No data was found

กทม. ไล่ตรวจเข้มท่าเทียบเรือ-โป๊ะรอบกรุง พบใช้งานไม่ได้ 68 ท่า

กดติดตาม TOP NEWS

กทม. ไล่ตรวจเข้มท่าเทียบเรือ-โป๊ะรอบกรุง พบใช้งานไม่ได้ 68 ท่า รองรับเทศกาลลอยกระทงศุกร์นี้

นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่ตรวจสอบความปลอดภัยท่าเทียบเรือและโป๊ะ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 6 ท่า ได้แก่ ท่าเรือท่าช้าง / ท่าเรือสะพานพระพุทธยอดฟ้า เขตพระนคร / ท่าเรือวัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ / ท่าเรือวังหลัง (ฝั่งธนบุรี) / ท่าเรือสะพานพระปิ่นเกล้า (ฝั่งธนบุรี) เขตบางกอกน้อย / และท่าเรือสะพานพระราม 8 เขตบางพลัด เพื่อรองรับและดูแลปลอดภัยของประชาชนในช่วงเทศกาลงานลอยกระทง ประจำปี 2564 ซึ่งจะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 19 พ.ย. 64

 

 

โดยในปีนี้กรุงเทพมหานครได้ประกาศจัดงานใหญ่ 2 จุดหลักคือ คลองโอ่งอ่าง และใต้สะพานพระราม 8 โดยสำรวจทั่วทั้ง กทม. มีท่าเรือและโป๊ะอยู่ที่ 437 ท่า ใช้งานได้ 369 ท่า / ใช้งานไม่ได้ 68 ท่า / โดยโป๊ะและท่าเรือริมแม่น้ำเจ้าพระยามีทั้งสิ้น 260 ท่า มีสภาพปกติสามารถใช้ได้ 230 ท่า / แบ่งเป็นท่าเรือเอกชน 169 ท่า / ท่าเรือสาธารณะ 59 ท่า / ไม่มีเจ้าของ 2 ท่า ขณะที่มีท่าเรือชำรุดต้องปรับปรุงซ่อมแซม 30 ท่า โดยทุกท่าจะต้องมีป้ายบอกว่าสามารถใช้งานได้ และแสดงจำนวนผู้โดยสารที่โป๊ะสามารถรับน้ำหนักได้ จำกัดผู้ที่จะลงไปในท่าเรือโป๊ะ 1 คนต่อ 1 ตารางเมตร เพื่อความปลอดภัยไม่ให้เกิดความหนาแน่นจนเกินไป ติดตั้งยางกันกระแทก ตรวจสอบกล้องวงจรปิด (CCTV) ให้พร้อมใช้งาน อีกทั้งยังวางกำลังพลประจำจุดเพื่อดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชน เช่นเดียวกับในส่วนเทศกิจ 1,800 นายก็จะกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้ประชาชนจุดพลุ ประทัด และปล่อยโคมลอย หากฝ่าฝืนโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

สำหรับมาตราการดูแลความปลอดภัยทั้งทางบกและทางน้ำ ตลอดการจัดการงาน โดยสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับ สำนักการแพทย์เรือดับเพลิงและกู้ชีวิตลาดตระเวนดูความเรียบร้อยตลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระราม 7 ถึงสะพานพระราม 9 ระยะทาง 20.4 กิโลเมตร โดยในปีนี้ กทม.ยังคงรณรงค์ให้ใช้ 1 ครอบครัวต่อ 1 กระทง ซึ่งแนวโน้มการใช้กระทงตั้งแต่ปี 2561-2563 ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าร้อยละ 96 เป็นกระทงแบบธรรมชาติ

ด้านโรงพยาบาลสังกัด กทม. ทั้ง 11 แห่ง จะจัดเตรียมต้องฉุกเฉิน อุปกรณ์และบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ขณะที่สำนักอนามัยก็ได้จัดเตรียมมาตรการเพื่อรองรับการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ให้ประชาชนสวมใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และแสดงผลฉีดวัคซีนครบ 2 โดส หรือผลตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ก่อนเข้างานด้วย โดยในปีนี้ยังคงเข้มงวด ไม่ให้ประชาชนเข้าไปใกล้ริมแม่น้ำและลงไปเก็บกระทง ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกในการใช้กระชอนหรืออุปกรณ์ช่วยในการวางกระทง

 

 

ด้านนายณรงค์ เรืองศรี รองปลัดกรุงเทพมหานคร กำกับบริหารราชการสำนักการระบายน้ำ ยังระบุถึงสถานการณ์น้ำหนุนในแม่น้ำเจ้าพระยาในวันลอยกระทงว่า แม่น้ำเจ้าพระยาจะขึ้นสูงสุดเวลา 17.13 น. อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่กทม.

นอกจากนี้ กทม. ยังได้ตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์กรุงเทพมหานครในช่วงวันลอยกระทง ประจำปี 2564 โดยแต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วยหน่วยงานทุกภาคส่วน และองค์กรภาคีเครือข่าย บูรณาการเตรียมความพร้อม เจ้าหน้าที่ อุปกรณ์ และยานพาหนะ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันของแต่ละหน่วยงาน ทั้งนี้ หากประชาชนพบเห็นเหตุสาธารณภัย สามารถแจ้งเพื่อขอความช่วยเหลือได้ทางโทรศัพท์สายด่วนหมายเลข 199 และ 1555 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

บูชาหญิงเร่ร่อนเป็นพระแม่
ม็อบต้านเทสลารวมพลบุกโรงงานในเยอรมนี ตร.สกัดวุ่น(คลิป)
"มูลนิธิยังมีเรา" ร่วมท็อป นิวส์ เดินหน้าสานฝันเยาวชนยากไร้ มอบทุนการศึกษา เด็กๆฝากขอบคุณทุกน้ำใจ
ฮือฮา ล้างป่าช้าจีนโคราช "พบร่างอาจารย์ทอง" ครั้งแรกรอบ 12 ปี
วินจยย.เล่านาทีระทึก โจรเมียนมาชิงมือถือนทท. ซอยนานา พลาดพลัดตกสะพานลอยเจ็บ
"นายกฯ" เผยยังไม่คุยภท. ดึงกัญชากลับเป็นยาเสพติด ยันเห็นตรงกัน ต้องฟังความเห็นทุกภาคส่วน
“โฆษกรบ.” ซัดยับ พวกวิจารณ์ด้อยค่าข้าว 10 ปี ชี้วาทกรรมลวงโลก “ข้าวเน่า”
2 คนร้ายโจรกรรม จยย.หนุ่มผู้ช่วยกุ๊ก ชาวบ้านผวาหนักเกิดเหตุบ่อยครั้ง ตร.นิ่งเฉยไม่ตามจับ
อดีตตำรวจอุ้มฆ่าคนตาย หนีคดีนาน 10 ปี สอบสวนกลางตามจับ พยายามหยิบปืนยิงสู้ สุดท้ายไม่รอด
"นายกฯ" ลั่นข้าวค้างโกดัง 10 ปี ถ้าไม่ปลอดภัยไม่ขาย พร้อมให้หน่วยงานที่น่าเชื่อถือตรวจสอบ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น