No data was found

ใครจะรับผิดชอบ? สภาฯผู้บริโภคใช้งบฯ350ล.”บุญยืน”โยนสปน.เคลียร์ข้อหาจัดตั้งไม่ถูกต้อง

กดติดตาม TOP NEWS

ใครจะรับผิดชอบ? สภาฯผู้บริโภคใช้งบฯ350ล."บุญยืน"โยนสปน.เคลียร์ข้อหาจัดตั้งไม่ถูกต้อง

อัพเดทความคืบหน้าการตรวจสอบประเด็นความไม่ชอบ จากการจดจัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 เนื่่องจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ความเห็นชอบจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น งบเงินอุดหนุน เป็นจำนวน 350 ล้านบาท ให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อเป็นทุนประเดิมเบื้องต้น และมีการเบิกจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวจากสำนักงบประมาณไปแล้วด้วย

โดยข้อมูลที่ Top Biz Insight นำเสนอไปก่อนหน้า เริ่มจากการที่ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นคำร้องต่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือ สปน. ให้ดำเนินการตรวจสอบ 151 องค์กรผู้บริโภค ที่มาแจ้งขอจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคเมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2563 ว่ามีความถูกต้องตามกฎเกณฑ์ กฎหมายกำหนดหรือไม่ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 12 ต.ค.2563

โดยครั้งนั้น นายศรีสุวรรณ ตั้งข้อสังเกตุถึงช่วงเวลาดำเนินการจัดตั้ง หรือ ก่อตั้งองค์กรผู้บริโภค ว่าค่อนข้างไม่ปกติ ขณะที่การจะใช้สิทธิเข้าชื่อกัน แจ้งต่อทะเบียนกลางเพื่อเป็นผู้เริ่มก่อการในการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคได้นั้น องค์กรผู้บริโภคนั้นๆ จะต้องดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภค “เป็นที่ประจักษ์” มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ปีตามที่กฎหมายกำหนด

แต่ปรากฎว่ามีตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค รวมตัวไปยื่นต่อนายทะเบียนกลาง เพื่อขอเป็นผู้เริ่มก่อการในการจัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภค กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในเวลาอันรวดเร็ว จึงเป็นที่สงสัยว่าองค์กรผู้บริโภคต่างๆ เหล่านั้น ได้ดำเนินการหรือมีผลงานในการคุ้มครองผู้บริโภคมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือไม่ อย่างไร เพราะถ้าองค์กรต่างๆ เหล่านั้นมีผลงานเป็นที่ประจักษ์จริงกันทุกองค์กร คงไม่มีปัญหาผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างแพร่หลายในขณะนี้ได้ และอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องมีสภาองค์กรผู้บริโภคก็ยังได้ เว้นแต่มีความพยายามที่จะจัดตั้งองค์กรผู้บริโภคขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง

ต่อมา “เครือข่ายสื่อมวลชนปกป้องผลประโยชน์ชาติ” นำโดย นายชัชวาลย์ คำไท้ ประธานเครือข่าย ได้นำข้อมูลหลักฐานบางส่วน เกี่ยวกับความไม่ชอบมาพากล เกี่ยวกับการจัดตั้ง เครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ในระดับท้องถิ่น ไปส่งมอบให้กับนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ดำเนินการขยายผลตรวจสอบ เนื่องจากพบมีการแจ้งข้อมูลเท็จ เพื่อนำไปใช้ดำเนินการจดแจ้งจัดตั้งองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ต่อนายทะเบียนจังหวัด ก่อนที่แกนนำเครือข่ายจะองค์กรเหล่านี้มารวมตัวเป็น 151 องค์กร แล้วยื่นจัดตั้ง สภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อดูแลเงินอุดหนุน 350 ล้านบาทจากรัฐบาล เนื่องจากตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า เครือข่ายองค์กรบางแห่งไม่ได้ดำเนินการจดแจ้งให้ถูกต้องกฎหมาย

รวมถึงเห็นว่าเป็นทางด้าน นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เป็นผู้เคยยื่นเรื่องนี้ให้ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จึงอยากให้มีการตรวจสอบกรณีดังกล่าวให้ถึงที่สุด ซึ่งปรากฎภายหลังจากการตรวจพยานหลักฐาน พบว่ามีอย่างน้อย 16 องค์กรผู้บริโภคระดับจังหวัดที่มีลักษณะจัดตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2564 นายศรีสุวรรณ จรรยา จึงเข้ายื่นคำร้องต่อปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะนายทะเบียนกลาง ตาม พรบ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค 2562 อีกครั้ง ด้วยเหตุสงสัยว่าองค์กรเหล่านี้อาจถูกจัดตั้งขึ้นมาลอยๆ หรือไม่ เพียงเพื่อให้ครบตามจำนวนเพื่อจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคได้

และการดำเนินการทั้งหมดเป็นไปตาม มาตรา 8 แห่งพ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค 2562 ซึ่งกำหนดไว้ว่า ผู้ใดเห็นว่าองค์กรของผู้บริโภคที่ได้แจ้งไว้ตาม มาตรา 6 มีลักษณะไม่ถูกต้อง ตาม มาตรา 5 ให้มีสิทธิยื่นคำคัดค้านพร้อมทั้งหลักฐานต่อนายทะเบียนกลางได้

และเมื่อนายทะเบียนกลางได้รับคำคัดค้านแล้ว ต้องดำเนินการสอบข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยโดยเร็ว ในกรณีที่เห็นว่าองค์กรของผู้บริโภคนั้นมีลักษณะไม่ถูกต้องตาม มาตรา 5 ให้เพิกถอนการรับแจ้ง พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ร้องและองค์กรของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องทราบ

นอกจากนั้น หากการสอบข้อเท็จจริงและวินิจฉัยองค์กรผู้บริโภคเหล่านี้ไม่มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะตามที่กฎหมายบัญญัติ ผู้ที่ร่วมจัดตั้งย่อมเข้าข่าย “แจ้งความเท็จต่อเจ้าหน้าที่รัฐ” ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ที่บัญญัติไว้ความว่า “ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

สมาคมฯ จึงขอให้นายทะเบียนกลางดำเนินการเอาผิดบุคคลและหรือองค์กรผู้บริโภคนั้น ๆ ตามกฎหมายข้างต้นหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องโดยเร็วต่อไปด้วย และถือเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคที่ผ่านมาไม่สมบูรณ์ อาจถือเป็น “โมฆะ” ตามกฎหมาย การทำนิติกรรมใดๆขององค์กรดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะและจะกระทำมิได้

รวมถึงยังเข้ายื่นคำร้องต่อ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม เพื่อขอให้หน่วยงานในสังกัด อาทิ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ตรวจสอบองค์กรผู้บริโภค 152 องค์กรที่เข้าชื่อกันจัดตั้งเป็นสภาองค์กรของผู้บริโภคนั้น มีคุณลักษณะเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่

เนื่องจากเป็นที่สงสัยว่าองค์กรเหล่านี้ บางองค์กรอาจถูกจัดตั้งขึ้นมาลอยๆ เพื่อให้ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคหรือไม่ จึงได้ทำการสุ่มตรวจสอบองค์กรผู้บริโภคตามบัญชีรายชื่อที่ สปน.ประกาศในระดับจังหวัด ก็พบว่า องค์กรผู้บริโภคที่แจ้งไว้กับทางราชการนั้น ชาวบ้านในพื้นที่ไม่เคยรู้จักหรือได้ยินชื่อเลย และเมื่อตรวจสอบเชิงลึกโดยการพูดคุยกับผู้นำท้องถิ่น ชาวบ้าน ก็พบว่าหลายองค์กรไม่มีที่ตั้งตามที่แจ้งไว้ หรือไม่มีการทำกิจกรรมตามที่จดแจ้ง ชาวบ้านในพื้นที่ไม่รู้จักเลย

ซ้ำร้ายกว่านั้นที่อยู่ที่จดแจ้ง ในทะเบียนราษฎร์ไม่มีเลขที่นี้ในสารบบเลย บางองค์กรไม่มีที่ตั้ง ไม่มีคนที่อ้างว่าเป็นประธานเครือข่ายอยู่ในพื้นที่เลย อาจถือได้ว่ามีคุณลักษณะไม่เป็นไปตาม ม.6 ประกอบ ม.5 ของกฎหมายข้างต้น จึงได้ทำบันทึก ถ่ายรูป อัดคลิปเสียงของผู้ให้ข้อมูล และนำหลักฐานทั้งหมดมามอบให้กระทรวงยุติธรรม เพื่อขยายผลสอบ 152 องค์กรเพื่อเอาผิดบุคคลและหรือองค์กรผู้บริโภคนั้น ๆ และถือเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคที่ผ่านมาไม่สมบูรณ์อาจถือเป็น “โมฆะ” ตามกฎหมาย การทำนิติกรรมใดๆขององค์กรดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะและจะกระทำมิได้

ล่าสุด “สภาองค์กรของผู้บริโภค” ที่มี นางสารี อ๋องสมหวัง เป็นแกนหลักตั้งแต่เริ่มต้น โดยการนำรายชื่อองค์กรที่อ้างว่ามีการจดแจ้งสถานะความเป็นองค์กรผู้บริโภคต่อนายทะเบียนกลางและนายทะเบียนจังหวัดจากทั่วประเทศ จำนวน 152 องค์กร เข้ายื่นเรื่องต่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือ สปน. ขอเป็น ผู้เริ่มก่อการในการจัดตั้ง “สภาองค์กรผู้บริโภค ประเทศไทย ตาม พ.ร.บ. การจัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภค พ.ศ. 2562 ต่อผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานกิจการองค์กรของผู้บริโภค สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2563 และเคยอ้างถึงผลการตรวจสอบคุณสมบัติองค์กรของผู้บริโภค เพื่อการจดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค โดย สปน. ว่า กระบวนการทั้งหมดได้ผ่านมากว่า 1 ปีแล้ว จึงเป็นเหตุไม่ปกติ ที่บางฝ่ายจะนำเรื่องนี้มารื้อฟื้นตรวจสอบ

ได้จัดแถลงกรณีเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ เดินทางลงพื้นที่ตรวสอบ ตามคำร้องของ นายศรีสุวรรณ จรรยา โดยมี น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ในฐานะ ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) พร้อมด้วย นาง สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ให้ข้อมูลและตอบคำถามสื่อมวลชน

โดยเมื่อผู้สื่อข่าวท็อปนิวส์ สอบถามสภาองค์กรของผู้บริโภค ว่ายืนยันหรือไม่ว่า องค์กรสมาชิกที่ถูกตรวจสอบ จัดตั้งขึ้นถูกต้องตามกฏหมาย

ทางด้าน น.ส. บุญยืน ระบุว่า “… ดิฉันคงจะไม่สามารถยืนยันได้ว่า เขาเหล่านั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือเปล่า คนที่จะยืนยันได้คือสำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี เพราะเขาเหล่านั้น ไม่ได้มาขึ้นทะเบียนกับทางสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) และทางสภาฯ ไม่ได้มีหน้าที่ลงไปตรวจสอบ เพราะเขาเหล่านั้นอยู่ทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ดิฉันคงไม่มีปัญญาไปรับรองเขาได้ และบอกมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า ไม่ได้รู้จักทุกองค์กร ทางสภาองค์กรผู้บริโภคมีหน้าที่รวบรวมเท่านั้นเอง …”

และเมื่อผู้สื่อข่าวท็อปนิวส์ ถามต่อว่า มีบุคคลที่ถูกระบุว่าเป็นกรรมการขององค์กรยืนยันว่าถูกแอบอ้างชื่อ โดยไม่รู้เรื่องเลยแบบนี้สภาองค์กรผู้บริโภคจะชี้แจงอย่างไร

น.ส. บุญยืน แสดงท่าทีบ่ายเบี่ยงที่จะตอบคำถามนี้ โดยยืนยันว่าเป็นหน้าที่ของสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในการตอบเรื่องเหล่านี้ โดยการระบุเพียงสั้นๆว่า “… คนที่เขารู้ตัว่าไม่ใช่กรรมการมันคงเป็นไปไม่ได้ เพราะการตรวจสอบคือ เสมือนเป็นนักโทษ แล้วเอามานั่งเรียง แล้วถามเลยว่าคุณทำอะไร ที่ไหนอย่างไร แล้วมันจะมีคนไม่รู้เรื่องได้เช่นไร …”

และเมื่อถามว่า สภาฯเองเป็นองค์กรที่ถูกตั้งขึ้นตามกฏหมาย และใช้งบประมาณของประเทศ เมื่อมีการร้องว่าการจดจัดตั้งสภาฯไม่ถูกต้อง จึงมีความจำเป็นต้องมีกระกระบวนการตรวจสอบ เหตุใดสภาฯจึงมีความวิตกกังวล ถ้าหากการจัดตั้งเป็นไปตามกฏหมายทุกประการ

ทางด้าน นางสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เป็นผู้ตอบคำถามนี้ โดยระบุว่า “… ทางสภาองค์กรผู้บริโภค ไม่มีความกังวลใดๆในเรื่องการถูกตรวจสอบ แต่การตรวจสอบที่ผ่านมาเป็นการตรวจสอบที่ไม่ถูกต้อง และไม่เป็นไปตามกฎหมายด้วย มองว่าการตรวจสอบเป็นเรื่องปกติ …”

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พิพัฒน์" รุกพัฒนาแรงงานโลจิสติกส์ รับธุรกิจขนส่ง-การค้าระหว่างปท.ขยายตัว
เกษตรกร ชี้ซีพีเป็นรายเดียวเข้มนโยบายตรวจสอบย้อนกลับ ไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และที่มาจากการเผา รัฐควรบังคับเอกชนใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับทุกรายเท่าเทียม
"สหพัฒน์" จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 อนุมัติจ่ายปันผลหุ้นละ 2.00 บาท
อนุโมทนาบุญ "กรรชัย" เผยไม่รู้ "น้องภูมิ" จะบวช เล่าซึ้งเบื้องหลัง ช่วยรักษา แถมเคลียร์หนี้ให้แม่
“สนธิญา” รายงานตัวต่อศาลหลังถูกออกหมายจับคดี "พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์" ยันไม่มีพฤติการณ์หลบหนี
"บิ๊กต่าย" ย้ำปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมาย ปมสั่งเด้ง "บิ๊กโจ๊ก" ลั่นเป็นสิทธิ์ของเจ้าตัวยื่นร้องเรียน
"ทนายตั้ม" บุกจเรตำรวจ ยื่นคัดค้านแต่งตั้ง ก.ร.ตร. หลังพบเคยเป็นบุคคลคู่ขัดแย้ง
หนุ่มลูกครึ่งไทยอเมริกัน ดิ่งชั้น 8 คอนโดฯ ดับ
ชาวบ้านใกล้โรงงานเคมีไฟไหม้ ดับ 1 ราย ส่งศพชันสูตรว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องได้รับผลกระทบจากโรงงานหรือไม่
ผบ.ทร. ประดับเครื่องหมายยศ และ มอบประกาศนียบัตรให้แก่ นักเรียนจ่า และนักเรียนดุริยางค์ ประจำปี 2567

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น