No data was found

บันทึกประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ 6 ตุลา ใครอยู่เบื้องหลัง ใครได้ประโยชน์?

กดติดตาม TOP NEWS

บันทึกประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ 6 ตุลา ใครอยู่เบื้องหลัง ใครได้ประโยชน์?

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จอมพลถนอม กิตติขจร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเดินทางไปต่างประเทศทำให้รัฐบาลทหารหมดอำนาจ บ้านเมืองมีบรรยากาศเสรีภาพ และเกิดการเฟื่องฟูของความคิดฝ่ายซ้ายต่าง ๆ ตลอดจนการประท้วงของกรรมกรและชาวนาร่วมกับความไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง กลุ่มฝ่ายขวาซึ่งรู้สึกกังวลกับการรุกคืบของคอมมิวนิสต์ในประเทศเพื่อนบ้าน ใช้วิธีการก่อกวนขบวนการฝ่ายซ้ายจนมีผู้เสียชีวิตอยู่หลายโอกาส ขณะเดียวกัน มีฝ่ายกองทัพอย่างน้อยสองฝ่ายพยายามวางแผนให้เกิดรัฐประหารอีกครั้ง โดยฝ่ายหนึ่งใช้วิธีการนำตัว “อดีตผู้นำทรราช” กลับประเทศเพื่อหวังให้เกิดสถานการณ์บานปลาย

ช่วงปี 2518 ถึง 2519 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ในช่วงที่ประเทศเพื่อนบ้านเวียดนาม และลาว ที่รวมประเทศโดยคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีผลต่อสถานการณ์ในประเทศไทยอย่างมาก หลายฝ่ายเกรงว่าประเทศไทยจะเป็นเป้าหมายต่อไปของคอมมิวนิสต์ รัฐบาลคึกฤทธิ์ได้ปรับเปลี่ยนเพื่อตั้งรับกับสถานการณ์ ซึ่งในประเทศ

ช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2519 จอมพลประภาส จารุเสถียร และจอมพลถนอม กิตติขจร เดินทางกลับประเทศ ซึ่ง ครอบครัวจอมพลถนอม สื่อสารผ่าน ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ว่า จอมพล ถนอม ต้องการอยากกลับบ้านเพื่อดูแลพ่อที่ป่วยชรา โดยไม่คิดเรื่องกลับมามีอำนาจหรือล้างแค้นใคร ซึ่งขณะนั้นพักอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ แต่ด้วยไม่มีพระอุปัชฌาย์บวชให้จึงได้เพียงการบวชเณรกลับประเทศแล้วมาบวชเป็นภิกษุที่วัดบวรนิเวศวิหาร ในวันที่ 19 กันยายน 2519 ท่ามกลางนักศึกษาปักหลักประท้วงที่สนามหลวง และย้ายไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน

ขณะที่ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.)และสภาแรงงานแห่งประเทศไทย ได้คัดค้านและขอให้รัฐบาลเนรเทศพระถนอม ออกนอกประเทศ การชุมนุมคัดค้านก็ขยายวงไปเรื่อยจนกระทั่งวันที่ 24 ก.ย. 19 เกิดคดีที่วิชัย เกตุศรีพงศา กับชุมพร ทุมไมย นายช่างตรีสังกัดการไฟฟ้า เขตนครปฐม ซึ่งร่วมกิจกรรมปิดโปสเตอร์ประท้วงที่ตำบลพระประโทน จังหวัดนครปฐม ถูกทำร้ายจนเสียชีวิตแล้วนำศพไปแขวนคอไว้หน้าประตูทางเข้าที่ดินจัดสรรแห่งหนึ่ง สันนิษฐานว่าเจ้าหน้าที่เขตนครปฐมเป็นผู้ลงมือ

1 ต.ค. ศนท. จัดการชุมนุมใหญ่ ที่หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมหาวิทยาลัยยกเลิกการสอบและปิดวิทยาเขต นักศึกษาเริ่มชุมนุมในพื้นที่มหาวิทยาลัย

4 ต.ค. นักศึกษา(วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ,อนุพงศ์ พงศ์สุวรรณและอภินันท์ บัวหภักดี)ชมรมศิลปการแสดงของธรรมศาสตร์ จัดแสดงละครล้อเหตุฆ่าคนงานฝ่ายซ้ายที่จ.นครปฐม

5 ต.ค. หนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ และ ดาวสยาม ลงภาพการแสดงล้อการแขวนคอ สำหรับ ดาวสยาม ลงข่าวว่านักศึกษาที่แสดงเป็นเหยื่อ (วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์และอภินันท์ บัวหภักดี) มีใบหน้าคล้ายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารที่เพิ่งเสด็จฯ กลับประเทศจากประเทศออสเตรเลียในวันที่ 1 ตุลาคม 2519 ผู้ประท้วงจึงถูกกล่าวหาว่าแขวนคอรูปจำลองพระบรมวงศานุวงศ์ บางคนมองว่ามีการตกแต่งภาพให้นักศึกษาดูเหมือนสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารมากขึ้น
จากนั้น สถานีวิทยุยานเกราะของกองทัพบก นำโดย พันโท อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุทธยา กล่าวหาว่านักศึกษาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และประกาศให้ “ฆ่ามัน” และ “ฆ่าพวกคอมมิวนิสต์” เหตุการณ์นี้เปลี่ยนวาทกรรมจากการจ้องทำลายศาสนาพุทธในประเทศไทยมาเป็นความพยายามของนักคอมมิวนิสต์ในการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์และทำลายชาติไทย เย็นนั้น มีกำลังกึ่งทหารนิยมเจ้า 4,000 คน อยู่บริเวณประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ค่ำวันที่ 5 ตุลาคม แกนนำ ศนท. นำตัวนักแสดงมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนและติดต่อขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีในเช้าวันรุ่งขึ้นแกนนำ ศนท. ตัดสินใจว่าจะสลายการชุมนุมในวันรุ่งขึ้น และยังไม่สลายการชุมนุมในเวลากลางคืนเพราะกังวลเรื่องความปลอดภัย คืนวันที่ 5 ตุลาคมต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 6 ตุลาคม กลุ่มฝ่ายขวาพยายามก่อกวนผู้ชุมนุม เช่น ยิงปืนสั้นหรือเผาสิ่งของติดรั้วมหาวิทยาลัย พันตำรวจโท สล้าง บุนนาค อ้างว่าไปพบกับ “อาจารย์ธรรมศาสตร์” สามคนในเวลาใกล้เที่ยงคืน จัดเตรียมกำลังตำรวจปราบจลาจล และไปบ้านพักนายกรัฐมนตรีเมื่อ 2.00 น. โดยไม่ได้รับคำสั่งแต่การสรุปเหตุการณ์ของฝ่ายตำรวจมีความสับสน ทั้งยังมีการส่งตำรวจบางนายเข้าปะปนกับกลุ่มนักศึกษาด้วย

 

วันที่ 6 ตุลาคม ตำรวจปิดทางเข้าออกมหาวิทยาลัยไว้ทุกด้านตั้งแต่เวลาดึก ระหว่างเวลา 5.30–11.00 น. ตำรวจเปิดฉากใช้อาวุธสงครามหลายชนิดทั้งปืน เครื่องยิงลูกระเบิด ปืนต่อสู้รถถังและระเบิดมือเข้าปราบปรามผู้ประท้วง พลตำรวจโท ชุมพล โลหะชาละ รองอธิบดีกรมตำรวจ อนุญาตให้ยิงเสรี เกิดการยิงปะทะระหว่างสองฝ่ายช่วงสั้น ๆ ก่อนผู้ประท้วงเป็นฝ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว เป็นการใช้กำลังเกิดกว่าเหตุและขาดความชอบธรรม

ต่อมาในเวลา 18.00 น. คณะทหารที่เรียกตนเองว่า “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” ประกาศยึดอำนาจ ซึ่งมีพลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งเขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งในวันที่ 25 กันยายน 2519 แต่ก็ก่อการรัฐประหาร โดยมีแถลงการณ์ว่าการยึดอำนาจมีความจำเป็นเพราะนักศึกษาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและขัดขืนการจับกุมโดยมีอาวุธหนักและร่วมมือกับนักคอมมิวนิสต์เวียดนามอีกด้วย

สำหรับ เหตุการณ์ 6 ตุลาและรัฐประหารเป็นจุดสิ้นสุดของ “ยุคการทดลองประชาธิปไตย” ซึ่งมีอายุไม่ถึงสามปี และกระแสสังคมนิยมเสื่อมลง มีการตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีนายธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลมีความคิดขวาจัดและเกิดการกวาดล้างฝ่ายซ้ายอย่างรุนแรงทำให้บางส่วนหนีไปเข้ากับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยทำให้การก่อการกำเริบรุนแรงยิ่งขึ้น การเมืองต่อจากนี้ไม่มีกระทบผลประโยชน์ของชนชั้นนำอีก ไม่มีกระบวนการสอบสวนความจริงและชดเชยแก่ญาติผู้เสียหายของรัฐ มีแกนนำผู้ประท้วง 19 คนถูกฟ้องฐานพยายามก่อจลาจล แต่สุดท้ายรัฐบาลนิรโทษกรรมในปี 2521

 

แต่ในแง่มุมอีกด้านหนึ่งของรัฐบาลในช่วงเช้าวันนั้นที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรี และบรรยากาศการประชุม แสดงให้เห็นถึงเจตนาของกลุ่มบุคคล ที่อยู่ขั้วการเมือง กลุ่มซอยราชครูที่แสดงเจตนาชัด การเตรียมรัฐประหาร และการจัดการ กวาดล้างลัทธิคอมนิวนิสต์อย่างเด็ดขาด

โดยมีข้อเท็จจริงที่สังคมยังกังขา จากจดหมายของ นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขณะที่บวชเป็นพระ ได้เขียนจดหมาย 2 ฉบับ ถึง “เพื่อนอดีต ส.ส. และสมาชิกพรรค ประชาธิปัตย์” ในเดือนตุลาคม 2520 ที่ระบุว่า “ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีได้นัดคณะรัฐมนตรีประชุมด่วนเพื่อประเมินสถานการณ์และพิจารณาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้ผู้ชุมนุมทุกฝ่ายยุติการชุมนุม แต่ พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัน รมว.อุตสาหกรรม และรัฐมนตรีอื่นฝ่ายพรรคชาติไทยคัดค้านไม่ให้ประกาศภาวะฉุกเฉิน ไม่ให้ห้ามการชุมนุม โดยอ้างเหตุผลว่า หากห้ามการชุมนุม ลูกเสือชาวบ้านจำนวนมากที่นัดมาชุมนุมที่อนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าเดินทางเข้ามาชุมนุมมากแล้วและกำลังเดินทางมา ก็จะเดือดร้อนชุมนุมไม่ได้ แล้วจะหันมาเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล

 

เหตุผลการคัดค้านของพลตรีชาติชายอ่อน รัฐมนตรีส่วนมากนั่งเฉยแสดงว่าเห็นด้วยในการประกาศภาวะฉุกเฉิน พลตรีชาติชาย จึงได้ไปนำเอาพล.ต.ต.เจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัน ผู้เป็นหัวหน้าลูกเสือชาวบ้านคนหนึ่งของฝ่าย ตชด. เข้ามาในคณะรัฐมนตรี มาคัดค้านการประกาศภาวะฉุกเฉิน และกล่าวว่าจะต้องปราบนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้สิ้นซาก นายกรัฐมนตรีพูดว่าไม่ได้ คุณจะเอาลูกเสือชาวบ้านเอาประชาชนไปฆ่านักศึกษาประชาชนไม่ได้ หากเกิดจลาจลเป็นหน้าที่ของตำรวจทหาร บ้านเมืองมีขื่อแป คุณจะเอาประชาชนไปฆ่าประชาชนไม่ได้ พล.ต.ต.เจริญฤทธิ์ บังอาจโต้นายกรัฐมนตรีต่อไปว่า ลูกเสือชาวบ้านก็มีวินัยร่วมกับตำรวจทหารได้ ดูเหตุการณ์จากการกระทำของรัฐมนตรีฝ่ายพรรคชาติไทย และที่ไปนำพล.ต.ต.เจริญฤทธิ์ เข้ามาโต้เถียงกับนายกรัฐมนตรีแล้ว อาตมาเข้าใจได้ทันทีว่าพวกนี้ต้องวางแผนการปฏิวัติไว้แล้ว และเชื่อแน่ของพวกเขาแล้วว่าต้องสำเร็จแน่ ตำรวจยศพลตำรวจตรียังกล้าเถียงนายกรัฐมนตรีถึงในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร หัวหน้าพรรคชาติไทย รมต.เกษตรฯแสดงความเห็นในคณะรัฐมนตรีว่า เป็นจังหวะและโอกาสดีที่สุดแล้วที่จะปราบปรามให้ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยให้ถูกลบชื่อหายไปจากประเทศ

ก่อนเที่ยงที่กำลังโต้กันเรื่องจะประกาศภาวะฉุกเฉินหรือไม่ โดยรัฐมนตรีฝ่ายประชาธิปัตย์ให้ประกาศ รัฐมนตรีฝ่ายพรรคชาติไทยไม่ยอมให้ประกาศ ทั้งๆที่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีการ่างประกาศไว้แล้ว ยังไม่เป็นที่ยุตินั้น พล.ต.ท.ชุมพล โลหะชาละ รองอธิบดีกรมตำรวจได้เข้ามารายงานในคณะรัฐมนตรีพร้อมกับร้องไห้โฮๆว่า ฝ่ายนักศึกษามีอาวุธปืนสงครามร้ายแรงระดมยิงตำรวจบาดเจ็บและตายจำนวนมาก ฝ่ายนักศึกษา ก็ตายเยอะ พูดพลางร้องไห้พลาง ตำรวจนครบาลสู้ไม่ได้จึงส่งตำรวจพลร่มและตชด.เข้าไปปราบปราม ต่อมา พล.ต.อ.ศรีสุข มหินทรเทพ อธิบดีกรมตำรวจเข้าไปรายงานเหตุการณ์ว่า ควบคุมสถานการณ์ในธรรมศาสตร์ไว้ได้แล้ว มีความสงบเรียบร้อยแล้ว นายกรัฐมนตรีถามว่า “ตำรวจตายกี่คนท่านอธิบดี” อธิบดีกรมตำรวจตอบว่า “ตำรวจไม่ตาย แต่บาดเจ็บไม่กี่คน” รัฐมนตรีจึงแสดงสีหน้าสงสัย อธิบดีกรมตำรวจหันไปมองพล.ต.ท.ชุมพล กำลังนั่งเช็ดน้ำตา จึงไม่รู้ว่าก่อนนั้นเขารายงานกันว่าอย่างไร อธิบดีกรมตำรวจจึงเดินออกจากที่ประชุมไป ต่อมา พล.ต.ต.กระจ่าง ซึ่งเป็นหัวหน้านำตชด.เข้าไปทำการควบคุมนักศึกษา 3,000 คนเศษไว้แล้วนั้น เข้ารายงานเหตุการณ์ในคณะรัฐมนตรี ท่านผู้นี้อาตมาไม่ทราบนามสกุล แต่อาตมายกย่องเขาอยู่จนบัดนี้ว่า เป็นตำรวจอาชีพ ผู้บังคับบัญชาสั่งไปทำงานก็ไปทำ แล้วมารายงานคณะรัฐมนตรีตามความเป็นจริง แต่สังเกตดูไม่เป็นที่พอใจของรัฐมนตรีฝ่ายที่ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ พล.ต.ต.กระจ่าง รายงานว่า “ปืนที่ยึดได้จากนักศึกษาเป็นปืนพกเพียง 3 กระบอก” คุณเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ รองนายกรัฐมนตรีถามว่าปืนอะไรที่เสียงดังมาก ดังปุดๆปึงๆ ใครยิง ฝ่ายเรายิงหรือฝ่ายนักศึกษายิง พล.ต.ต.กระจ่าง ตอบว่า ปืนอย่างนั้นนักศึกษาจะเอามาจากไหน ตำรวจยิงทั้งนั้น จนกระทั่งเที่ยง ปัญหาจะประกาศภาวะฉุกเฉินหรือไม่ยังตกลงกันไม่ได้ อาตมาจึงตัดบทด้วยการเสนอว่า มอบอำนาจนายกรัฐมนตรีก็แล้วกัน ท่านจะประกาศภาวะฉุกเฉินเวลาใด แล้วพักรับประทานอาหาร อาตมาถามพล.ต.ต.กระจ่าง เป็นการส่วนตัวนอกที่ประชุมว่า ยึดอาวุธจากนักศึกษาได้เพิ่มหรือไม่ พล.ต.ต.กระจ่างวิทยุถามไปยังที่ควบคุมนักศึกษาบางเขน ซึ่งเป็นศูนย์ฯ ได้รับตอบมาทางวิทยุว่า ได้ปืนจากนักศึกษาในธรรมศาสตร์เพียง 3 กระบอก เป็นปืนพกขนาด .22

ตอนบ่ายประชุมคณะรัฐมนตรีต่อ มีการพิจารณาร่างแถลงการณ์ ได้มีการแถลงการณ์บางตอนไม่ตรงความจริง อาตมาเป็นผู้คัดค้านไม่ให้ออกแถลงการณ์เท็จ ต่อมา พล.ต.ชาติชาย รมต.อุตสาหกรรมออกไปนอกห้องประชุมแล้ว พูดว่า ลูกเสือชาวบ้านที่ชุมนุม ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าเริ่มอึดอัดแล้ว เพราะไม่ได้รับคำตอบจากรัฐบาล

 

นายกรัฐมนตรีถามว่าเหตุการณ์สงบแล้วยังไม่กลับบ้านกันอีกหรือ พล.ต.ชาติชาย ตอบว่ายังไม่กลับ และเตรียมเดินขบวนมาทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอทราบคำตอบจากรัฐบาลตามข้อเรียกร้อง จึงมีรัฐมนตรีคนหนึ่ง จำไม่ได้ว่าใคร ถามว่าลูกเสือชาวบ้านเรียกร้องอะไร นายกรัฐมนตรีตอบว่า กลุ่มแม่บ้านได้ยื่นข้อเรียกร้องมาเมื่อวันก่อน พร้อมกับล้วงซองขาวออกจากเสื้อแล้วอ่านให้ฟังถึงข้อเรียกร้องของกลุ่มแม่บ้าน จำได้ว่ามีข้อเรียกร้องให้นาย สุรินทร์ มาศดิตถ์ นายชวน หลีกภัย นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ ออกจากรัฐมนตรี ให้จับ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ นายแคล้ว นรปติ และกรรมการพรรคสังคมนิยมทุกคน ให้ใช้กฎหมายป้องกันปราบปรามคอมมิวนิสต์โดยเด็ดขาด เมื่ออ่านข้อเรียกร้องจบ นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ข้อเรียกร้องให้รัฐมนตรีออกจากตำแหน่งเป็นสิ่งที่มากไป นายกรัฐมนตรีได้รับพระกรุณาแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ การออกจากตำแหน่งมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หากเห็นว่าไม่เหมาะสม ส.ส.ก็อาจลงมติไม่ไว้วางใจได้ การแถลงนโยบายในวันมะรืนนี้ (8 ตุลาคม 2519) เพื่อรับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร ก็มีสิทธิที่จะลงมติไม่ไว้วางใจได้ ประชาชนเพียงบางส่วนจะมาเรียกร้องแบบนี้เห็นว่าไม่ถูกต้อง

 

อาตมาประชุมคณะรัฐมนตรีด้วยความอดทน สิ่งที่จะพูดหลายครั้งแต่ไม่พูด แต่เฉพาะเรื่องข้อเรียกร้องของแม่บ้านกลุ่มหนึ่งนั้น อาตมาเห็นว่าจะต้องพูด เพราะมีรัฐมนตรีบางคนในพรรคชาติไทยเป็นผู้ร่วมก่อเรื่องขึ้นด้วย อาตมาจึงพูดว่า….. อาตมาไม่ได้หวงตำแหน่งรัฐมนตรี ยอมทำตามมติพรรค คำสั่งพรรค และดำเนินแนวนโยบายของพรรคอย่างเคร่งครัดทุกประการ “แต่เมื่อมาบีบบังคับกันด้วยเล่ห์การเมืองที่สกปรกแบบนี้ผมไม่ลาออก ผมจะสู้ สู้เพื่อศักดิ์ศรีของผม” เป็นคำพูดของอาตมาในวันนั้น หลังจากนั้น พล.ต. ประมาณ อดิเรกสาร พูดขึ้นว่า การใส่ร้ายป้ายสีกันก็มีทั้งนั้นละ นี่ก็มีข่าวว่าคุณดำรงไปพูดที่ขอนแก่นว่า ไม่ให้พรรคชาติไทยร่วมรัฐบาลอีก อาจารย์ดำรงพูดว่า ผมไม่เคยไปที่สถานีวิทยุขอนแก่น

 

หลังจากนั้น พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ ก็ออกจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ไม่นานลูกเสือชาวบ้าน และพวกเขาที่เตรียมไว้ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า โดยมีนายธรรมนูญ เทียนเงิน นายสมัคร สุนทรเวช นายส่งสุข ภัคเกษม และพวก ได้ไปร่วมอยู่ที่นั้นด้วย ก็เคลื่อนขบวนมาทั้งรถยนต์ และเดินมาล้อมทำเนียบรัฐบาลขณะฝนกำลังตกหนัก การประชุมคณะรัฐมนตรีเลิกประมาณ15 น.เศษ อาตมานั่งรถยนต์จากตึกไทยคู่ฟ้าไปตึกบัญชาการ ตั้งใจว่าจะทำงานอยู่ตามปกติ เพราะถือว่าตนไม่ได้ทำผิดอะไร แต่นายตำรวจคนหนึ่งยืนกรำฝนรออยู่และเตือนว่า “ท่านรัฐมนตรีรีบออกจากทำเนียบรัฐบาลเร็วที่สุด มิเช่นนั้นเป็นอันตรายถึงชีวิต” อาตมาก็ได้คิดและสั่งคนขับรถออกจากทำเนียบไปได้อย่างปลอดภัย….

 

จากหลักฐานสำคัญคือ จดหมายเกี่ยวกับ 6 ตุลา ของสุรินทร์ มาศดิตถ์ และสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของ พล.ร.อ.สงัด ชะลออยู่ และบรรดาผู้บัญชาการเหล่าทัพ ซึ่งเราจัดเป็นกลุ่มสี่เสาเทเวศม์ อาทิ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ วางแผนจะทำรัฐประหาร จนกระทั่งเกษียณอายุต้องออกจากราชการเมื่อ 1 ตุลาคม 2519 เพื่อนฝูงนายทหารผู้ใหญ่ก็หาว่า…เตะถ่วง ซึ่งความจริงจะว่าจริงก็ได้” จนกระทั่ง 6 ตุลา จึงลงมือเพราะมี “อีกฝ่ายหนึ่ง” กำลังจะทำตอนสองทุ่มคืนนั้น ซึ่งแสดงว่าการวิเคราะห์ของเราในปี 2519 ที่ว่ากระแสรัฐประหารครั้งต่างๆ โดยเฉพาะการนำเอาประภาสกลับในเดือนสิงหาคมและถนอมในเดือนกันยายน(อันนำไปสู่ 6 ตุลา) เป็นการกระทำของกลุ่มซอยราชครู ฝ่ายพรรคชาติไทย ไม่ใช่ของกลุ่มสี่เสาฯนั้น อาจจะไม่ผิดก็ได้

 

และหากประมวลเหตุการณ์นี้กับจดหมายของ สุรินทร์ แล้วก็เกิดคำถามว่า ถ้าในเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 นั้น กำลังตำรวจประเภทต่างๆได้บุกเข้าโจมตีการชุมนุมที่ธรรมศาสตร์โดยไม่ได้รับคำสั่งใดๆจากรัฐบาล ปัญหาที่เราต้องพิจารณาต่อไปคือ ใครเป็นผู้สั่ง? และสั่งเพื่อผลประโยชน์ของใคร? กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ ใครเป็นผู้บงการ?

 

ข้อมูล Wikipedia , เว็บไซต์ บันทึก 6 ตุลา , จดหมายจาก สุรินทร์ มาศดิตถ์

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"รัฐบาล" ฝ่าแรงเสียดทานทำประชามติ "แก้รธน." แจกเงินดิจิทัล สกัด"กองทัพ"ทำรัฐประหาร
“จุลพันธ์” ย้ำไม่เห็นความเป็นห่วง "ดิจิทัลวอลเล็ต" พร้อมแจ้งบอร์ดธกส.เดินหน้าตามมติครม.
"เต้ มงคลกิตติ์" ดอดซบปชป.แล้ว เข้ากราบ "ชวน หลีกภัย" ยอมรับสาเหตุร่วมเป็นสมาชิกพรรค
ศาลอาญาเพิกถอนหมายจับ “สนธิญา” คดีหมิ่น “พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์” นัดฟังคำพิพากษาอีกครั้ง 27 พ.ค.นี้
สศร.เตรียมมอบธง "Thailand Biennale ภูเก็ต ครั้งที่ 4" เปิดผลสำเร็จเบียนนาเล่เชียงราย  เงินสะพัด 2.4 หมื่นล้าน - จ้างงาน 8 พันอัตรา
"สุชาติ" เข้าทำเนียบ ดอดขึ้นตึกไทยคู่ฟ้าพบนายกฯ หลังมีชื่อเสียบนั่งรมต.
"รัฐบาล" ห่วงประชาชน แนะดูแสุขภาพ ช่วงอากาศร้อนจัด "กลุ่มเสี่ยง" เลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง
วธ.ปลื้มประชาชนแห่ร่วมงานวันสุดท้าย "ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์" ส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กระตุ้นเศรษฐกิจชาติ
Top News เดินหน้าชำแหละซ้ำ ปัญหาสลากฯแพง ผู้พิการร้องเข้าไม่ถึงโควต้าโดนสมาคมฯปิดกั้น "นอท" โผล่ขายเย้ยกม.
"ผบก.น.2" ยันไม่มี 2 มาตรฐาน ชี้พบเส้นเงิน 32 เส้นเชื่อมโยงเว็บพนัน BNK จ่อเรียกสอบ "บิ๊กต่อ"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น