“ปตท.” ผ่านการรับรองระบบงานหน่วยตรวจสอบความใช้ได้-ทวนสอบก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ISO จากสมอ.

“ปตท.” ผ่านการรับรองระบบงานหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ISO จาก สมอ. และได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย (TVER) จาก อบก.

ถือเป็นอีกความสำเร็จสำหรับองค์กรธุรกิจระดับประเทศ ล่าสุด “ปตท.” โดยสถาบันนวัตกรรม ผ่านการรับรองระบบงานหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก ตามมาตรฐาน ISO 14065:2020 และ ISO/IEC 17029:2019 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) จำนวน 7 ขอบข่าย ได้แก่ อุตสาหกรรมด้านพลังงาน การส่งจ่ายพลังงาน ความต้องการการใช้พลังงาน อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมเคมี การขนส่ง และการดักจับและเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ใต้พื้นดิน ซึ่งพร้อมให้บริการการตรวจสอบและทวนสอบโครงการลด/ดูดกลับก๊าซเรือนกระจก เพื่อร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวไกลสู่มาตรฐานสากล

การรับรองระบบงานหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก ตามมาตรฐาน ISO 14065:2020 และ ISO/IEC 17029:2019 เป็นมาตรฐานสำหรับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบความใช้ได้ (Validation) และทวนสอบ (Verification) ข้อมูลด้านก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas: GHG) ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการว่าหน่วยงานที่ผ่านการรับรองมีการดำเนินงานด้วยความเป็นกลาง มีมาตรฐานการทำงานอย่างเป็นระบบ มีทักษะและความสามารถในการตรวจสอบและการทวนสอบข้อมูลก๊าซเรือนกระจกในภาคธุรกิจ

ISO 14065:2020 และ ISO/IEC 17029:2019 คืออะไร ?
•ISO 14065:2020 คือ มาตรฐานสากลที่กำหนดหลักการและข้อกำหนดสำหรับหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบการแสดงปริมาณข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงก๊าซเรือนกระจก
•ISO/IEC 17029:2019 คือ มาตรฐานสากลที่กำหนดหลักการและข้อกำหนดสำหรับความสามารถ การดำเนินการอย่างสม่ำเสมอคงไว้ซึ่งมาตรฐาน และความเป็นกลางของหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบที่ดำเนินกิจกรรมการตรวจสอบและรับรองข้อมูลทุกประเภท ไม่จำกัดเฉพาะก๊าซเรือนกระจก

ข่าวที่น่าสนใจ

มีความสำคัญต่อภาคธุรกิจอย่างไร ?
การได้รับรองระบบงานหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ISO 14065:2020 และ ISO/IEC 17029:2019 มีความสำคัญสำหรับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการแสดงข้อมูลได้อย่างมั่นใจว่าข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและทวนสอบนั้นอยู่บนหลักการพื้นฐานที่สมเหตุสมผลต่อการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความความยั่งยืนขององค์กร สนับสนุนการปฏิบัติตามกฎหมาย เพิ่มโอกาสและความยั่งยืนทางธุรกิจ

•เพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูลก๊าซเรือนกระจกที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองว่ามีความถูกต้อง ครบถ้วน มีคุณภาพ โปร่งใส และสอดคล้องตามมาตรฐาน
•เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และการเข้าถึงตลาดสากล องค์กรที่ต้องการเข้าร่วมตลาดคาร์บอนเครดิต ต้องมีข้อมูลก๊าซเรือนกระจกที่ผ่านการตรวจสอบและทวนสอบตามมาตรฐาน
•สร้างความน่าเชื่อถือ และลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ สร้างความไว้วางใจและมั่นใจให้กับนักลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการแสดงข้อมูล หากไม่มีการตรวจสอบและรับรองข้อมูลจากหน่วยงานที่ได้รับรองตามมาตรฐาน อาจเกิดความไม่โปร่งใส และนำไปสู่การสูญเสียความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงขององค์กร

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) เป็นกลไกภาคสมัครใจที่พัฒนาขึ้นโดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคธุรกิจลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและนำคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ที่เกิดขึ้นไปใช้แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายสำหรับชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร งานบริการ บุคคล หรือผลิตภัณฑ์ได้

ผู้ประเมินภายนอก (Validation and Verification Body: VVB) คือหน่วยงานที่ได้รับรองระบบงานและขึ้นทะเบียนจาก อบก. มีหน้าที่ให้การรับรองผลการตรวจสอบความใช้ได้ (Validation) ของโครงการลด/กักเก็บก๊าซเรือนกระจก ว่าโครงการนั้น สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของโครงการ T-VER และทวนสอบรับรองผลการลด/ดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (Verification) เพื่อตรวจสอบและยืนยันปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่โครงการสามารถลด/ดูดกลับได้จริง (คาร์บอนเครดิต) สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ที่ อบก. กำหนด โดยองค์กรที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็น VVB ของ อบก. จะสามารถให้บริการการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบโครงการที่ขึ้นทะเบียนภายใต้ T-VER ได้ตามขอบข่ายโครงการที่องค์กรได้รับรองระบบงานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

 

 

มีความสำคัญต่อภาคธุรกิจอย่างไร ?
กระบวนการตรวจสอบและทวนสอบจาก VVB เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญของโครงการ T-VER เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขของโครงการ และข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลด/กักเก็บได้มีความถูกต้อง โปร่งใส และมีความน่าเชื่อถือ โดยภาคธุรกิจต่างๆ สามารถพัฒนาโครงการลด/ดูดกลับก๊าซเรือนกระจกและนำคาร์บอนเครดิตที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองจากVVB และ อบก. แล้วไปใช้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและรายงานความยั่งยืนขององค์กรได้ รวมถึงเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยมีโครงการที่ช่วยลด/ดูดกลับก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Emissions) ตามที่ได้ประกาศไว้

•เพิ่มโอกาสพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกและรับรองคาร์บอนเครดิต
•ลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ให้แก่ภาคธุรกิจ องค์กรที่ได้รับคาร์บอนเครดิตจาก T-VER สามารถใช้ลดภาระทางด้านภาษีหรือกลไกราคาคาร์บอนอื่นๆ ได้
•สนับสนุนการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและ ESG คาร์บอนเครดิตจาก T-VER สามารถใช้เปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานความยั่งยืนองค์กร
•เพิ่มความสามารถการแข่งขันและส่งเสริมการลด/ดูดกลับก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

หลุดทุกข้อหา "อธิบดีอัยการ ภาค 6 " สั่งไม่ฟ้อง "ดร.พอล" ยื่นศาลขอปล่อยตัว ส่งถามผบช.ภ.6 เห็นแย้งหรือไม่
อบจ.ฉะเชิงเทรา เปิดโครงการฝึกสอนกีฬาให้กับนักเรียนและเยาวชน รุ่นที่ 3 ฟุตซอล เทควันโด กรีฑา
“ศุภมาส” นำอว. ร่วมสตม. คุมเข้มมหาวิทยาลัยรับนักศึกษาต่างชาติ เตรียมมาตรการสแกนหลักสูตร Non-Degree สุ่มตรวจไม่ปล่อยเกิดปัญหา
หนุ่มตกงานขับรถพุ่งชนนักเรียนประถมที่ญี่ปุ่น
ไรอันแอร์จะซื้อเครื่องบินจีนถ้าภาษีทรัมป์ดันโบอิ้งแพงขึ้น
"ดร.หนุ่ม" วัย 38 ปี ร้องถูกแก๊งคอลฯ บังคับคุยโทรศัพท์ 7 วัน 7 คืน สูญเงิน 8.5 ล้าน
"รัฐบาล" ย้ำอย่าตื่นตระหนก 2 พ.ค 68 ทดสอบส่งข้อความแจ้งเตือนภัย 5 พื้นที่
“ทนายทักษิณ” มั่นใจชี้แจงได้ หลังศาลตั้งองค์ไต่สวนปมชั้น 14 ยํ้ายึดหลักข้อเท็จจริง
“ภูมิธรรม” เผยผลหารือ GBC ไทย-กัมพูชา เลี่ยงปะทะปมปราสาทตาเมือนธม ให้กำลัง 2 ฝ่ายถอยกลับจุดเดิม หาข้อตกลงร่วมกัน
ระทึกจริง "อดีตสว.สมชาย" กาง ป.วิอาญา 246 ชี้ชัดอำนาจศาล วินิจฉัยเหตุ สั่งทุเลาจำคุก "ราชทัณฑ์" ให้ "ทักษิณ" นอนชั้น 14 เสี่ยงทำผิด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น