“ศุภมาส” นำทัพ อว. ระดมทุกหน่วยงานลุยช่วยน้ำท่วม 68 รับมือน้ำ ตามนโยบายรัฐบาล พัฒนาระบบ AI ครบวงจร แอปเตือนภัยล่วงหน้า 48 ชั่วโมงในพื้นที่เฝ้าระวัง แบบเรียลไทม์

"ศุภมาส" นำทัพ อว. ระดมทุกหน่วยงานลุยช่วยน้ำท่วม 68 รับมือน้ำ ตามนโยบายรัฐบาล พัฒนาระบบ AI ครบวงจร แอปเตือนภัยล่วงหน้า 48 ชั่วโมงในพื้นที่เฝ้าระวัง แบบเรียลไทม์

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2568 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แถลงข่าว “อว. ขับเคลื่อนวิจัยและนวัตกรรมสู้ภัยน้ำ” ณ กระทรวง อว. โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวง อว. และผู้บริหารกระทรวง อว. เข้าร่วม ที่ห้องแถลงข่าวชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวง อว.

 

ข่าวที่น่าสนใจ

น.ส.ศุภมาส กล่าวว่า ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณฝนจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึงร้อยละ 5 และมีความเสี่ยงเกิดพายุหมุนเขตร้อน 1–2 ลูก ส่งผลให้บางพื้นที่อาจประสบภาวะน้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมฉับพลัน โดยเฉพาะภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ รัฐบาลจึงได้ยกระดับการบริหารจัดการน้ำให้เป็น “วาระแห่งชาติ” โดยมีแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ฟื้นฟูระบบนิเวศ ไปจนถึงการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการคาดการณ์และเตือนภัย โดยในส่วนของกระทรวง อว. ได้ระดมทุกหน่วยงานในสังกัดซึ่งมีความพร้อมในการรับมือสถานการณ์น้ำหลาก น้ำท่วม และภัยพิบัติทางธรรมชาติในฤดูฝนปีนี้ ด้วยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เชิงพื้นที่ บูรณาการเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการน้ำและแก้ปัญหาภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการพัฒนานโยบายและมาตรการ โดยให้มหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวง อว. เข้าไปมีส่วนร่วมกับพื้นที่และชุมชน เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมในระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยกลไกกองทุน ววน. ผ่านหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัย หรือ PMU โดยมี 5 หน่วยงานที่อยู่ในกระทรวง อว. ได้แก่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) หน่วยบริหารและจัดการทุนเพื่อพัฒนาพื้นที่ (บพท.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน (บพค.) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยธรรมชาติอย่างครบวงจร

 

 

รมว.อว. กล่าวต่อว่า หนึ่งในโครงการสำคัญที่ได้ดำเนินการแล้วคือ การจัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการสถานการณ์น้ำท่วม อว. เพื่อประชาชน โดยมีคณะทำงาน 3 ชุด รับผิดชอบครอบคลุมทุกระยะของภัย ได้แก่ การเฝ้าระวัง การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ และการฟื้นฟูหลังน้ำลด นอกจากนี้ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ได้ร่วมกับมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติในแม่น้ำสาย บริเวณชายแดนไทย–เมียนมา ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำถึงด่านแม่สาย จ.เชียงราย เพื่อรายงานระดับน้ำแบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชัน “ThaiWater” ซึ่งจะช่วยเตือนภัยล่วงหน้าได้ถึง 3–4 ชั่วโมงก่อนที่มวลน้ำจะมาถึง ขณะเดียวกัน ในแอปพลิเคชั่น “ThaiWater” กระทรวง อว. ยังพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ในชื่อ “พื้นที่เฝ้าระวังพิเศษ” ที่สามารถแจ้งเตือนน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากล่วงหน้า 48 ชั่วโมงในระดับตำบล ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ประเทศพัฒนาแล้วใช้ในการเตรียมการรับมือ

น.ส.ศุภมาส ยังกล่าวอีกว่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจในระดับพื้นที่ กระทรวง อว. ยังร่วมมือกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลน้ำระดับจังหวัด โดยมีเป้าหมายขยายให้ครบ 76 จังหวัด เพื่อสนับสนุนการทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัด และเสริมศักยภาพท้องถิ่นในการวางแผนและรับมือภาวะวิกฤติ พร้อมรับข้อสั่งการจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย ให้ สสน. และ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบริหารจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดในช่วงฤดูฝน โดยเน้นการสื่อสารกับประชาชนผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีผ่าน 3 แอปพลิเคชันเตือนภัยพิบัติ ได้แก่ 1.THAI DISASTER ALERT ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2.ThaiWater ของ สสน. และ 3.เช็คน้ำ ของ GISTDA

 

พร้อมกันนี้ ยังมีการบูรณาการกับเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การใช้โดรนเพื่อส่งอาหาร เวชภัณฑ์ และสำรวจพื้นที่ ในช่วงเกิดภัย, การพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์และแจ้งเตือนภัยดินถล่มด้วย IoT และ AI ซึ่งจะพร้อมใช้งานในเดือนกรกฎาคม รวมถึง ผลิตภัณฑ์ยับยั้งเชื้อโรคหลังน้ำลด ที่พัฒนาโดย สวทช. เพื่อใช้ฟื้นฟูบ้านเรือนและสถานที่สาธารณะ

 

“เราไม่รอให้เกิดวิกฤตแล้วค่อยลงมือ แต่เราเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า โดยใช้งานวิจัยและเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบ เพื่อไม่ให้ใครต้องเผชิญภัยเพียงลำพัง นี่คือพลังของงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นรูปธรรม และเกิดขึ้นจริงเพื่อประชาชน เรามีเป้าหมายร่วมกันในการลดความสูญเสีย ยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในระยะยาว เพื่อให้ประชาชนปลอดภัย เศรษฐกิจเดินหน้า และประเทศมีศักยภาพในการรับมือภัยพิบัติในอนาคตได้อย่างมั่นคง” น.ส.ศุภมาส กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ภูมิธรรม" แจงเหตุปะทะชายแดนช่องบก ยัน "ทหารไทย" จำเป็นยิง ป้องกันตน-อธิปไตยไทย  ขณะ "ผบ.ทบ." เรียกถกด่วน
นิคมหนองละลอก เดินหน้าส่วนขยายรองรับ EEC เปิดเวทีรับฟังเสียงประชาชนครั้งที่1 หวังพัฒนาอุตสาหกรรมคู่สิ่งแวดล้อมรองรับการเติบโต
ไม่รอด "ปอศ." รวบ “ตัวแม่” เบื้องหลัง 8 บริษัท หลีกเลี่ยงภาษี รัฐเสียหาย 800 ล้านบาท
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) 'โดรน'จีน 2,025 ลำ บินแสดงตระการตาในเซี่ยงไฮ้
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนออกแนวปฏิบัติโภชนาการ ยับยั้ง 'โรคอ้วน'ทั่วประเทศ
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) 'กานซู่-ไทย' กระชับสัมพันธ์ ดันวัฒนธรรม-ท่องเที่ยวโต
"โฆษกทบ." แจงเหตุปะทะชายแดนช่องบก "กัมพูชา" เปิดยิงก่อน ไทยจำเป็นตอบโต้ รอเจรจา 2 ฝ่ายเรื่องอ้างสิทธิ
หดหู่ใจ เปิดแชตสุดท้าย “สารวัตรจ๊อบ” ก่อนประสบเหตุ ฮ.ตก ตัดพ้อ เครื่องแทบบินไม่ได้!
จนท.ผนึกกำลัง "ทลายปาร์ตี้ยา" คาพูลวิลล่า พร้อมยึดยาเสพติด-ปืนเถื่อน อึ้งพบ “พอตยาเค” วัยรุ่นเสพอื้อ! 
"ทหารไทย-กัมพูชา" ปะทะเดือด ยิงสนั่นชายแดนช่องบก อุบลราชธานี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น