เพจ “กฎหมายแรงงาน” ไขสงสัย ไม่รับปริญญา ไม่รับทำงานได้หรือไม่?

เพจ "กฎหมายแรงงาน" ไขสงสัย ไม่รับปริญญา ไม่รับทำงานได้หรือไม่?

เฟซบุ๊กเพจ “กฎหมายแรงงาน” โพสต์ข้อความระบุว่า จากการที่แพทย์หญิงท่านหนึ่งออกมาโพสต์ “ไม่เข้ารับปริญญา ระวังเขาจะไม่รับเข้าทำงาน” ส่งผลให้เกิด #ไม่รับปริญญา

และยังได้กล่าวถึงการดูโทรศัพท์ ซึ่งถือเป็นการล่วงล้ำเข้าไปทำลายความเป็นส่วนตัว โดยเอาเงื่อนไขการรับสมัครงาน ซึ่งการไม่เข้ารับปริญญาอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ไม่มีเงิน เพราะการรับปริญญามีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร หรือหลายอาจเรียนเพื่อต้องการความรู้แต่ก็ไม่ได้สนใจเข้ารับปริญญา โดยปกติมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาจะเปิดให้ลงทะเบียนว่าใครจะเข้ารับปริญญาบ้าง และใครจะไม่เข้ารับปริญญา ซึ่งก็เป็นการให้สิทธิหรือเสรีภาพที่จะเข้ารับหรือไม่

ส่วนจะรับปริญญากับใครก็สุดแล้วแต่ อย่างต่างประเทศก็อาจรับกับอธิการบดี ในไทยหากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐก็อาจรับกับราชวงศ์ มหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่ก็รับกับอธิการบดี หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งการวางกติกาว่า หากใครไม่เข้ารับปริญญาจะไม่รับเข้าทำงานนั้นถือว่าผิดธรรมชาติการรับคนเข้าทำงานที่จะต้องพิจารณาจากความรู้ความสามารถ หรือทัศนคติ และการไม่เข้ารับปริญญาก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีทัศนคติที่ไม่ดีเสมอไป

ขณะเดียวกัน แม้มีการกำหนดกติกาการรับสมัครงานเอาไว้แต่เมื่อตราบใดที่ยังไม่มีสถานะเป็นลูกจ้าง ก็ไม่อาจนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานเข้าไปใช้บังคับได้ แต่เมื่อเปิดรัฐธรรมนูญมาดูเราก็จะพบกับหลักการห้ามเลือกปฎิบัติงถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นในทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งหลักการเหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจ

การเลือกปฎิบัติและทัศนคติที่มองคนเห็นต่างเป็นศัตรูย่อมเป็นอันตรายต่อความก้าวหน้าของสังคม จริง ๆ แล้วตราบาปที่ถูกบันทึกไว้จากการเลือกปฎิบัติในสังคมไทย มีหลายกรณี ดังนี้

1. การเลือกปฎิบัติเพราะความแตกต่างในเรื่องเพศ เกิดกรณีบริษัทได้กำหนดให้ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุ 55 ปี ลูกจ้างชายเกษียณ 60 ปี ซึ่งเป็นการเลือกปฎิบัติกรณีเกษียณเพราะเหตุความแต่งต่างในเรื่องเพศ ส่งผลให้การกำหนดอายุการเกษียณของเพศหญิงเป็นโมฆะ (คำพิพากษาที่ ๒๑๒๗/๒๕๕๕)
2. การเลือกปฎิบัติเพราะความพิการทางร่างกาย เคสนี้ น่าตกใจมากเพราะเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้บังคับใช้กฎหมายเอง เรียกว่า “ความพิการของกฎหมายและผู้บังคับใช้กฎหมาย” โดยเป็นกรณีการเลือกปฎิบัติต่อผู้พิการในการสอบเป็นผู้ช่วยอัยการ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๑๔๒/๒๕๔๗) และการตัดสิทธิทนายโปลิโอในการเข้าสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา
3. การเลือกปฎิบัติเพราะผลการเรียนเป็นกรณีที่เกิดกับการเลือกรับราชการ โดยรับเฉพาะเกียรตินิยม คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และน่าตกใจที่แนวคิดการเลือกปฎิบัติอันเกิดจากการไม่เข้ารับปริญญา ขอเถอะจงเลือกจากความสามารถและคุณค่าในตัวเขา

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เที่ยวบินครม.สัญจรระทึก เจออากาศแปรปรวนหนักลงจอดไม่ได้ ต้องบินกลับพิษณุโลก
“พีระพันธุ์” หารือ “รมว.เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม” ญี่ปุ่น ขับเคลื่อนความร่วมมือด้านพลังงาน
มาแน่ “กรมอุตุฯ” ประกาศฉบับ 12 เตือนระวังอันตราย "พายุฤดูร้อน" พัดถล่ม จว.ที่ไหนบ้างเช็กเลย
ฝนตกหนัก "อนุทิน" กำชับ "ผู้ว่าฯ เชียงราย" ติดตามสถานการณ์น้ำแม่น้ำสายใกล้ชิด
"รมว.สุดาวรรณ" นำชมนิทรรศการ สาธิตวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมโดดเด่นชาวนครพนม ชูเส้นทางตามรอยศรัทธาธรรม 7 วันสักการะ 8 พระธาตุประจำวันเกิด
"สรรเพชญ" ผนึก "สุพิศ" นายกอบจ.สงขลา ร่วมขับเคลื่อนพัฒนาท้องถิ่นทุกมิติ มั่นใจยกระดับคุณภาพชีวิตปชช.
"นฤมล" ลงพื้นที่เยี่ยมชาวสวนลิ้นจี่ นครพนม ชื่นชมสร้างมูลค่าส่งออก ยันพร้อมหนุนทุกปัจจัย ดูแลผลไม้ไทย
สส.สัตหีบ เร่งประสานอีสวอเตอร์ แก้ไขปัญหาท่อน้ำประปาแตกบ่อย น้ำไหลเบา เพิ่มแรงดันน้ำพื้นที่โซนสูง
"ศุภมาส" เดินหน้าขับเคลื่อน Soft Power จัดแข่งวาดภาพ Thai Youth Street Art รุดให้กำลังใจ 6 สถาบัน เข้าประชันฝีมือ
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จัดกิจกรรมคลายร้อนให้สัตว์ ด้วยหวานเย็นผลไม้ พร้อมเสริมกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นพฤติกรรมธรรมชาติ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น