“ทักษิณ” ไม่ป่วยวิกฤต! มติแพทยสภา ลงโทษ แพทย์ รพ.ตร.-รพ.ราชทัณฑ์ พักใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพ 2 ราย ตักเตือน 1 ราย

"ทักษิณ" ไม่ป่วยวิกฤต! มติแพทยสภา ลงโทษ แพทย์ รพ.ตร.-รพ.ราชทัณฑ์ พักใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพ 2 ราย ตักเตือน 1 ราย

“ทักษิณ” ไม่ป่วยวิกฤต! มติแพทยสภา ลงโทษ แพทย์ รพ.ตร.-รพ.ราชทัณฑ์ พักใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพ 2 ราย ตักเตือน 1 ราย

ข่าวที่น่าสนใจ

8 พฤษภาคม 2568 ที่อาคารมหิตลาธิเบศร กระทรวงสาธารณสุข แพทยสภานัดประชุมคณะกรรมการแพทยสภาชุดใหญ่ ซึ่งเป็นประชุมประจำเดือนพฤษภาคม โดยหนึ่งวาระของการประชุมวันนี้ คือการนำเสนอผลสรุปการสอบสวนจริยธรรมแพทย์ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองของแพทยสภา กรณีการพักรักษาตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ โดยมี ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา อุปนายกแพทยสภา คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการแพทยสภาชุดใหญ่มีประมาณ 70 คน ประกอบด้วย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ประมาณ 28 คณะ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข และผู้แทนนายแพทย์ใหญ่รพ.สี่เหล่าทัพ คือ เจ้ากรมแพทย์ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ จากการตรวจสอบข้อมูลทราบว่า มีคณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุมราวๆ 60 คน ในส่วนของผู้ที่ลาประชุมเบื้องต้นคือ ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา ติดภารกิจไปต่างประเทศ

สัดส่วนผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย นพ.โอภาสการกวินพงษ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบดีกรมการแพทย์ และพญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย ซึ่งปรากฏว่า กรรมการทั้ง 3 คนได้ส่งผู้แทนมา เข้าประชุมแทน เนื่องจากติดภารกิจ

 

ล่าสุด ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา อุปนายกแพทยสภาคนที่ 1 ได้แถลงมติประชุม กล่าวว่าในวันนี้ (8 พ.ค. 2568) ได้มีการประชุมคณะกรรมการแพทยสภา ครั้งที่ 5/2568 ประจำเดือนพฤษภาคม มีวาระสำคัญ คือ การพิจารณาคดีจริยธรรมของแพทย์ที่เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ในกรณีที่มีการกล่าวโทษแพทย์ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์และโรงพยาบาลตำรวจ ผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม

ที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาได้มีมติลงโทษแพทย์ 3 ท่าน โดยเป็นการว่ากล่าวตักเตือน 1 ท่าน ในกรณีประกอบวิชาชีพเวชกรรมไม่ได้มาตรฐาน และพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม 2 ท่าน ในกรณีให้ข้อมูลหรือเอกสารทางการแพทย์อันไม่ตรงกับความเป็นจริง

โดยระบุว่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ข้อมูลเอกสารทางการแพทย์ไม่ตรงกับความเป็นจริง ข้อมูลที่ได้รับไม่ได้มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจน ว่ามี “ภาวะวิกฤต” เกิดขึ้น จึงต้องมีการลงโทษพักใช้ใบประกอบอาชีพแพทย์ ไม่สามารถบอกได้ว่าพักใช้นานเท่าไหร่ เพราะต้องรอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข

 

 

ทั้งนี้แพทยสภามีหน้าที่ต้องเสนอมติต่อสภานายกพิเศษ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) เพื่อขอความเห็นชอบก่อนจะดำเนินการตามมติ ซึ่งเป็นขั้นตอนตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ต่อไปวันที่ 8 พฤษภาคม 2568

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่คณะกรรมการแพทยสภามีมติแล้ว จะนำเข้าที่ประชุมสภานายกพิเศษ ที่มีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข เป็นนายกสภาพิเศษ ภายในระยะเวลา 15 วัน เพื่อพิจารณาว่าจะมีความเห็นตามมติคณะกรรมการแพทยสภา หรือมีความเห็นแย้งหรือไม่

หากมีความเห็นตามมติที่ประชุมก็ลงนามรับรอง แต่หากมีความเห็นแย้งก็ส่งกลับเข้าที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาอีกครั้งเพื่อพิจารณา ซึ่งหากที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาเห็นว่า คำแย้งฟังไม่ขึ้นก็สามารถลงมติยืนยันตามมติเดิมได้ โดยใช้เสียง 2 ใน 3 หรือหากเห็นว่าคำแย้งมีเหตุผลสามารถฟังขึ้นก็จะมีการสืบสวน สวบสวนเพิ่มเติมต่อไป โดยใช้เสียง 1 ใน 3

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สภ.เมืองพัทยานำร่องภาค 2 อัพสกิลพัฒนาระบบวิเคราะห์อาชญากรรมแบบเรียลไทม์ผ่านโทรศัพท์มือถือ
สธ.แจงสถานการณ์ "โควิด" ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก แนะกลุ่มเสี่ยงดูแลสุขภาพ ไม่ประมาท หลีกเลี่ยงชุมชนแออัด
"พิชิต" ขยี้ซ้ำ 5 คนนี้ว่าอย่างไร "แพทยสภา" ชี้ "ทักษิณ" ไม่ป่วยวิกฤต ซัดนี่คือขบวนการโกหก
"อนุทิน" สั่งผู้ว่าฯ ชายแดนใต้ใช้ 4 แนวทางป้องกันเหตุไม่สงบ
ศาลอาญา ยกคำร้อง "ทักษิณ" ขอบินไปกาตาร์ ชี้เป็นหมายนัดส่วนตัว
"หมอตุลย์" เชื่อศาลฎีกาฯนำมติแพทยสภา "ทักษิณ"ป่วยไม่วิกฤต ประกอบไต่สวน รอดู "สมศักดิ์" วีโต้หรือไม่
"ภูมิธรรม" เชื่อ "ทักษิณ" ไปศาลฎีกาฯ ไต่สวนพ้นคุกก่อนคำพิพากษา มั่นใจผลตัดสินไม่กระทบเสถียรภาพรัฐบาล
"สรวงศ์" ย้ำมติแพทยสภา ปม "ชั้น 14" ไม่กระทบนายกฯ ขออย่าโยงเป็นเรื่องการเมือง
"ฉก.ลาดหญ้า กกล.สุรสีห์" ตรึงกำลังเข้มตลอดแนวชายแดน “บ้านพุน้ำร้อน”
"ผบช.ภ.9" เผยเหตุป่วนใต้เกิดขึ้นถี่ยิบ เค้นสอบ "17 ผู้ต้องสงสัย" ลอบก่อเหตุโหมไฟใต้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น