ในช่วงปี 2556-2559 มี 11 บริษัท ที่ส่งออกปลาชนิดหนึ่ง ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Blackchin tilapia แปลว่า ปลาหมอคางดำ ถึงกว่า 3 แสนตัว ออกไปยังปลายทาง 17 ประเทศ คือ ปากีสถาน, ตุรกี, คูเวต, อาเซอร์ใบจาน, ออสเตรเลีย, รัสเซีย, โปแลนด์, อิหร่าน, ซิมบับเว, แคนาดา, อียิปต์, เลบานอน, ญี่ปุ่น, อิสราเอล, UAE, มาเลเซีย และ สหรัฐอเมริกา กระทั่งปี 2560 ที่พบปลาหมอคางดำระบาดอย่างหนัก ทางกรมประมงประกาศให้เป็นปลาต้องห้าม จึงไม่มีการส่งออกอีกต่อไป
จนมาถึงปี 2567 ทางคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำเพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย จึงได้เรียก 11 บริษัท มาชี้แจง โดย 5 บริษัทที่เข้ามาให้การ ยืนยันว่าปลาที่ส่งไปนั้น เป็นปลาหมอเทศข้างลาย แต่เกิดจากที่ ผู้ดำเนินการส่งออก หรือ “ชิปปิ้ง” ได้กรอกชื่อผิด ถึง 212 ครั้ง ตลอด 4 ปี