแก่พรรคและยังเป็นเรื่องที่สามารถเจรจาทำความเข้าใจกันได้ เพราะสมาชิกพรรคทุกคนต่างมีเจตนาดีต่อพรรค และตามปกติการปรับโครงสร้างพรรคก็เป็นไปเพื่อการสร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์ต่อพรรคมิใช่เพื่อเป็นการทำให้พรรคเสียหาย

นอกจากนั้น ยังเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในพรรคอยู่แล้วว่าจะมีการปรับโครงสร้างพรรค ซึ่งหัวหน้าพรรคเองก็เคยเสนอเรื่องการปรับโครงสร้างพรรคให้ที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคพิจารณาเห็นชอบมาแล้วเมื่อคราวการประชุมกรรมการบริหารพรรควันที่ 28 ตุลาคม 2564 และโดยเฉพาะเมื่อผู้ที่เสนอให้ปรับโครงสร้างพรรคตามการแถลงข่าวของนายไพบูลย์ฯ คือ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า ซึ่งมีตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค ที่เป็นที่รับรู้กันว่ามีความรักพรรคและปราถนาดีต่อพรรคตลอดมา จึงไม่น่าจะเป็นไปได้ที่ ร.อ. ธรรมนัสฯ จะเสนอให้มีการปรับปรุงพรรคหรือจะกระทำการใดให้มีผลเสียหายแก่หลักการแห่งพรรคพลังประชารัฐทั้งเรื่องเอกภาพ เสถียรภาพ และอุดมการณ์ของพรรค

นอกจากนั้น ข้อเท็จจริงยังเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปทั้งภายในและภายนอกพรรคว่า ร.อ. ธรรมนัสฯเป็นผู้ที่ให้ความเคารพและเชื่อฟังหัวหน้าพรรคเสมอมา ดังจะเห็นว่า เมื่อมีกรณีข้อขัดแย้งจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนกันยายน 2564 ที่ ร.อ.ธรรมนัสฯ ซึ่งเป็นเลขาธิการพรรค แถลงข่าวว่าจะลาออกจากพรรค อันจะทำให้เกิดความเสียหายต่อพรรค ยิ่งกว่าการเสนอให้ปรับโครงสร้างพรรคนั้น เมื่อหัวหน้าพรรดเจรจาพูดคุยกับ ร.อ.ธรรมนัสฯ แล้ว ร.อ.ธรรมนัสฯ ก็เชื่อฟังและยินยอมที่จะไม่ลาออกจากพรรค ยิ่งกว่านั้น ร.อ. ธรรมนัสฯ ก็เป็นเลขาธิการพรรคและเป็นกรรมการบริหารพรรค

ดังนั้น หาก ร.อ. ธรรมนัสฯ จะเสนอให้มีการปรับโครงสร้างพรรคจนอาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่พรรคจริงแล้ว ก็น่าจะอยู่ในวิสัยที่หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคจะสามารถเจรจาตกลงหรือแก้ไขปัญหากับ ร.อ. ธรรมนัสฯ ได้ โดยไม่ต้องใช้วิธีลงมติให้ ร.อ. ธรรมนัสฯ กับพวก ออกจากการเป็นสมาชิกพรรคตามข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ ข้อ 54 (5)

6. หากข้อเสนอให้ปรับโครงสร้างพรรคขนานใหญ่ของ ร.อ. ธรรมนัสฯ มีอยู่จริง แต่ข้อเสนอดังกล่าวก็ยังไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติหรือดำเนินการใด จึงไม่อาจส่งผลกระทบร้ายแรงใดๆ ต่อพรรคหรือเสถียรภาพของพรรคได้ อีกทั้งยังไม่มีการดำเนินการหรือการเคลื่อนไหวใดๆ จาก ร.อ.ธรรมนัสฯ กับพวก (ไม่รวมข้าพเจ้า) ที่ทำให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายร้ายแรงใดๆ ต่อพรรคหรือเสถียรภาพของพรรค ดังนั้น การที่ที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค และที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค ด่วนพิจารณามีมติว่าข้อเสนอปรับโครงสร้างพรรคของ ร.อ.ธรรมนัสฯ กับพวก เป็นการกระทำที่ทำให้เกิดเหตุร้ายแรงต่อพรรค แล้วมีมติให้ร.อ. ธรรมนัสฯ กับพวก รวม 21 คน รวมทั้งข้าพเจ้าด้วย ออกจากการเป็นสมาชิกพรรคตามข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ ข้อ 54 (5) จึงไม่ถูกต้องและเป็นมติที่เป็นการลงโทษเกินกว่าเหตุ ไม่เป็นธรรมกับข้าพเจ้า

7. การมีมติให้ข้าพเจ้าออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐรวมไปกับ ร.อ.ธรรมนัสฯ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวม 21 คน อ้างเหตุว่ามีการก่อให้เกิดเหตุร้ายแรงต่อหลักการแห่งพรรค ทั้งเรื่องเอกภาพ เสถียรภาพ และอุดมการณ์ของพรรคนั้น เป็นข้อกล่าวหาและเป็นความผิดร้ายแรงซึ่งจะเป็นผลกระทบต่อประวัติของข้าพเจ้าและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ข้าพเจ้าอย่างร้ายแรง

ดังนั้น กรรมการบริหารพรรคจึงควรตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือคณะะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จริงเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและเป็นธรมแก่ข้าพเจ้าก่อนว่าข้าพเจ้ากระทำการตามที่ถูกกล่าวอ้างจริงหรือไม่ หรือข้าพเจ้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าวของ ร.อ.ธรรมนัสฯ อย่างไร

โดยควรจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ที่ถูกล่าวหาชี้แจงข้อเท็จจริงและนำเสนอพยานหลักฐานอันเป็นสิทธิพื้นฐานตามรัฐรรมนูญ และเป็นไปตามรูปแบบของการบริหารจัดการที่ดีของการบริหารพรรคการมือง อันจะนำไปสู่การสร้างความสามัคคีร่วมมือร่วมใจตามหลักการพื้นฐานของข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ ข้อ 4 (2) และยังเป็นการป้องกันมิให้เกิดความขัดแยังแตกแยกภายในพรรรคซึ่งเป็นการปฏิบัติขั้นพื้นฐานในการนำพาประเทศชาติมิให้เกิดความขัดแย้งแตกแยก ตามเจตนารมณ์ของข้อบังคับพรคพลังประชารัฐ ข้อ 6 และยังเป็นการปัองกันมิให้เกิดการใช้อำนาจของคณะกรรมการบริหารพรรคไปในทางที่มิชอบครอบงำ หรือเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคตามรัฐธรรมนูญตามหลักการข้อบังคับพรรคข้อ 7 (4)

ดังนั้น การที่กรรมการบริหารพรรคมีมติให้ข้าพเจ้าออกจากการเป็นสมาชิกพรรคตามข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ ข้อ 54 (5) โดยอ้างว่าข้าพเจ้าได้ร่วมกับร.อ.ธรรมนัสฯ กับพวก รวม 21 คน กระทำการให้เกิดเหตุร้ายแรงแก่พรรค แล้วเสนอให้ที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรพิจารณามีมติให้ข้าพเจ้าออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ โดยไม่มีการสอบสวนหรือตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ถูกต้องก่อน จึงเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมแก่ข้าพเจ้าและทำให้ข้าพเจ้าเสียหายตามกฎหมายอย่างร้ายแรง

ทั้งนี้ มีกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคบางรายไม่เห็นด้วยและเห็นว่าการลงมติเช่นนั้นจะขัดต่อข้อบังคับพรรคด้วย

8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 101(9) วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า การพันจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตามมติของพรรคการเมืองต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของที่ประชุมร่วมกันของคณะกรรมการบริหารพรรคและที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค แต่ข้อเท็จริงปรากฏว่าในการลงมติของที่ประชุมนั้นมีสมาชิกจำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วย

และยังมีข้อสงสัยว่าการดำเนินการของที่ประชุมเป็นไปตามข้อบังคับพรรดและกฎหมายหรือไม่ แต่ผู้ดำเนินการประชุมกลับดำเนินการให้มีการลงมติของที่ประชุมต่อไป โดยการลงมติครั้งแรกนั้น ผลการลงมติของที่ประชุมได้คะแนนไม่ถึงสามในสี่ของจำนวนผู้เข้าประชุม ซึ่งต้องถือว่าการลงมติเป็นอันสิ้นสุดลงแล้ว แต่ผู้ดำเนินการประชุมกลับดำเนินการให้ที่ประชุมลงมติใหม่อีกครั้ง โดยก่อนการลงมติครั้งที่สองนี้ มีการเจรจากับผู้ที่งดออกเสียงขอให้ลงมติให้ข้าพเจ้ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอื่นรวม 21 คน พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ตามข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ ข้อ 4 (3) ต่อไปอีกครั้งเพื่อให้ได้คะแนนครบสามในสี่ตามหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ

แสดงให้เห็นว่ามีการกระทำที่เจตนาจงใจให้ข้าพเจ้ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอื่นรวม 21 คน พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐโดยไม่เป็นธรรม เป็นการกระทำขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เป็นการมุ่งร้ายให้ข้าพเจ้าและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 21 ราย พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ เป็นการร่วมกันกระทำให้กิดความเสียหายแก่ประวัติและชื่อเสียงของข้าพเจ้าอย่างร้ายแรง

อนึ่ง นอกจากข้อเท็จจริงที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ข้าพเจ้ายังเห็นว่าการดำเนินการให้มีมติของกรรมการบริหารพรรคและที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565 ให้ข้าพเจ้าพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐพร้อมกับ ร.อ. ธรรมนัสฯ กับ พวก รวม 21 คน โดยอ้างว่า ข้าพเจ้ากับ ร.อ. ธรรมนัสฯ กับพวก รวม 21 คน กระทำการให้เกิดเหตุร้ายแรงแก่พรรคตามข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ ชัอ 54 (5) ที่วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า สมาชิกภาพของสมาชิกพรรคลิ้นสุดลงเมื่อพรรคการเมืองมีมติให้ออกเพราะกระทำผิดวินัยหรือจรรบาบรรณอย่างร้ายแรงหรือมีเหตุร้ายแรงอื่น นั้น เป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมกับข้าพเจ้าอย่างยิ่ง โดยมีข้อเท็จจริงเพิ่มเติมดังนี้

1. ก่อนวันที่ 19 มกราคม 2565 ข้าพเจ้าได้รับทราบจากนายวิวัช รัตนเศรษฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อของพรรคพลังประชารัฐ ว่า นายวิรัชฯ ได้ใส่ชื่อของข้าพเจ้าไว้กับคณะของ ร.อ. ธรรมนัส พรหมผ่า เลขาธิการพรรค ซึ่งในช่วงเวลานั้นมีการปรับเปลี่ยนระบบของคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ประกอบกับนายวิรัชฯ เคยเป็นประธานวิปรัฐบาลทำให้ข้าพเจ้า เข้าใจว่านายวิรัชฯ หมายความว่าจะให้ข้าพเจ้าอยู่ในการดูแลของ ร.อ. ธรรมนัสฯ ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้าพเจ้าจึงไม่ได้สงสัยในข้อเท็จจริงดังกล่าว

ต่อมาวันที่ 19 มกราคม 2565 มีการส่งข้อความทางไลนให้ข้าพเจ้ามาร่วมประชุมกับ หัวหน้าพรรคที่มูลนิธิป่ารอยต่อ เมื่อข้าพเจ้าไปถึงห้องประชุมที่มูลนิธิป่ารอยต่อปรากฎว่ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนประมาณยี่สิบคน อยู่ในห้องประชุม เมื่อหัวหน้าพรรคเข้ามาในห้องประชุมได้แจ้งว่า ร.อ. ธรรมนัสฯ จะออกจากพรรค โดยจะมีการย้ายไปอยู่พรรคเศรษฐกิจไทย และจะให้ พลเอกวิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นหัวหน้าพรรค ให้นายอภิชัย เตชะอุบล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเลขาชิการพรรค และให้พลตำรวจเอกพัชรวาท วงษ์สุวรรณเป็นที่ปรึกษาพรรค โดยจะให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชารัฐที่เป็นกลุ่มของ ร.อ.ธรรมนัสฯ ที่รวมตัวกันอยู่ในห้องประชุมนั้นย้ายไปสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทย พร้อมกับ ร.อ. ธรรมนัสฯ ด้วย โดยมีเจ้าหน้าที่นำใบสมัครสมาชิกพรรคเศรษฐกิจไทยมาให้ข้าพเจ้า และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชารัฐที่อยู่ในห้องประชุมลงนาม

ข้าพเจ้าจึงเพิ่งจะทราบความจริงว่าที่นายวิรัชฯ บอกกับข้าพเจ้าว่านำชื่อข้าพเจ้าไปอยู่กับ ร.อ.ธรรมนัสฯ นั้น แท้จริงแล้วหมายความว่จะให้ข้าพเจ้าย้ายไปอยู่พรรคเศรษฐกิจไทยร่วมกับ ร.อ.ธรรมนัสฯ นั่นเอง ขณะนั้นมีการอ่านชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชารัฐที่ยังไม่มาประชุมซึ่งมีชื่อของ นายเพชรภูมิ อาภรณ์รัตน์ ส.ส. กำแพงเพขร ด้วย ข้าพเจ้าจึงเดินออกจากห้องประชุมโดยวางใบสมัครสมาชิกพรรดเศรษฐกิจไทยทิ้งไว้ ไม่นำติดตัวออกมา ช่วงที่เดินออกจากห้องประชุมนั้นข้าพเจ้าพบกับนายอนุชา นาคาศัย และนายสุชาติ ชมกลิ่น ส.ส. ของพรรคที่เป็นรัฐมนตรีด้วย ข้าพเจ้าจึงพูดกับคนทั้งสองว่า ข้าพเจ้าไม่ย้ายไปอยู่พรรคเศรษฐกิจไทย

ต่อมาระหว่างที่ข้าพเจ้านั่งรอพบแพทย์มีรายงานข่าวทางโทรทัศน์ว่ที่ประชุมพรรคพลังประชารัฐมีมติให้ข้าพเจ้าออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเนื่องจากข้าพเจ้าได้ร่วมกับ ร.อ. ธรรมนัสฯ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎอื่นรวม 21 คน เสนอปรับโครงสร้างพรรคที่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อพรรค แต่กลับไม่ปรากฏชื่อของนายเพชรภูมิ อาภรณ์รัตน์ ข้าพเจ้าจึงติดต่อสอบถามกลับมายังที่ประชุมว่าเกิดเหตุอะไรขึ้นและข้าพเจ้าไม่รู้เห็นเกี่ยวข้องกับการเสนอปรับโครงสร้วงพรรคใดๆ ของ ร.อ. ธรรมนัสฯ ทั้งสิ้น

2. เช้าวันที่ 20 มกราคม 2565 ข้าพเจ้าได้มาพบหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐเพื่อแจ้งให้ทราบข้อเท็จจริงและความประสงค์ของข้าพเจ้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเสนอปรับโครงสร้างพรรคของ ร.อ. ธรรมนัสฯ และข้าพเจ้าไม่ประสงค์จะย้ายไปสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทย ระหว่างนั้นได้พบกับนายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค ข้าพเจ้าจึงแจ้งเรื่องให้นายไพบูลย์ฯ ทราบ นายไพบูลย์ฯ แจ้งว่าไม่ทันแล้วเพราะมีการลงมติไปแล้วและนายไพบูลย์ฯ กำลังจะแถลงข่าวเรื่องดังกล่าว ข้าพเจ้าได้สอบถามนายไพบูลย์ฯ ว่าเหตุใดจึงไม่มีชื่อนายเพชรภูมิ อาภรณ์ตน์ ด้วย จึงทราบว่นายเพรรภูมิฯ ติดต่อเข้ามาแจ้งขอให้นำชื่อนายเพชรภูมิฯ ออกจากรายชื่อผู้ที่จะต้องย้ายไปสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทยกับ ร.อ. ธรรมนัสฯ ก่อนจะมีการลงมติของพรรค สำหรับกรณีของข้าพเจ้านั้นมีการลงมติให้ออกจากพรรคไปแล้วจึงไม่อาจแก้ไขให้ได้

จากข้อเท็จจริงที่กล่าวมา แสดงให้เห็นว่าข้าพเจ้าไม่ได้รับความเป็นธรรมและได้รับความเสียหายจากการกระทำของกรรมการบริหารพรรคและที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชารัฐอย่างชัดแจ้ง จึงขอให้ท่านในฐานะหัวหน้าพรรคและประธานกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐโปรดดำเนินการยกเลิกมติที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคและมติที่ประชุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชารัฐที่มีมติให้ข้าพเจ้าออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐตามข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐชัอ 54 (6) โดยด่วนที่สุด

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการ
ขอแสดงความนับถือ
(นายสมศักดิ์ พันธ์เกษม)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชารัฐ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ก.แรงงานลงนาม MOU ร่วมกับ CPF ขับเคลื่อนองค์กรสีขาว เพื่อย่างก้าวที่ยั่งยืน ต้นแบบสถานประกอบกิจการดูแลพนักงานปลอดยาเสพติด
"จักรภพ" ให้ปากคำเพิ่ม ยันเป็นผู้บริสุทธิ์ ลั่นตนเองไม่ได้ทำผิด
แห่แชร์ จยย.รับจ้างทำร้าย นทท.อินเดีย ยับ ด้าน วินจยย.เปิดใจ นนท.อินเดียทำร้าย เขาทำลูกวัย 7 ขวบ ก่อน
สวนนงนุชพัทยา ต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดการประชุมประจำปี “สพฐ. โปร่งใส ร่วมใจต้านทุจริต” ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ (NICE)
วันไหลพัทยา คลื่นมหาชนกร่วมเล่นสงกรานต์สาดน้ำกันอย่างคึกคัก เมืองพัทยาร่วมกับฝ่ายปกครอง ตำรวจ และอาสาสมัคร สนธิกำลังนับร้อยเฝ้าระวังป้องกันเหตุ
"ศุภมาส" เปิด "Thailand Pavilion" นำงานวิจัย นวัตกรรมไทย อวดสายตาโลก
"สว.สมชาย" จ่อฟ้อง "ไอลอว์" บิดเบือนหมิ่นลอกดุษฎีนิพนธ์
"ก.พลังงาน" เตรียมขึ้นราคาดีเซลแบบขั้นบันได หลังสิ้นสุดลดภาษีสรรสามิต
เกษตรกรเลี้ยงหมู ย้ำอากาศแปรปรวน ร้อนจัด-พายุฤดูร้อนกระหน่ำ กระทบหมูเสียหายพุ่ง
"กรมทางหลวง" พร้อมเปิดให้วิ่งฟรีชั่วคราว มอเตอร์เวย์หมายเลข 81 "สายบางใหญ่-กาญจนบุรี"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น