No data was found

ไพบูลย์ จ่อหารือฝ่ายเลือกตั้งพปชร.เคาะเนื้อหาสุดท้าย แก้ 2 พ.ร.ป.

กดติดตาม TOP NEWS

กรุงเทพฯ 24 ต.ค.-  "ไพบูลย์" รอร่างแก้รธน. ประกาศใช้ก่อน จ่อยื่นร่างแก้ไข 2 พ.ร.ป. ให้รัฐสภา ชี้ยังมีเวลารอ ระบุขั้นตอนทำกฎหมายช้า-เร็วอยู่ที่การพิจารณาวาระสอง แย้มพร้อมหนุนร่างแก้ไขของพรรคร่วมรัฐบาล

นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พลังประชารัฐ ในฐานะประธานฝ่ายกฎหมาย และข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยถึงการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. พ.ศ.2561 และ การแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2561 ว่า หลังจากเปิดสมัยประชุมสภาฯ วันที่ 1 พ.ย. ฝ่ายกฎหมายของพรรค จะหารือกับฝ่ายเลือกตั้งและผู้ดูแลการเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐ เพื่อรับฟังความเห็นรวมถึงข้อเสนอต่อการแก้ไข พ.ร.ป. ทั้ง 2 ฉบับ ในการนำไปใช้ในการเลือกตั้ง ส่วนการยื่นร่างแก้ไขนั้น เบื้องต้นยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน แต่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ว่าด้วยระบบเลือกตั้ง มีผลบังคับใช้ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ตามที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย ระบุคือ จะมีเวลา 90 วันนับจากวันที่ทูลเกล้าฯ คือวันที่ 4 ต.ค. 2564 และจะครบเวลาดังกล่าว วันที่ 2 ม.ค. 2565

นายไพบูลย์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการยื่นร่างแก้ไข 2 พ.ร.ป.ในขั้นตอนของพรรคการเมือง ไม่จำเป็นต้องรอร่างแก้ไขของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ต้องรับฟังความเห็นของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่วนขั้นตอนของกกต.ที่เสนอเนื้อหาตนไม่ทราบว่าจะใช้เวลานานหรือไม่ แต่พรรคการเมืองสามารถเข้าชื่อ จำนวน 1 ใน 10 ของสมาชิกสภาฯ ได้โดยไม่ต้องรอ

“ผมเชื่อว่าการพิจารณาร่างกฎหมายลูกของรัฐสภายังมีเวลา และทำทัน หากทำไม่ทันในสมัยการประชุมหน้า ที่จะครบกำหนดเดือนกุมภาพันธ์ 2565 สามารถขอเปิดวิสามัญพิจารณาได้ หรือสามารถรอการเปิดสมัยประชุมครั้งถัดไปในปลายเดือนพฤษภาคม ส่วนการรับฟังความเห็นขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กกต. และศาลรัฐธรรมนูญ หลังรัฐสภาทำเนื้อหาเสร็จ มีรายละเอียดเพียงเนื้อหาที่ไม่เป็นปัญหาต่อการทำงานของ กกต. เท่านั้น และศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่พิจารณาถ้อยคำที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญเท่านั้น ส่วนตัวมองว่าสิ่งที่จะทำให้กระบวนการทำกฎหมายช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับการพิจารณาวาระสอง คือ ชั้นกรรมาธิการ” นายไพบูลย์ กล่าว

นายไพบูลย์ กล่าวถึงรายละเอียดของข้อเสนอแต่ละพรรคการเมืองที่จะเสนอแก้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่า ในส่วนของพรรคภูมิใจไทยที่รวมกับพรรคชาติไทยพัฒนา ที่กำหนดการคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่ให้ใช้เศษคะแนนคำนวณนั้น เบื้องต้นในหลักการการคำนวณสอดคล้องกัน คือ นำคะแนนรวมทั้งประเทศ หารด้วย จำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน เพื่อหาคะแนนส.ส.พึงมี ส่วนจะให้มีพรรคปัดเศษ หรือคิดเศษคะแนนไม่ถือเป็นสาระสำคัญ ดังนั้นสามารถรับหลักการและพิจารณาวาระสองได้ แต่ข้อเสนอของพรรคก้าวไกลที่จะให้ระบบ MMP นั้น ถือว่าขัดกับรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าส.ส.ของพรรคพลังประะชารัฐ พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์จะไม่สนับสนุน และส่วนตัวจะไม่รับหลักการ

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

รัสเซีย ปชช.ตบเท้ากลับประเทศหนุนเศรษฐกิจ
เนปาล ไฟป่ากระหน่ำ
ยูเออี- ดูไบผวา ฝนตกหนักซ้ำ
"นักธุรกิจดัง" ชักปืนปลิดชีวิตตัวเองดับคารถ ตร.เร่งสอบสาเหตุ
หอการค้าไทย Kick Off โครงการรวมพลังคนไทย บริจาคโลหิต ปี 2567 ต่อยอดโครงการ 9 แสนซีซี 90 ปี หอการค้าไทย เชิญชวนสมาชิกร่วมบริจาคโลหิต เพื่อใช้สำรองยามขาดแคลน
ไทยเนื้อหอม "โฆษกฯ" เผย "นักลงทุนต่างชาติ" ปักหมุดตั้งสำนักงานในไทยเพิ่ม
ข่าวดี กรมการจัดหางาน ขยายเวลาแรงงานอิสระกู้เงินกองทุนฯ ถึง 31 พ.ค. 67
สุดงง หนุ่มนั่งแท็กซี่ จากบางแคไปสุวรรณภูมิ มิเตอร์พุ่ง เกือบ 2 พัน
แทบช็อก ถางป่าหลังบ้าน เจอกะโหลก-กระดูกมนุษย์ กระจายเกลื่อน รีบแจ้งตร.เข้าตรวจสอบ
"อธิบดีสถ." โต้เพจดังปั่นข่าวปลอม แจงรัวโดนกล่าวหาเรียกเงินสมัครสอบขรก.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น