No data was found

ด่วน!ปศุสัตว์ แถลงพบ ASFในสุกร เร่งสอบหาที่มา

กดติดตาม TOP NEWS

คณะทำงานด้านวิชาการฯ แถลงพบ ASF 1 ตัวอย่าง ในสุกรจากโรงฆ่าจังหวัดนครปฐม จากตัวอย่างทั้งหมด 309 ตัวอย่าง เร่งสอบหาแหล่งที่มาพร้อมประสานหารือภาคีเครือข่ายเพื่อควบคุมโรคให้สงบโดยเร็วแล้ว ทั้งนี้ เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมโรคให้สงบโดยเร็ว กรมปศุสัตว์เห็นควรประกาศประเทศไทยพบโรค ASF และรายงานไปยังองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) เพื่อแจ้งเตือนให้ประเทศสมาชิกทราบต่อไป

วันนี้(11 ม.ค.65) นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ในฐานะประธานคณะทำงานด้านวิชาการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรค ASF ในสุกร กล่าวว่า ตามที่มีการนำเสนอข่าวในสื่อสังคมออนไลน์เผยข้อมูลว่าพบรายงานสถานการณ์การเกิดโรค African Swine Fever หรือ ASF ในสุกร ท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญและห่วงใยในเรื่องดังกล่าวฯ ได้สั่งการเร่งด่วนให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานโดยเร็ว ซึ่งจากประเด็นดังกล่าว กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการตรวจสอบไประยะหนึ่งแล้ว

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตรวจสอบต้องเป็นไปตามหลักวิชาการและมาตรฐานสากลเพื่อได้ขั้นตอนครบถ้วนละเอียดรอบคอบ รอบด้าน เป็นไปตามข้อกฎหมายและระเบียบ เมื่อรวบรวม และตรวจสอบข้อมูลได้ครบถ้วน จะรายงานให้สาธารณชนทราบ ตามความเป็นจริง โดยจะไม่มีการปกปิดหรือปิดบังใดๆ

โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ไม่ได้นิ่งนอนใจได้สั่งการด่วนจัดชุดเฉพาะกิจลงตรวจสอบสภาวะโรคในพื้นที่เสี่ยง สุ่มตรวจสอบเพิ่มเติมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสุกรหนาแน่น ในวันที่ 8-9 มกราคม 2565 รวมทั้งหมด 10 ฟาร์ม 305 ตัวอย่าง และ โรงฆ่าสัตว์ 2 แห่ง 4 ตัวอย่าง โดยในวันที่ 8 มกราคม 2565 สุ่มดำเนินการในพื้นที่จังหวัดราชบุรี เฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างจำนวน 6 ฟาร์ม รวม 196 ตัวอย่าง และวันที่ 9 มกราคม 2565 สุ่มดำเนินการในพื้นที่จังหวัดนครปฐม เฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างจำนวน 4 ฟาร์ม 109 ตัวอย่าง และ 2 โรงฆ่า 4 ตัวอย่าง รวม 113 ตัวอย่าง เพื่อเข้าไปสำรวจโรคและเก็บตัวอย่างจากเลือดสุกรที่ฟาร์ม (blood sampling) และจากบนพื้นผิวสัมผัสบริเวณโรงฆ่าสัตว์ (surface swab) นำไปตรวจหาโรคส่งวิเคราะห์ที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการของกรมปศุสัตว์

## ซึ่งผลการวิเคราะห์ตัวอย่างในเบื้องต้นจากจำนวนทั้งหมด 309 ตัวอย่าง พบผลวิเคราะห์เป็นลบจำนวน 308 ตัวอย่าง และพบผลบวกเชื้อ ASF จำนวน 1 ตัวอย่าง จากตัวอย่างพื้นผิวสัมผัสบริเวณโรงฆ่าสัตว์แห่งหนึ่งที่มาจากจังหวัดนครปฐม

ชุดเฉพาะกิจได้ลงพื้นที่เข้าสอบสวนโรคทางระบาดวิทยาถึงแหล่งที่มาของสุกรและสาเหตุเพื่อควบคุมโรคโดยเร็วต่อไป เพื่อลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้มีมาตรการในการดำเนินการในการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการเกิดโรค ASF ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ มาตั้งแต่ต้น โดยล่าสุดได้ประสานหารือและทำความเข้าใจกับหน่วยงานภาคีต่างๆ เช่น สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ภาคีคณบดี คณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกร และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือในการควบคุมโรคแล้ว ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการดำเนินงานกรณีตรวจพบโรคในประเทศ กรมปศุสัตว์จะต้องดำเนินการประกาศเป็นเขตโรคระบาดและมีการควบคุมการเคลื่อนย้ายในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบจุดที่พบโรค ร่วมกับจะต้องพิจารณาทำลายสุกรที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรค หรือมีความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยากับฟาร์มที่เป็นโรคและจ่ายค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลาย สำหรับการดำเนินงานในพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่อยู่ในรัศมีการควบคุมโรคการเคลื่อนย้ายสุกรทุกวัตถุประสงค์จะต้องได้รับอนุญาตจากสัตวแพทย์ โดยคำนึงถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด รวมทั้ง การขออนุญาตนำสุกรเข้ามาเลี้ยงต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ ในขณะเดียวกันกรมปศุสัตว์จะต้องแจ้งการพบโรคไปยังองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) เพื่อแจ้งเตือนให้ประเทศสมาชิกทราบ

## ซึ่งล่าสุด ได้มีการประชุมคณะกรรมการวิชาการป้องกันควบคุมโรค ASF แล้ว เพื่อทราบผลการตรวจพบเชื้อ ASF จาก 1 ตัวอย่างที่เก็บมาจากโรงฆ่าสัตว์แห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม จากตัวอย่างทั้งหมดที่เก็บมา 309 ตัวอย่าง โดยยืนยันผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมโรคให้สงบโดยเร็ว กรมปศุสัตว์เห็นควรประกาศประเทศไทยพบโรค ASF และรายงานไป OIE ต่อไป

ท้ายที่สุดนี้ กรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือพี่น้องเกษตรกรในการดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคของกรมปศุสัตว์โดยเคร่งครัด เพื่อควบคุมโรคให้สงบได้โดยเร็วเหมือนดังที่กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการควบคุมโรคอย่างเช่น โรคไข้หวัดนก และขอเรียนพี่น้องประชาชนให้ทราบว่าสุกรที่เป็นโรค ASF เป็นโรคที่ไม่ติดต่อสู่คนหรือสัตว์ชนิดอื่น ผู้บริโภคยังสามารถรับประทานเนื้อสุกรได้อย่างปลอดภัย โดยจะต้องให้ความร้อนปรุงสุกที่อุณหภูมิสูงกว่า 70 องศาเซลเซียส หากพี่น้องประชาชนมีข้อสงสัยหรือพบสุกรป่วยตายผิดปกติ หรือสัตว์ป่วยตายผิดปกติ หรือต้องการความช่วยเหลือจากกรมปศุสัตว์ สามารถแจ้งกรมปศุสัตว์ได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225 -6888 หรือ Application DLD 4.0 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ไอเดียเก๋ "ครูสอนอนุบาล" รร.เทพประสิทธิ์วิทยา ฉะเชิงเทรา ตั้งป้ายแสตนดี้ "ลาบูบู้" จูงใจเด็กเล็กให้อยากมาเรียน
เจ้าของปั๊มใจป้ำ จัดโปรฯเติมน้ำมัน 200 แถมฟรีอีก 200 คนแห่มารอแน่น
"เจี๊ยบ อมรัตน์" หัวร้อนขู่ฟ้องสื่อ ปั่นใส่ร้ายไม่รู้จักทะลุวัง
แคนาดา ไฟป่ารุกใกล้แหล่งน้ำมัน สั่งอพยพกว่า 6 พันคน
ฝรั่งเศส คนร้ายโจมตีรถชิงผู้ต้องขัง จนท.ดับ 2 ราย
จอร์เจีย ฮือประท้วง –สภาฯผ่านกม.คุมเข้มองค์กรต่างชาติแล้ว
อียิปต์ โต้กลับอิสราเอล ชี้เป็นต้นเหตุปิดจุดผ่านแดนราฟาห์
ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้าส่วนราชการร่วมโครงการตรวจเยี่ยม และรับฟังปัญหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นายกฯ เสียใจ “บุ้ง ทะลุวัง” เสียชีวิต ยันให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย ขอฟังกรมราชทัณฑ์แถลงอย่างเป็นทางการ
รัฐบาลย้ำสพฐ. พร้อมเปิดเทอม 16 พ.ค. นี้ กำชับผู้บริหารโรงเรียน ดูแลเข้ม ให้สิทธิ์เลื่อน เหตุโควิด-ฝุ่น PM2.5

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น