“โฆษกอสส.” แจงยึดคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กทม.ต้องจ่ายหนี้ “รถไฟฟ้าสีเขียว” ถ้าไม่มีเหตุควรอุทธรณ์

"โฆษกอสส." แจงยึดคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กทม.ต้องจ่ายหนี้ "รถไฟฟ้าสีเขียว" ถ้าไม่มีเหตุควรอุทธรณ์

“โฆษกอสส.” แจงยึดคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กทม.ต้องจ่ายหนี้ “รถไฟฟ้าสีเขียว” ถ้าไม่มีเหตุควรอุทธรณ์

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สืบเนื่องจากการที่นายนภาพล จีระกุล สก.บางกอกน้อย. ในฐานะประธานคณะกรรมการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ได้สรุปรายงาน พร้อมความเห็นให้ผู้บริหารกทม.พิจารณาเร่งชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง(O&M) รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 เพื่อลดภาระดอกเบี้ยวันละ 5.4 ล้านบาท

และทางด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระบุว่า จะนำผลการศึกษาของคณะทำงานสภากทม.ไปพิจารณาและปรึกษาทางด้านอัยการที่เป็นเจ้าของคดี เพราะขณะนี้ในส่วนของมูลหนี้ งวดที่ 2 ยังค้างอยู่ในชั้นการพิจารณาของศาลปกครอง

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : “สก.นภาพล” จี้ “ชัชชาติ” เร่งเคลียร์หนี้รถไฟฟ้าสีเขียว เสียดายภาระดอกเบี้่ยวันละ 5.4 ล้าน ควรใช้นำพัฒนากทม.

“ชัชชาติ” ยันเร่งเร็วสุด แจงรออัยการตอบข้อกม.จ่ายหนี้รถไฟฟ้าสีเขียว หยุดภาระดอกเบี้ยวันละ 5.4 ล้าน

 

 

ล่าสุดวันนี้ ( 11 เม.ย.) นายศักดิ์เกษม นิไทรโยค โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยกับ “ท็อปนิวส์” กรณีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกมาระบุต้องรอหนังสือตอบกลับ ข้อซักถามที่ส่งไปถึงอัยการเจ้าของคดี เกี่ยวกับการชำระหนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้แก่เอกชนว่า ในส่วนของอัยการต้องดูว่า นายชัชชาติ ถามในเรื่องอะไร ซึ่งอัยการจะตอบไปในเรื่องที่ถามมา ส่วนกรอบระยะเวลาการทำงาน จะเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายที่กำหนดไว้อยู่แล้ว เว้นแต่ว่า ทาง กทม.ระบุมาในหนังสือขอให้อัยการตอบภายในกี่วัน ยกตัวอย่างเช่นให้ กทม.ขอให้ตอบกลับภายใน 20 วันหลังจากได้รับหนังสือ ถ้าเป็นเช่นนี้อัยการจะตอบกลับภายใน 20 วันตามที่ กทม.ร้องขอ

 

เมื่อถามว่าก่อนหน้านี้ ศาลปกครองสูงสุดมีคำวินิจฉัยว่า กทม.ต้องชดใช้หนี้ให้แก่บีทีเอส ไม่ทราบว่าในส่วนนี้อัยการจะมีความเห็นอย่างไร นายศักดิ์เกษม กล่าวชี้แจงว่า โดยปกติหากศาลมีคำพิพากษาที่เด็ดขาด อัยการจะไม่ตอบข้อซักถามในเรื่องดังกล่าว เพราะเป็นเรื่องที่หน่วยงานราชการต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา

 

แต่หากเป็นกรณีที่ กทม.สอบถามอัยการว่า ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือสามารถอุทธรณ์ได้หรือไม่ ทางอัยการต้องดูว่า คำพิพากษาตัดสินว่าอย่างไร ที่สำคัญต้องดูหลักฐานทุกชิ้นว่ามีเหตุให้อุทธรณ์หรือไม่ และถ้าอุทธรณ์จะมีโอกาสชนะหรือไม่ อย่างไรก็ตามหากเป็นกรณีศาลปกครองสูงสุดเคยมีคำพิพากษาเป็นที่สุดให้ชำระหนี้เป็นบรรทัดฐานไว้แล้วนั้น ทางอัยการจะตอบคำถามกลับไปว่า ไม่สามารถอุทธรณ์ได้ และกทม.ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาอย่างเคร่งครัด เพราะถือว่าคดีเป็นที่สิ้นสุดแล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สนง.สลากฯ เปิดตัว ‘ยูนิฟอร์ม’ จำหน่ายสลาก N3 เพิ่มความสะดวกให้ผู้ซื้อ ยันไม่กระทบยอดขาย L6
ชาวอเมริกันหันมาเช่าไก่แก้ปัญหาไข่แพง
จีนช่วยเหลือ 'เมียนมา' เพิ่มเติม ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงเกือบ 2 หมื่นตัน
"แม่ทัพภาค 2 " แจงคำสั่งกองกำลังถอยชายแดน เลี่ยงเผชิญหน้าเฉพาะจุดปัญหา ยันทัพไทยยังคุมเข้ม "ตาเมือนธม"
เปิดงาน นมัสการปิดทอง หลวงพ่ออี๋ 7 วัน 7 คืน
“พีระพันธุ์” พร้อมแจงทุกประเด็น ยังไม่ทราบ ป.ป.ช.จะแจ้งข้อกล่าวหารมต.แจกถุงยังชีพติดสติกเกอร์พีอาร์
"โรงพยาบาล" ยอมรับให้เลือดผิดกรุ๊ปจริง เหยื่อก้อนปูนพระราม 2 หล่นทับ
จีนชี้หากสหรัฐต้องการเจรจาการค้าต้องยกเลิกภาษีก่อน
ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 2 พฤษภาคม 2568
MEA ผนึกกำลังสมาคมฟุตบอลฯ หนุน "ฟุตซอลไทยลีก 2025" พร้อมเปิดลีกอย่างเป็นทางการ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น