“ดีอี” เตือน ข่าวปลอม “พายุหอยหมีเข้าไทย” สร้างความสับสน เข้าใจผิด ให้ปชช.

"ดีอี" เตือน ข่าวปลอม “พายุหอยหมีเข้าไทย” สร้างความสับสน เข้าใจผิด ให้ปชช.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ตรวจพบข่าวปลอมรายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “พายุหอยหมีเข้าไทย วันที่ 9-13 พ.ค. 68” รองลงมาคือเรื่อง “ตลาดทุเรียนราคาลดลง เนื่องจากรถขนส่งทุเรียนไทย ติดด่านจีนจํานวน 500 คัน” โดยขอให้ประชาชน อย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ เลือกแชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ อาจทำให้เกิดความวิตกกังวล สับสน และเข้าใจผิดในสังคม

นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (BDE) ในฐานะโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวถึงผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 9 – 15 พฤษภาคม 2568 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 817,414 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 623 ข้อความ

สำหรับช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 581 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 42 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 217 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 99 เรื่อง

ทั้งนี้ กระทรวงดีอี ได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 : นโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศ จำนวน 113 เรื่อง

กลุ่มที่ 2 : ผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายจำนวน 38 เรื่อง

กลุ่มที่ 3 : ภัยพิบัติ จำนวน 12 เรื่อง

กลุ่มที่ 4 : เศรษฐกิจ จำนวน 7 เรื่อง

กลุ่มที่ 5 : กลุ่มอาชญากรรมออนไลน์ จำนวน 47 เรื่อง

นายเวทางค์ กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจในลำดับต้นๆ ในสัปดาห์นี้ พบว่าเป็นยังคงเป็นข่าวเกี่ยวกับเรื่องของภัยพิบัติ โดยเฉพาะเรื่องพายุ ซึ่งขณะนี้กำลังเข้าสู่ช่วงฤดูฝน โดยอาจทำให้มีผลกระทบต่อสังคมส่วนใหญ่ ทำให้เกิดความเข้าใจผิด สับสน และวิตกกังวลได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความมั่นคงของประเทศ การให้บริการของหน่วยงานรัฐ และเรื่องของสุขภาพ ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ โดยข่าวที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่

อันดับที่ 1 : เรื่อง พายุหอยหมีเข้าไทย วันที่ 9-13 พ.ค. 68

อันดับที่ 2 : เรื่อง ตลาดทุเรียนราคาลดลง เนื่องจากรถขนส่งทุเรียนไทย ติดด่านจีน จํานวน 500 คัน

อันดับที่ 3 : เรื่อง กลุ่มผู้ก่อการร้าย 3 จังหวัดชายแดนใต้ ร่อนใบปลิวเตรียมก่อเหตุต่อชาวไทยพุทธ

อันดับที่ 4 : เรื่อง พบหมูเถื่อนปนเปื้อนเชื้อโรค นำเข้าจากจีน ส่งขายทั่วประเทศไทย

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อันดับที่ 5 : เรื่อง ตม. เปิดเว็บไซต์ TDAC สำรอง รองรับการลงทะเบียนเข้าประเทศ

อันดับที่ 6 : เรื่อง ผักชีฝรั่งเสี่ยงทำให้แท้งลูก

อันดับที่ 7 : เรื่อง ออมสิน เปิดลงทะเบียนให้กู้เงิน 1 แสนบาท 1,083 บาท ส่ง ดอกเบี้ย 0.5% คงที่ ติดต่อทาง TikTok

อันดับที่ 8 : เรื่อง ผู้รับจ้างขายงานอาคารสำนักงานเขตลาดกระบังแห่งใหม่ ที่ยังสร้างไม่เสร็จให้ทุนจีน

อันดับที่ 9 : เรื่อง จีนซื้อแพ็กเกจ VIP ผ่าน ตม. มีรถนำขบวนรับเข้าไทย

อันดับที่ 10 : เรื่อง กรมสรรพากร ส่งอีเมลแจ้งการไม่แสดงยอดภาษีที่ต้องชำระจริง

สำหรับอันดับ 1 เรื่อง “พายุหอยหมีเข้าไทย วันที่ 9-13 พ.ค. 68” กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดีอี ตรวจสอบพบว่าเป็นข้อมูลเท็จ โดยขอชี้แจงว่า ชื่อของพายุดังกล่าว ไม่มีในสารบบของรายชื่อพายุหมุนเขตร้อน ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงประเทศไทย มีแต่พายุฤดูร้อนที่เกิดขึ้นเท่านั้น โดยจะมีลักษณะเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนอย่าแชร์หรือส่งต่อข่าวดังกล่าว และติดตามข่าวพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยจากกรมอุตุนิยมวิทยาเท่านั้น

ในส่วนข่าวปลอมอันดับ 2 เรื่อง “ตลาดทุเรียนราคาลดลง เนื่องจากรถขนส่งทุเรียนไทย ติดด่านจีนจํานวน 500 คัน” กระทรวงดีอี ได้ตรวจสอบร่วมกับ กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง พบว่าเป็นข้อมูลเท็จ โดยขอชี้แจงว่า กรมศุลกากรได้ทำการตรวจสอบกับทางสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) ให้ข้อมูลว่า การติดสติ๊กเกอร์ CCIC ไม่มีผลต่อลำดับการตรวจของศุลกากรจีน โดยปัจจุบันศุลกากรหนานหนิง มีระบบที่ผู้ประกอบการสามารถยื่นเอกสารประกอบการนำเข้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง และระบบสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ นอกจากนี้ศุลกากรหนานหนิงยังมีมาตรการอำนวยความสะดวกเปิดช่องทางสีเขียวสำหรับการนำเข้าสินค้าผลไม้จากประเทศอาเซียนในทุกด่าน ตลอดจนการให้ Priority กับสินค้าผลไม้เป็นอันดับแรก

อย่างไรก็ตาม ดีอี มีความห่วงใยประชาชน เรื่องความตระหนักรู้เท่าทันข่าวปลอมที่ถูกแพร่กระจายบนสื่อออนไลน์ โซเชียล ซึ่งหากขาดความรู้เท่าทันส่งต่อข้อมูลข่าวปลอม ทำให้เกิดการหลงเชื่อ สร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เกิดความวิตกกังวล หรืออาจสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน หรือข้อมูลส่วนบุคคล และอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวหรือลิงก์เว็บไซต์ให้แน่ชัด

สามารถแจ้งเบาะแส ข่าวปลอม และอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ โทรสายด่วน 1111 (24 ชม.)
| Line ID: @antifakenewscenter | เว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“ไพศาล” เผยศาลฎีกา ส่งหมายนัดไต่สวนคดี “ทักษิณ” ถึงบ้านจันทร์ส่องหล้าแล้ว 13 มิ.ย.นี้ วันมหาระทึก
คุมตัว "อดีตเจ้าอาวาสวัดไรขิง-โบรกเกอร์สาวเว็บพนันฯ" ไปขออำนาจศาลฝากขัง
“ธีรชัย” ส่งจดหมายถึงกฤษฏีกา-ผู้ว่าฯ ธปท.ย้ำ G-Token ขัดกฎหมาย ปล่อยผ่านอาจสร้างผลกระทบกับประเทศ-ประชาชน
"ดีอี" เตือน ข่าวปลอม “พายุหอยหมีเข้าไทย” สร้างความสับสน เข้าใจผิด ให้ปชช.
"หมอวรงค์" ฟันฉับ แพทย์ยันชัด อาการป่วย "ทักษิณ" ผ่าตัดนิ้วล็อก-ไหล่ ไม่จำเป็นต้องนอนยาวชั้น 14
"กรมอุตุฯ" เตือน 46 จังหวัด รับมือฝนถล่มหนัก กทม.ไม่รอดร้อยละ 70 ของพื้นที่
นบ.ยส.24 จัด ตชด.237 ตรวจจับยาเสพติด วันเดียว 2 เคส ของกลาง 5 แสนเม็ด
"ปลาหมอบัตเตอร์" บุกทำลายระบบนิเวศในเขื่อนเขาแหลม
กมธ.จ่อถกคุณสมบัติแคนดิเดต กตป. จับตา "เอกธนัช" ชนักติดหลังอื้อ
"ป.ป.ช."โต้ข่าวเท็จ ยันทำถูกต้องตามกม. ส่งหนังสือเชิญ "พีระพันธุ์" รับทราบข้อกล่าวหา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น