“กรมทรัพยากรทางทะเลฯ” เตือนภัยนทท.ระวัง “มังกรทะเลสีน้ำเงิน” โผล่หาดกะรน ย้ำอย่าสัมผัส อันตรายถึงชีวิต

"กรมทรัพยากรทางทะเลฯ" เตือนภัยนทท.ระวัง “มังกรทะเลสีน้ำเงิน” โผล่หาดกะรน ย้ำอย่าสัมผัส อันตรายถึงชีวิต

“กรมทรัพยากรทางทะเลฯ” เตือนภัยนทท.ระวัง “มังกรทะเลสีน้ำเงิน” โผล่หาดกะรน ย้ำอย่าสัมผัส อันตรายถึงชีวิต

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

จากกรณีที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน (ศวอบ.) ได้รับข้อมูลผ่านทางสื่อออนไลน์เฟสบุ๊ค เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2568 เวลาประมาณ 19.00 น. ว่าพบทากทะเลสีน้ำเงิน หรือ มังกรทะเลสีน้ำเงิน (Blue Dragon) ถูกคลื่นซัดเข้าบริเวณหาดกะรน จังหวัดภูเก็ต คลื่นลมแรง (คลื่นสูงประมาณ 1-2 ม.) สร้างความสนใจให้กับผู้คนเป็นอย่างมาก ซึ่งก่อนหน้านี้เคยพบที่ชายฝั่งภูเก็ต ในช่วงเดือน ส.ค.2566

ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่าเป็นทากทะเลสีน้ำเงินที่มีพิษชนิด Glaucus sp. ขนาดประมาณ 0.5 ซม. โดยพิษมาจากการเก็บสะสมเข็มพิษจากเหยื่อที่กินเข้าไป ไม่สามารถผลิตเข็มพิษได้ด้วยตัวเอง พร้อมกันนี้ยังพบ แมงกะพรุนกะลาสี (Velella velella) และแมงกะพรุนแว่นตาพระอินทร์ (Porpita porpita) ซึ่งเป็นอาหารของทากทะเลสีน้ำเงินร่วมด้วย

 

 

สำหรับมังกรสีนํ้าเงิน เป็นทากทะเลสีสันสดใส ลำตัวสีน้ำเงินสลับสีขาว จัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่นเดียวกับหอยและปลาหมึก กินสัตว์ทะเลที่มีพิษเป็นอาหาร ทำให้มังกรทะเลสีน้ำเงินนี้มีสีสันสวยงาม ประกอบกับลักษณะของแขนขาที่มีรูปร่างพริ้วสยายคล้ายกับปีก จึงเป็นที่มาของชื่อว่า มังกรสีน้ำเงิน (The Blue Dragon) แม้จะมีขนาดเล็กแต่มีนิสัยดุร้าย พร้อมโจมตีเหยื่อและผู้บุกรุกด้วยพิษอันร้ายแรงที่จะเข้าไปทำลายระบบประสาทการทำงานของหัวใจและเซลล์ผิวหนัง ซึ่งไม่ได้ผลิตขึ้นเอง แต่จะสะสมพิษจากสัตว์ที่มันกินเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แมงกะพรุนพิษ ที่มีฤทธิ์คล้ายกับแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส หากสัมผัสถูกผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองอย่างรุนแรง จัดเป็นสัตว์ทะเลที่มีพิษร้ายแรงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก

 

ทั้งนี้หากพบเห็น ทากทะเลสีน้ำเงิน หรือ มังกรทะเลสีน้ำเงิน (Blue Dragon) บนชายหาดหรือในทะเล ห้ามเข้าใกล้หรือสัมผัสเด็ดขาด ให้แจ้งไลฟ์การ์ดบริเวณหาดกะรน หาดกะตะหาดป่าตอง หรือหาดอื่น ๆ เพื่อให้ช่วยกันเก็บตัวอย่าง ทั้งแมงกระพรุนเหรียญ มังกรทะเลสีน้ำเงิน และแมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกส หรือแจ้งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) แต่ถ้าหากถูกพิษแล้วสามารถใช้น้ำส้มสายชู ล้างบริเวณที่ถูกพิษเพื่อบรรเทาอาการและรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที นอกจากนี้ ขอให้ประชาชน ผู้ประกอบการ และนักท่องเที่ยวในพื้นที่ ระมัดระวังการพบเจอแมงกะพรุนหัวขวด (Bluebottle Jellyfish) ชนิด Physalia sp. ซึ่งเป็นหนึ่งในอาหารของทากทะเลสีน้ำเงินที่มีพิษ และมักพบแมงกะพรุนกลุ่มนี้หลังจากการพบเจอทากทะเลสีน้ำเงิน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อีอีซี จัดงานมอบตรารับรอง EEC Select Best Service 2025 ให้ 25 ผู้ประกอบการอีอีซี ยกมาทุกผลิตภัณฑ์ มอบ Gift Voucher ให้ช้อปฟรี
"ตร.สอบสวนกลาง" เปิดศูนย์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เปิดให้ปชช.แจ้งเบาะแสพระทำผิด
"นฤมล" สั่งการด่วน "ก.ค.ศ.-สพฐ." เดินหน้าบริหารอัตรากำลังการศึกษา เร่งแก้ปัญหาภาระครูล้นมือ
สึกแล้ว! อดีตเจ้าอาวาสวัดชูจิตฯ รับอ่อนต่อโลก โอนเงินกว่า 13 ล้าน ให้ ‘สีกากอล์ฟ’ 
"ฮุน มาเนต" มาใหญ่ จี้ 3 เงื่อนไข ไทยต้องเปิดด่านก่อน "ชาวเขมร" วุ่นหนัก เจอกม.เกณฑ์ทหารใหม่
ผู้ว่าฯ ฉะเชิงเทรา มอบเงินทุนกู้ยืมประกอบอาชีพให้กับคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ
สินค้าไทยในเกาะกงขาดตลาด พ่อค้าต้องซื้อจากเวียตนามทดแทนแต่ขายไม่ดี ขณะเจ้าของร้านสะดวกซื้อ ปิดหลังไม่มีนักท่องเที่ยว รับขายไม่ได้ ชี้ ร้านค้าหาย 90%
เข้าสู่วันที่ 20 มาตรการคุมด่านชายแดนตราด ตลาดค้าชายแดนริมทะเล เหลือเปิดแค่ร้านเดียวเจ้าของ เผย เหลือร้านเดียวก็เปิด บางวันขายได้บางไม่ได้บาง ยอมรับความมั่นคงต้องมาก่อน
ประธานกลุ่มประมงเรือเล็กบ้านคลอง(ลาวน) ร้องขอความเป็นธรรม ตรวจสอบนายทุนลุกล้ำป่าชายเลนที่ทำกินตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย
กรมส่งเสริมสหกรณ์ เดินหน้าปั้น "สมุนไพรไทย" สู่พืชเศรษฐกิจใหม่ เสริมแกร่งเครือข่ายเกษตรกรทั่วประเทศ ยกระดับมาตรฐานการผลิต–แปรรูป พร้อมดันไทยสู่ศูนย์กลางสมุนไพรคุณภาพในอาเซียน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น