“ดีเอสไอ” ขนสำนวน 1.7หมื่น แผ่น คดีนอมินี บ.ไชน่า เรลเวย์ฯ ส่งอัยการฟ้อง 5 ผู้ต้องหา

“DSI" เตรียมขนลังสำนวนคดีนอมินี บริษัท ไชน่า เรลเวย์ฯ 46 แฟ้ม เอกสารกว่า 17,620 แผ่น ส่งอัยการสั่งฟ้อง 5 ผู้ต้องหา ”3 นอมินีไทย-ชวนหลิง จาง-บินลิง วู“ ภายในบ่ายวันนี้ ยืนยัน ไม่กดดันที่ต้องตรวจสอบองค์กรอิสระ (สตง.) ชี้ อำนาจการพิจารณาความผิดตาม พ.ร.ป.ป.ป.ช. - กฎหมายฮั้วประมูล ต่อผู้บริหารระดับสูงของ สตง. - เจ้าหน้าที่รัฐ เป็นอำนาจเต็มของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มั่นใจจะได้ตัว ”บินลิง วู“ ผู้ต้องหาชาวจีนรายสำคัญ เชื่อมโยงบริษัท ไชน่า เรลเวย์ฯ ที่กำลังหลบหนีกบดาน มาดำเนินคดีโดยเร็ว

“ดีเอสไอ” ขนสำนวน 1.7 หมื่น แผ่น คดีนอมินี บ.ไชน่า เรลเวย์ฯ ส่งอัยการฟ้อง 5 ผู้ต้องหา – Top News รายงาน

 

ดีเอสไอ

 

จากกรณีเมื่อวันที่ 22 พ.ค. กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) นำโดย คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษที่ 32/2568 ความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 หรือคดีนอมินี บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ได้มีการประชุมภาพรวมสำนวนคดี และสรุปสำนวนพร้อมความเห็นสั่งฟ้อง 5 ผู้ต้องหา ได้แก่ นายประจวบ ศิริเขตร นายมานัส ศรีอนันท์ นายโสภณ มีชัย นายชวนหลิง จาง และนายบินลิง วู เสนอไปยังอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อพิจารณา ก่อนสั่งฟ้องไปยังพนักงานอัยการคดีพิเศษ ภายในกรอบเวลาสิ้นเดือน พ.ค. เพื่ออัยการพิจารณาสำนวนสั่งฟ้องต่อศาลอาญารัชดาภิเษกตามขั้นตอน นอกจากนี้ คณะพนักงานสอบสวนยังได้พิจารณาขยายผลสืบสวนความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือกฎหมายฮั้วประมูล ภายใต้การตรวจสอบสัญญา 3 ฉบับในโครงการก่อสร้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ประกอบด้วย สัญญารับเหมาก่อสร้าง สัญญาการออกแบบ และสัญญาการควบคุมงาน เพื่อหาผู้เกี่ยวข้องรายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ นิติบุคคล ที่มีพฤติการณ์ได้มาซึ่งสัญญาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย กระทั่งดีเอสไอส่งรายงานข้อมูลให้สำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวน เนื่องจากพบเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง ตามที่ได้มีการนำเสนอข่าวไปแล้วนั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 26 พ.ค. ที่ ศูนย์ราชการฯ อาคารเอ ประตูกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ประตู 3) ชั้น 2 ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษที่ 32/2568 ได้มีการสรุปสำนวน พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 หรือคดีนอมินี บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมความเห็นเสนออัยการสั่งฟ้อง 5 ผู้ต้องหา ประกอบด้วย กรรมการผู้ถือหุ้นชาวไทย 3 ราย คือ นายประจวบ ศิริเขตร นายโสภณ มีชัย นายมานัส ศรีอนันท์ กรรมการชาวจีน 1 ราย คือ นายชวนหลิง จาง และนายทุนชาวจีน 1 ราย ซึ่งอยู่นอกโครงสร้างของบริษัท ไชน่า เรลเวย์ฯ คือ นายบินลิง วู

 

กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ทุ่มเทสรรพกำลังในการสืบสวนสอบสวน โดยได้บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งในคดีนี้มีพยานเอกสารกว่า 17,620 แผ่น จำนวน 46 แฟ้ม

 

ขณะที่ ร.ต.อ.สุรวุฒิ รังไสย์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน เปิดเผยว่า วันนี้เป็นการสรุปรายละเอียดให้ฟังว่าคดีพิเศษที่ 32/2568 เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องตึก สตง.ถล่ม ซึ่งดีเอสไอได้ดำเนินการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้วในส่วนของความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฯ มาตรา 36 มาตรา 37 และมาตรา 41 จึงจะได้มีการนำสำนวนส่งพนักงานอัยการคดีพิเศษในช่วงบ่ายวันนี้ โดยมีจำนวนลังเอกสาร 46 ลัง เเละเอกสารกว่า 17,000 แผ่น พร้อมความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหา 5 ราย โดยมี 1 ผู้ต้องหากำลังหลบหนี (นายบินลิง วู) ทั้งนี้ พิกัดข้อมูลการสืบสวนว่าตอนนี้นายบินลิง วู หลบอยู่ที่ไหนนั้น ดีเอสไอได้มีการประสานงานกับตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เบื้องต้นผู้ต้องหายังหลบอยู่ในประเทศไทย มั่นใจว่าอีกไม่นานคงจะได้ตัวมาดำเนินคดี ส่วนจะมีใครให้ความคุ้มครองอยู่หรือไม่นั้น เรายังไม่มีข้อเท็จจริงในส่วนนี้ และยังไม่ขอลงรายละเอียดว่าผู้ต้องหาหลบอยู่ในพื้นที่ภาคใดของประเทศไทย ดังนั้น เมื่อจับกุมตัวได้เมื่อใด ก็จะนำตัวผู้ต้องหาพร้อมคำให้การส่งไปยังพนักงานอัยการในภายหลัง อย่างไรก็ดี หากผู้ต้องหาจะขอทำเอกสารขอความเป็นธรรม อันนี้เราไม่ทราบ ต้องแล้วแต่เทคนิกของแต่ละคน ส่วนตอนนี้เจ้าตัวยังไม่ได้มีการประสานขอเข้ามอบตัวแต่อย่างใด

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ร.ต.อ.สุรวุฒิ เผยอีกว่า หากภายหลังจากที่ดีเอสไอได้ส่งสำนวนพร้อมความเห็นสั่งฟ้องไปยังพนักงานอัยการคดีพิเศษ แล้วพนักงานอัยการเห็นว่ามีประเด็นที่อยากมอบหมายให้ดีเอสไอไปสอบสวนเพิ่มเติม กรณีนี้หากอัยการเห็นว่ามีเรื่องที่ดีเอสไอต้องสอบสวนเพิ่มเติม เราก็จะรับไปดำเนินการตามคำสั่งของอัยการ แต่ถ้าไม่มีประเด็นเพิ่มเติม อัยการก็จะมีอำนาจในการสั่งคดีไปยังศาล อย่างไรก็ตาม จากการทำสำนวนสอบสวนในตลอดเวลาที่ผ่านมา ดีเอสไอมีความมั่นใจว่าเนื้อหามีความครบถ้วนภายในระยะเวลาที่เรามี ซึ่งในตอนนี้พนักงานอัยการจะมีเวลาในการพิจารณาเนื้อหาสำนวนของดีเอสไอระยะเวลาหนึ่งฝาก หรือ 12 วัน

 

ร.ต.อ.สุรวุฒิ เผยด้วยว่า ที่ผ่านมา กรรมการชาวไทย 3 ราย (นายประจวบ ศิริเขตร นายมานัส ศรีอนันท์ ซึ่งถูกดีเอสไอแจ้งข้อกล่าวหาตามกฏหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวนั้น พวกเขาได้มีการส่งคำให้การที่เป็นรายละเอียดปีกย่อย ซึ่งมันสอดคล้องกับคำให้การที่เคยให้ไว้ก่อนหน้านี้ แต่ไม่ได้มีคำให้การที่เป็นประโยชน์ ซึ่งคำให้การส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะเป็นประโยชน์แก่ตัวเอง แต่ก็เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกัน อีกทั้งพยานหลักฐานค่อนข้างชัดเจนจึงมีความเห็นสั่งฟ้องทั้งหมด

ร.ต.อ.สุรวุฒิ เผยต่อว่า นอกจากนี้ ในส่วนของ 17 บริษัท ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวนั้น ดีเอสไอจะแยกทำสำนวนต่อไป เนื่องจากมีผู้ต้องหาชาวไทย 3 ราย ไปถือหุ้นในบริษัทอื่นในลักษณะคล้ายกัน จึงทำให้ดีเอสไอต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จสิ้น จึงคาดว่าจะแยกเป็นอีกหนึ่งคดีพิเศษ เพื่อตรวจสอบ 17 บริษัทเหล่านี้ โดยจะต้องไปตรวจสอบรายละเอียดโครงการที่บริษัทเหล่านี้ได้ประมูลไป


ร.ต.อ.สุรวุฒิ ระบุถึงกรณีที่ดีเอสไอได้มีการประสานข้อมูลสัญญา 3 ฉบับ เกี่ยวกับโครงการก่อสร้างสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ไปยัง ป.ป.ช. ว่า ในส่วนที่ดีเอสไอดำเนินการก็มีความไปเกี่ยวข้องในอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช. จึงคาดว่าจะส่งรายละเอียดให้ภายในสัปดาห์นี้ รวมถึงได้มีการประสานความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นคดีที่มีการกล่าวหาองค์กรอิสระและเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช. โดยดีเอสไอจะต้องนำส่งให้ภายในกรอบเวลา 30 วัน ซึ่งจะมีรายละเอียดเนื้อหาพฤติการณ์ทั้งหมดว่าเราพบข้อเท็จจริงประเด็นใดบ้าง โดยเบื้องต้นเกี่ยวข้องกับกฎหมาย 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวพันกันในส่วนของตำแหน่งหน้าที่ อย่างไรก็ตาม กรณีที่ดีเอสไอต้องส่งรายละเอียดให้ ป.ป.ช. เนื่องจากมีผู้มาร้องทุกข์กล่าวโทษเจ้าหน้าที่ อีกทั้งทราบว่า ป.ป.ช. มีการตั้งเรื่องไต่สวนไว้แล้วบางส่วน

“สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษในคดี สตง. ทราบว่ามีเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในราชการในปัจจุบันรวมอยู่ด้วย ส่วนจะมีผู้บริหารที่เกษียณไปแล้วหรือไม่ตนขอไม่ลงลึกในรายละเอียดภายในสำนวน และก่อนหน้านี้เราก็ได้มีการกล่าวหาในส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีบทบาทควบคุมงาน จำนวน 6 ราย ส่งไปยัง ป.ป.ช. เรียบร้อยแล้ว จึงทำให้ในเวลานี้ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า ทั้งหมดเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกัน และตามกฎหมายของ ป.ป.ช. มาตรา 30 ได้กำหนดให้ดีเอสไอต้องส่งสำนวนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐให้ ส่วนกฎหมายจะมอบหมายให้ดีเอสไอทำอย่างไรก็ถือเป็นอีกเรื่อง แต่ถ้าหากมอบหมายมาให้ทำ เราก็ยินดีทำ หรืออีกกรณีหากจะมอบหมายให้คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษไปร่วมเป็นคณะอนุฯ ทางเราก็ยินดีให้ความร่วมมือ เพื่อให้ความสนับสนุน” รองอธิบดีดีเอสไอ ระบุ.

ร.ต.อ.สุรวุฒิ ระบุต่อว่า หากจะตอบว่าในตอนนี้ถือว่ามีผู้บริหารของ สตง. ต้องมาร่วมรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวแล้วหรือไม่นั้น ตนเรียนว่าต้องเป็นอำนาจของ ป.ป.ช. ที่จะไต่สวน 100%

ร.ต.อ.สุรวุฒิ ระบุอีกว่า สำหรับเอกสารจำนวนมากที่ได้มาจากการตรวจค้นร่วมบูรณาการกับหลายหน่วยงาน ก็ยังคงอยู่ระหว่างดำเนินการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นต้น มีการแลกเปลี่ยนเอกสารระหว่างหน่วยงานตลอด มีความคืบหน้าอย่างไรก็จะเรียนแจ้งกันให้รับทราบ เพราะยังมีการแลกเปลี่ยนเรื่องเอกสารต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นผลตรวจคุณภาพวัสดุต่าง ๆ

 

ร.ต.อ.สุรวุฒิ ระบุต่อว่า กรณีว่าดีเอสไอมีความกดดันหรือไม่ที่ต้องตรวจสอบองค์กรอิสระนั้น ตนเรียนว่าตามกฎหมายแล้ว ระบุกำหนดไว้ว่า ต้องเป็นองค์กรอิสระตรวจสอบซึ่งกันและกัน จึงทำให้สำนักงาน ป.ป.ช. จะเข้ามามีบทบาทตรงนี้ ดีเอสไอเป็นเพียงผู้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ท้ายสุดแล้วคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะเป็นผู้พิจารณา พร้อมย้ำว่าเราไม่มีความกดดัน แต่เพียงแค่ว่าประสบปัญหาเรื่องของเอกสารที่ล่าช้า เพราะเอกสารบางส่วนไปอยู่ในตึก ทั้งนี้ ในส่วนของอีก 10 กว่าโครงการอื่น ๆ ที่กิจการร่วมค้า ITD-CREC ประมูลไปได้นั้น ดีเอสไอจะมีการขยายผลตรวจสอบต่อไปเช่นเดียวกัน จะต้องดูรายละเอียดว่าพบความผิดใดบ้างหรือไม่

 

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในบรรดา 5 ผู้ต้องหาดังกล่าว มี 3 ผู้ต้องหาที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจากศาลก่อนหน้านี้ (ในการฝากขังผัดที่ 1) คือ นายประจวบ ศิริเขตร นายโสภณ มีชัย นายมานัส ศรีอนันท์ ส่วนนายชวนหลิง จาง อยู่ระหว่างการฝากขังผัดที่ 1 ณ เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็น 1 ใน 17 ผู้ต้องหาในคดีของตำรวจ สน.บางซื่อ กรณีมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ตึก สตง. ถล่ม คดีอาญาที่ 621/2568 ส่วนนายบินลิง วู เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนสะกดรอยและการข่าว ยังอยู่ระหว่างเร่งติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทหารไทย-กัมพูชา" ปะทะเดือด ยิงสนั่นชายแดนช่องบก อุบลราชธานี
"โรงเรียนดัง" นครปฐม ประกาศปิดโรงเรียน หลังโควิค-19 ระบาดหนัก ป้องกันติดเชื้อเพิ่ม
อย่าลืมพกร่ม "กรมอุตุฯ" เตือน ทั่วไทยเจอฝนฟ้าคะนอง 35 จว. ฝนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน กทม.เจอฝน 70%
‘มูลนิธิยังมีเรา’ ร่วม ‘ท็อปนิวส์’ มอบทุนการศึกษา ถึงมือ “น้องอัครพนธ์” เยาวชนสู้ชีวิต ชัยภูมิ ต่อยอดโอกาสพัฒนาความรู้
กองทัพบก ย้ำคดีทำร้ายพลทหารใหม่ ศาลสั่งจำคุก 13 ราย ชี้ผิดทั้งวินัยและกฎหมาย
"ไผ่ ลิกค์" ลั่นนักการเมือง ติดต่อร่วมงาน "กล้าธรรม" เพียบ เสียงในสภาฯเกิน 30 แล้ว แจง. "สส.กฤษฏิ์" เข้าหารือ แก้ปัญหาในพื้นที่
"นฤมล" แถลงตั้ง "อนุดิษฐ์" นั่งปธ.ยุทธศาสตร์ พรรคกล้าธรรม เดินหน้าพัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยง ปชช. มั่นใจอนาคต ขยับสส.ได้ถึง 100
วงจรปิดจับภาพ คนร้าย ขี่ จยย. กระชากกระเป๋าสาวเดินริมถนนถูกลากไปตามถนนจนบาดเจ็บ
โรงงานเคมีจีนระเบิดที่มณฑลชานตง
"ณฐพร" แจงโดนกล่าวหาร่วมฟอกเงิน ที่ดินสหกรณ์คลองจั่น ศาลยกฟ้องคดีหลักแล้ว พร้อมสู้คดีรอง ลั่นมาจับเลยไม่ได้ ต้องมีหมายเรียก DSI

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น