“รัฐบาล” ห่วง ปชช. ช่วงวันสำคัญทางศาสนา เตือนทำบุญออนไลน์ เช็กก่อนโอน อย่าหลงกลโกงมิจฉาชีพ

“รัฐบาล” ห่วง ปชช. ย้ำเตือน ไม่ตกเป็นเหยื่อกลโกงมิจฉาชีพ ช่วงวันสำคัญทางศาสนา “ทำบุญออนไลน์ เช็กให้ชัวร์ก่อนโอน” คาดเงินสะพัด ประมาณ 6,000-8,000 ล้านบาท

“รัฐบาล” ห่วง ปชช. ช่วงวันสำคัญทางศาสนา เตือนทำบุญออนไลน์ เช็กก่อนโอน อย่าหลงกลโกงมิจฉาชีพ – Top News รายงาน

 

รัฐบาล

 

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2568 ที่ทำเนียบ นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ปัจจุบันพบว่า กลุ่มมิจฉาชีพมีวิธีในการสรรหาเหยื่อ เพื่อทำการหลอกลวง โดยบ่อยครั้งมักพบรูปแบบของการหลอกลวงมาในรูปแบบวิธีการ เช่น หลอกให้ลงทุน หลอกหารายได้พิเศษ และหลอกให้หลวงเชื่อใส่ข้อมูลส่วนตัว แต่อย่างไรก็ตามการแอบแฝง และวิธีการหลอกลวงของกลุ่มมิจฉาชีพ มักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้งเพื่อให้สามารถเข้าถึงประชาชนได้ทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะเวลานี้ ที่วันสำคัญทางศาสนา ทำให้กลุ่มมิจฉาชีพได้เล็งเห็นช่องว่าง ในการฉวยโอกาสผ่านวิธีการ อาทิ การหลอกโอนเงินไถ่ชีวิตโคกระบือ ช่วยเหลือสัตว์บาดเจ็บ เช่าวัตถุมงคล สะเดาะเคราะห์ หลอกให้ทำใบอนุโมทนาบัตรออนไลน์โดยอ้างเป็นการลดหย่อนภาษี เป็นต้น

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผย ถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ว่า ประเมินจากวันหยุดยาวตั้งแต่ 10-13 กรกฎาคม รวม 4 วัน จะมีผลต่อการเดินทางเข้าไปทำบุญ พร้อมกับการพักผ่อนค้างคืน 1-2 คืน ส่งผลต่อการใช้จ่ายช่วงวันอาสาฬหบูชา ต่อถึงวันเข้าพรรษา รวมประมาณ 6,000-8,000 ล้านบาท หรือ ขยายตัวจากปีก่อนประมาณ 2-3% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการสำรวจล่าสุดในปี 2566 ที่มีการใช้จ่าย 2 วันสำคัญนี้ รวม 6,477 ล้านบาท อีกทั้งคนไทยกว่า 80% ยังให้ความสำคัญต่อการทำบุญไหว้พระ ในเทศกาลวันทางศาสนา

 

นายอนุกูล ระบุอีกว่า “ผลการสำรวจสถานการณ์ การถูกหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์ ของศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) ในปี 2566 พบผู้เคยถูกหลอกลวงโดยอาศัยความสงสาร หรือความสัมพันธ์ จำนวน 2.65 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายจำนวนรวมสูงถึง 2.3 พันล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนหนึ่งตกเป็นผู้เสียหายถูกหลอกลวง จากการขอรับบริจาคช่วยเหลือ หรือการระดมเงินทำการกุศล โดยหากพิจารณาจำแนกตามกลุ่ม Generation จะพบว่า กลุ่ม Gen Z และ Gen Y เป็นกลุ่มที่ถูกหลอกลวงในลักษณะดังกล่าวอยู่ที่ 13% และ 10% ตามลำดับ มากกว่ากลุ่ม Gen X และ Baby Boomer”

นายอนุกูล กล่าวต่อว่า เพื่อสร้างความตระหนักรู้เท่าทัน ต่อกลโกงของกลุ่มมิจฉาชีพ และวิธีการที่กลุ่มมิจฉามักใช้ในการหลอกลวงเหยื่อ รัฐบาลขอย้ำเตือนประชาชนควรระมัดระวัง ก่อนจะทำบุญหรือโอนเงินช่วยเหลือออนไลน์ ควรตรวจสอบช่องทางการช่วยเหลือ หรือทำบุญก่อนทุกครั้ง ห้ามคลิกหรือโอนเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านเว็บไซต์และข้อความที่มีการส่งต่อผ่านทางสังคมออนไลน์ โดยไม่มีแหล่งที่มา หากไม่มั่นใจสามารถตรวจสอบบัญชีเบอร์โทร หรือเว็บไซต์ได้ที่ www.checkgon.go.th ซึ่งเป็นช่องทางของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งนี้ ก่อนการโอนเงินอย่าลืมเช็กชื่อบัญชี หมายเลขบัญชีทุกครั้งว่าตรงกับบัญชีที่ได้มีการแจ้งไว้หรือไม่ และหากพบเห็นพฤติกรรมที่อาจเป็นมิจฉาชีพ สามารถเบาะแสได้ที่ https://www.thaipoliceonline.go.th

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เปิดคลิปใหม่ "สีกากอล์ฟ" หึงหวงพระชั้นผู้ใหญ่ หลังเค้นมีสัมพันธ์หญิงอื่น
นายอำเภอเมืองสมุทรสาคร แจงปม "เจ้าอาวาส" วัดใหญ่จอมปราสาท หายตัว พร้อมคนขับรถ หลังมีข่าวโอนเงิน "สีกากอล์ฟ"
ฉะเชิงเทรา แถลงข่าวจับกลุ่มวัยรุ่นขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งเสียงดังในลักษณะก่อความเดือดร้อนรำคาญ
กัมพูชาจ่อออกกม.เล่นงานฝ่ายค้านปมวิจารณ์ปัญหาพรมแดนไทย
"สำนักพุทธฯ" ตั้ง กก.สอบพระโยง "สีกากอล์ฟ" ชิงลาสิกขาบท ใช้เป็นแนวร่างกม.ฟันโทษจำคุกสูงสุด 7 ปี ปรับ 1.4 แสนบาท
"คปท." แถลงการณ์ 3 ข้อ ฉะรัฐบาลล้มเหลว ปล่อยนักโทษแทรกแซง บริหารบ้านเมือง
ผู้เสียหายชาวจีน วอนตำรวจไทยเร่งล่าโจรอุ้มปล้นสูญทรัพย์กว่า 2.3 แสนบาท ผกก.ยัน เป็นแก๊งตำรวจเก๊
วันหยุดยาวคึกคัก มทภ.2 ตรวจเยี่ยม 3 ปราสาท ต้อนรับประชาชนท่องเที่ยว ให้กำลังใจทหารปฏิบัติงานชายแดน
"มาริษ" ย้ำแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์บน "เวทีอาเซียน" หลายประเทศ พร้อมร่วมมือ
"วิสุทธิ์" รับเสียงรัฐบาลปริ่มน้ำสส.ต้องช่วยระวัง มั่นใจ "นายกฯอิ๊งค์" รอดผิด ถ้าเกิดอุบัติเหตุ "ชัยเกษม" พร้อมแทน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น