“นฤมล” รุก 3 มาตรการคุมเข้มคุณภาพสินค้าผลไม้ไทย วาง 5 แนวทางบริหารจัดการผลผลิตช่วงฤดูกาล

"นฤมล" รุก 3 มาตรการคุมเข้มคุณภาพสินค้าผลไม้ไทย วาง 5 แนวทางบริหารจัดการผลผลิตช่วงฤดูกาล

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังจัดกิจกรรมนายกรัฐมนตรีพบปะผู้ประกอบการรับซื้อผลไม้ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ว่า ช่วงฤดูกาลผลไม้ ปี 2568 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้คุมเข้มคุณภาพสินค้าให้มีมาตรฐานและมีความปลอดภัย โดยดำเนินการผ่านคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ซึ่งได้บริหารจัดการผลไม้ฤดูการผลิต ปี 2568 เพื่อยกระดับเกษตรกรไทยผลิตผลไม้ คุณภาพได้มาตรฐานสู่ตลาดสากล ผ่าน 3 มาตรการ คือ

 

 

มาตรการที่ 1 ส่งเสริมการปรับเพิ่มผลิตภาพการผลิตผลไม้ โดยการยกระดับคุณภาพ บรรเทาและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการผลิตระดับสวน ตามมาตรการ GAP รวมถึงบริหารจัดการสภาพอากาศ ธาตุอาหาร น้ำ โรค แมลงศัตรูพืช

มาตรการที่ 2 เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม กำกับคุณภาพมาตรฐานสุขอนามัยพืช ตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่แปลงผลิต ล้ง ตลอดจนกระบวนการส่งออก กระจายตัวของผลผลิต โดยบริหารจัดการยืดระยะเวลาการออกผลสู่ตลาดนานขึ้น ทำให้ตลาดไม่กระจุกตัว มีข้อมูลในการวางแผนที่แม่นยำขึ้น ช่วยบริหารตลาดได้ดียิ่งขึ้น

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

มาตรการที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพกลไกตลาดสินค้าผลไม้ เน้นการทำงานแบบบูรณาการโดยคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคีเกษตรกร ภายใต้ 7 มาตรการ 25 แผนงาน ซึ่งได้เน้นย้ำให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อรักษามาตรฐานและยกระดับสินค้าเกษตรไทยอย่างเคร่งครัด ที่ผ่านมามีแผนติดตามและบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานบริหารจัดการผลไม้ ปี 2568 ในช่วงพฤษภาคม – มิถุนายน ที่กำลังจะออกผลผลิตสู่ท้องตลาด ได้แก่ เตรียมการบริหารจัดการน้ำ การควบคุมผลผลิตให้ได้มาตรฐาน ป้องกันการสวมสิทธิ์ การเพิ่มประสิทธิภาพห้องปฏิบัติการตรวจรับรองผล การสุ่มตรวจคุณภาพผลไม้อย่างเข้มข้น การส่งเสริมองค์ความรู้ให้เกษตรกรเตรียมการรับมือภัยแล้งและพายุฤดูร้อน (Climate Change) และประชาสัมพันธ์ให้เกิดการบริโภคผลไม้ในประเทศ รวมถึงอำนวยความสะดวกการค้าระหว่างแดนและข้ามแดน เป็นต้น

 

 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังดำเนินการผ่าน 5 แนวทาง ได้แก่ แนวทาง 1 บริหารจัดการผลผลิตโดยวางแผนการกระจายตัวของผลผลิต ใช้ข้อมูลในการบริหารจัดการ ยืดระยะเวลาการออกผล ทำให้ตลาดไม่กระจุกตัว ส่งผลให้ผลผลิตภาคตะวันออกและภาคใต้ไม่เกิดการกระจุกตัว แนวทาง 2 ควบคุมคุณภาพตั้งแต่แปลงปลูก ยกระดับมาตรฐาน GAP สำหรับทุเรียน ตั้งจุดบริการตรวจก่อนตัด ป้องกันทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาด แนวทาง 3 การบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกร เพิ่มบทบาทแปลงใหญ่และสหกรณ์ในการควบคุมปริมาณและคุณภาพผลผลิต แนวทาง 4 การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร จัดเกรดผลไม้ สำหรับผลผลิตที่ตกเกรด นำไปแปรรูป เป็นสินค้าเกษตรมูลค่าสูง เช่น ฟรีซดราย หรือนำไปสกัดทางเภสัชกรรม แนวทาง 5 การเพิ่มช่องทางการตลาด ส่งเสริมช่องทาง e-Commerce สำหรับเกษตรกร

 

 

ด้าน นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะเลขาคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสถานการณ์การผลิตผลไม้ 4 ชนิด ได้แก่ ลำไย มะม่วง ทุเรียน และมังคุด ในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ปี 2568 ที่มีจำนวน 3.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ที่มีปริมาณ 2.78 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 22%

โดย ลำไย ในภาคเหนือ ปี 2568 คาดว่ามีปริมาณ 1.64 ล้านตัน และลำไยในภาคตะวันออกคาดว่าปริมาณผลผลิต 2.1 แสนตัน และผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดถึง 60% ในเดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน

มะม่วง ในภาคเหนือ ปี 2568 คาดว่ามีปริมาณ 1.08 แสนตัน โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุด 50% ในเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม ส่วนมะม่วงในภาคตะวันออกคาดว่าปริมาณผลผลิต 33,000 ตัน และออกสู่ตลาดมากที่สุดถึง 60% ในเดือนพฤษภาคม

 

ทุเรียน ในภาคตะวันออก ปี 2568 คาดว่ามีปริมาณ 8.71 แสนตัน โดยผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดถึง 55% ในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน และทุเรียนในภาคใต้คาดว่าปริมาณผลผลิต 7 แสนตัน และผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดถึง 70% ในเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม

มังคุด ในภาคตะวันออก ปี 2568 คาดว่ามีปริมาณ 2.58 แสนตัน โดยผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดถึง 70% ในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน และทุเรียนในภาคใต้คาดว่าปริมาณผลผลิต 1.47 แสนตัน และผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดถึง 50% ในเดือนสิงหาคม

ทั้งนี้ ปริมาณผลผลิตไม้ผลทั้ง 4 ชนิด ในปีนี้เพิ่มขึ้นเนื่องจากปีที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญและสภาพอากาศแปรปรวน ปริมาณผลผลิตน้อย จึงทำให้ได้พักต้นสะสมอาหาร สภาพต้นสมบูรณ์พร้อมออกดอกติดผลได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับปีนี้สภาพอากาศหนาวเย็น เอื้ออำนวยต่อการออกดอกและติดผล โดยผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นทั้ง 4 ชนิด ประกอบกับทุเรียนที่ปลูกในระยะหลายปีที่ผ่านมา เริ่มให้ผลผลิตเป็นปีแรกเพิ่มขึ้น จำนวน 72,908 ไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.69

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) เซี่ยงไฮ้ต้อนรับ 'นักท่องเที่ยวต่างชาติ'พุ่งสูง คนไทยติดอันดับ
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) มวยไทย-ระบำเอ็งกอ ผูกโยงวัฒนธรรมไทย-จีน
ราชกิจจาฯ ประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ตามประเภทกิจการ พื้นที่กำหนด มีผลทันที
"หนุ่มถูกจับเมาขับ" หัวร้อน ทำร้ายตำรวจสิบเวรหน้าห้องขัง เหตุญาติไม่มาประกันตัว พาครอบครัวไหว้ขอขมาก่อนรับเพิ่ม 1 ข้อหา
"แม่ค้าก๋วยจั๊บ" สระบุรี  ดวงเฮง ถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 รับ 6 ล้านบาท ดีใจแจกก๋วยจั๊บให้ชาวบ้านทานฟรี
"กองทัพอากาศ" ร่วมหน่วยงานวิจัยภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ พร้อมผลักดันงานวิจัยสู่ "สายการผลิต" และ "ใช้งานจริง" ผ่านความร่วมมืออันแข็งแกร่ง
ผู้นำสหรัฐขู่ตัดเงินสนับสนุนธุรกิจอิลอน มัสก์
จีนขอไทยรักษาเสถียรภาพหลังนายกฯถูกพักงาน
สื่อทั่วโลกรายงานนายกฯไทยถูกศาลรัฐธรรมนูญพักงาน
ผู้ซื้อลอตเตอรี่นอร์เวย์สุดเซ็งหลังระบบคำนวนรางวัลผิด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น