logo

ดร.สามารถ ช็อก! บีทีเอสทวงหนี้ กทม.ก้อนใหญ่กว่า 3 หมื่นล้าน แนะ 2 ทางเลือกให้รัฐ-กทม.

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุ คงอยู่ในสภาพสุดจะทน บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย จึงได้เขียนข้อความขึ้นจอในขบวนรถไฟฟ้าและที่สถานีรถไฟฟ้าให้ผู้โดยสารได้รับรู้ว่า กทม. ติดหนี้บีทีเอสกว่า 3 หมื่นล้านบาท ทำให้ผู้พบเห็นช็อกไปตามๆ กัน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นได้?

เมื่อวันที่ 22 พ.ค.2564 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ชำนาญด้านโครงการและแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนและ ท่าอากาศยาน โพสต์เฟซบุ๊กว่า นับว่าเป็นการทวงหนี้สุดคลาสสิก หลังจากบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ได้มีหนังสือทวงหนี้ไปแล้วหลายครั้ง แต่กรุงเทพมหานคร(กทม.) ก็ยังไม่จ่ายให้ เพราะไม่มีเงินจะจ่าย เนื่องจากมีรายได้จากค่าโดยสารส่วนต่อขยายน้อย ไม่พอที่จะจ่ายหนี้

ดร.สามารถ กล่าวว่า ถึงวันนี้ (22 พฤษภาคม 2564) กทม. เป็นหนี้บีทีเอสจำนวน 33,222 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้ O&M (Operation and Maintenance) หรือค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา 12,218 ล้านบาท และหนี้ E&M (Electrical and Mechanical) หรือค่าขบวนรถไฟฟ้า อาณัติสัญญาณ สื่อสาร และระบบตั๋ว 21,004 ล้านบาท

หนี้ O&M เริ่มมีตั้งแต่ปี 2560 เมื่อเปิดเดินรถช่วงสถานีสำโรง-สถานีปู่เจ้าสมิงพราย ในวันที่ 3 เมษายน 2560 และหนี้ได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อเปิดเดินรถจากสถานีปู่เจ้าสมิงพราย-สถานีเคหะสมุทรปราการ ในวันที่ 6 ธันวาคม 2561 ตามด้วยการเปิดเดินรถจากสถานีหมอชิต-สถานีห้าแยกลาดพร้าว ในวันที่ 9 สิงหาคม 2562 และจากห้าแยกลาดพร้าว-สถานีคูคต ในวันที่ 16 ธันวาคม 2563

หนี้ E&M เริ่มมีตั้งแต่ปี 2559 และได้เพิ่มมากขึ้นในปีที่เปิดเดินรถช่วงต่างๆ เช่นเดียวกับหนี้ O&M หากหนี้ก้อนใหญ่นี้ กทม. ยังคงไม่จ่ายให้บีทีเอส หนี้ก็จะพอกพูนขึ้นทุกวัน วันละประมาณ 24 ล้านบาท ทางแก้ปัญหาหนี้ก้อนใหญ่นี้ กทม. และรัฐบาลมีทางเลือก ดังนี้

1. เร่งชำระหนี้ให้บีทีเอส ซึ่งถึงวันนี้ (22 พฤษภาคม 2564) มีหนี้จำนวน 33,222 ล้านบาท
เตรียมเงินก้อนใหญ่อีกประมาณ 1 แสนล้านบาท เป็นค่าจ้างเดินรถในช่วงจากนี้ไปจนถึงปี 2572 ซึ่งเป็นปีสิ้นสุดสัญญาสัมปทานการเดินรถส่วนหลักกับบีทีเอส ค่าดอกเบี้ยงานโยธาถึงปี 2572 และค่าชดเชยกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางรางบีทีเอสโกรท(BTSGIF) หากสามารถทำได้เช่นนี้ ก็สามารถเปิดประมูลหาผู้รับสัมปทานใหม่ได้ตั้งแต่ปี 2573 เป็นต้นไป
2. หากไม่มีเงินมาชำระหนี้ได้ และไม่มีเงินสำหรับค่าจ้างเดินรถจนถึงปี 2572 รวมทั้งค่าดอกเบี้ยงานโยธาถึงปี 2572 และค่าชดเชยกองทุน BTSGIF ก็จำเป็นที่จะต้องขยายเวลาสัมปทานให้บีทีเอส โดยให้บีทีเอสรับภาระหนี้ รวมทั้งรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินรถในช่วงจากนี้ไปจนสิ้นสุดระยะเวลาสัมปทานที่จะขยายออกไป รับภาระดอกเบี้ยงานโยธาถึงปี 2572 และค่าชดเชยกองทุน BTSGIF แทน กทม.

การเดินรถไฟฟ้าเป็น “พันธกิจสาธารณะ” ที่รัฐจะต้องให้บริการแก่พี่น้องประชาชน แต่ในกรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย รัฐได้มอบพันธกิจสำคัญนี้ให้เอกชน โดยว่าจ้างให้เอกชนรับภาระหน้าที่นี้แทน เอกชนต้องลงทุนและเสียค่าใช้จ่ายในการเดินรถ รวมทั้งค่าซ่อมบำรุงรักษา เพื่อให้การเดินรถไฟฟ้าได้มาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล แต่เอกชนกลับไม่ได้รับค่าจ้าง

ไม่มีเมืองใดในโลกที่เอกชนทำหน้าที่เดินรถไฟฟ้าแทนภาครัฐแล้วไม่ได้รับค่าจ้างนานถึง 4-5 ปี เช่นกรุงเทพฯ ของเรา
ถามว่าเอกชนจะทนแบกภาระนี้ได้ต่อไปอีกนานแค่ไหน?

“ทำไมถึงทำกับฉันได้?”

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

บ้านจันทร์ส่องหล้า ยังไร้ความเคลื่อนไหว หลัง “อสส.” สั่งฟ้อง “ทักษิณ” คดี 112 สื่อมวลชนปักหลักสังเกตการณ์
"รัฐบาล" สนับสนุน "โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ" เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค 67
“นายกฯ” เน้นย้ำไทยพร้อมเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ ชูนโยบายเศรษฐกิจ สร้างความเชื่อมั่น
"ทนายธรรมราช" เชื่อมจิต ปากแจ๋ว หลังกสทช.สั่งระงับโหนกระแส "หนุ่ม กรรชัย" เดือดสุดสวน รอกรรมสนองสัตว์บางตัว
ปูตินเตือนตะวันตกอย่าเล่นกับไฟ ด้วยการให้ยูเครนใช้อาวุธโจมตี
"สันติสุข" เปิดผังใหม่ Top News เปิดใจอีกครั้งถึงแฟนข่าว อย่าไปเสียเวลาฟังข่าวลือ
ีจีนวิจารณ์เกาหลีใต้ เร่งคุยสหรัฐหลังจบประชุม
ฝรั่งเศส-เยอรมนี เห็นควร ยูเครนโจมตีฐานทัพในรัสเซีย
“ทนายวิญญัติ” ยืนยัน “ทักษิณ” ป่วยโควิดจริง มีใบรับรองแพทย์ เตรียมมาตามศาลนัด 18 มิ.ย.นี้
ผบ.ทร.รับมอบเงินกว่า 6.4 ล้านบาท จัดซื้อชุดเครื่องมือผ่าตัดหัวใจ รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น