“วิศวกร” ยันต้องลดระดับซากตึก สตง. เพื่อความปลอดภัยในการรื้อถอน

"วิศวกร" ยันต้องลดระดับซากตึก สตง. เพื่อความปลอดภัยในการรื้อถอน

วันนี้ ( 10 เม.ย.) ผศ.ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกสภาวิศวกร เปิดเผยความคืบหน้าในการดำเนินการรื้อถอน ซากอาคารสตง. ที่พังถล่มว่า ตอนนี้เป้าหมายสำคัญ คือต้องพยายามลดระดับบริเวณด้านบนของซากอาคารที่ถล่มลงมาให้ได้ ไม่เช่นนั้น ก็จะเป็นความเสี่ยงต่อผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ด้านล่างและโซนอื่นๆ ซึ่งเป็นไปตาม แผนที่ได้มีการประชุมร่วม กับส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตอนนี้สามารถดำเนินการ นำลงมาได้ในระดับหนึ่งแล้ว แต่หากลดลงอยู่บริเวณที่จุดแบคโฮ สามารถอื้อมถึง ก็จะถือว่ามีความเสถียร

จะเห็นว่า การที่จะนำเศษซากปูน ที่อยู่ด้านบนสูงสุด ทำได้ยาก ถึงแม้จะนำแบคโฮขึ้นไปอยู่ใน บริเวณจุดใกล้เคียง ด้านบนแล้วก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ จึงใช้วิธีนำแผ่นคอนกรีต วางซ้อนประมาณ 5-7 ชั้น เพื่อปรับระดับให้แบคโฮขึ้นไปยืน และยื่นแขนไปให้สูงที่สุด เพื่อเกี่ยว ซากคอนกรีต และเหล็กลงมา โดยจะมีโดรนทำหน้าที่ในการบินสำรวจพื้นที่โดยรอบ การปฏิบัติงานในแต่ละครั้ง จะมีเจ้าหน้าที่วิศวกรรม คอยตรวจสอบความปลอดภัยก่อนที่จะให้เจ้าหน้าที่ขึ้นไปปฏิบัติงาน

ตอนนี้ เราต้องพยายามเอาแผ่นคอนกรีต ไม่ว่าจะเป็นแท่งหรือเป็นแผ่นพื้น ลงมาให้ได้มากที่สุด เพื่อให้สมดุลกับบริเวณด้านล่างที่เล็กลง และลดความชัน เพื่อลดความเสี่ยง และเครื่องจักรต้องยืนห่างพอสมควร และภาวนาให้ฝนอย่าตก ซึ่งฝนที่ตกลงมาเมื่อคืนนี้ ประเมินแล้วไม่ส่งผลต่อดินมาก ขณะเดียวกัน การวางตำแหน่งของเครื่องจักรหนักในพื้นที่จะมีการกำหนดจุด ให้เฉียงและห่างจากจุดตำแหน่งที่มีการขุดเจาะ

เมื่อเราแยกย่อยชิ้นแผ่นคอนกรีตแล้ว ก็จะเหลือแต่เหล็กที่พันกันไปพันกันมาจึงต้องใช้เครื่องจักรตัด ไม่ใช่เอาแก๊สกับลมไปตัดทั้งหมด ซึ่งการตัดเหล็กแต่ละครั้งในพื้นที่ ใช้ระยะเวลานาน รวมถึงมีวัสดุบางอย่างที่อาจจะติดไฟได้เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน แต่หากเหลือเหล็กเส้นประมาณ2เส้น ก็สามารถที่จะใช้แก๊สกับลมไปตัดได้ โดยเครื่องจักรหนักบางตัว ที่เข้ามาในพื้นที่ก็จะนำมาตัดเหล็ก เพราะมีประสิทธิภาพสามารถตัดได้อยู่ที่ประมาณ 20-30 เส้น ขณะที่แก๊สกับลมตัดเหล็กได้แต่ต้องตัดทีละเส้นรวมถึงตัดย่อยแผ่นคอนกรีต เพื่อให้น้ำหนักเหลือน้อย จากนั้นจึงจะใช้เครนยกออกมา

 

ส่วนแบคโฮ SK 1000 จะเป็นอีกหนึ่งเครื่องจักรหลัก ที่ช่วยได้มากในการสนับสนุนภารกิจในการรื้อถอนซากอาคาร ขณะที่เครน 600 ตัน ตัวสีเขียว เป็นอีกหนึ่งที่ช่วย ในการยกราก แผ่นคอนกรีตได้มาก บริเวณพื้นที่โดยรอบ ที่เป็นพื้นที่ราบ เครื่องจักรหนักส่วนอื่นๆ จะทำหน้าที่ทอย คือ โยกวัสดุซากคอนกรีต เหล็กเส้น ที่นำมากองรวมอยู่ที่พื้น หลบทางเพื่อให้วัสดุตัวต่อไปมาวางกองแทนที่

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนความกังวลว่า ในพื้นที่มีเครื่องจักรหนักจำนวนมาก จะเสี่ยงต่อการถล่มของซากอาคารหรือไม่นั้น ผศ.ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกสภาวิศวกร ระบุว่า จะมีตัวแผ่นกระจายแรง วางรองเครื่องจักรหนักทุกครั้ง เพื่อป้องกันการยุบตัวของดิน

ส่วนตัวมองว่า ขณะนี้ เครื่องจักรหนักถือว่า มีจำนวนเพียงพอแล้ว แต่ถ้าประชาชน จิตอาสา อยากจะมาช่วยสนับสนุนเครื่องจักรหนัก ก็ให้ติดต่อมายังกองอำนวยการร่วม เพื่อหมุนเวียนในการทำงาน ซึ่งตอนนี้ในพื้นที่มีการใช้เครื่องจักรหนักเต็มกำลัง ในการเปิดพื้นที่และย่อยแผ่นคอนกรีต สลับกับการยกออก

ส่วนระยะเวลาการรื้อถอนอาคาร สตง.นั้น ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน เนื่องจากต้องคำนึงถึงร่างผู้สูญหายที่ยังติดอยู่ภายในด้วย รวมถึงยังต้องมีการค้ำยันพื้นที่บางส่วนเพื่อ ส่วนเจ้าหน้าที่ยังคงทำงานกันอย่างเต็มที่ สภาพร่างกายมีเหนื่อยล้า อ่อนแรงกันบ้าง จึงต้องพักสลับเปลี่ยนกำลังขึ้นไปไปปฏิบัติงาน

 

 

 

สำหรับความคืบหน้าในการตรวจสอบความปลอดภัยในโครงสร้างของอาคารในพื้นที่กรุงเทพฯ นั้นกรมโยธาธิการและผังเมืองเร่งตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารภาครัฐ ล่าสุดมีการตรวจสอบอาคารแล้วกว่า 200 แห่ง พบว่า มี 2 อาคารที่จัดอยู่ในกลุ่มโครงสร้างไม่แข็งแรง หรือ “อาคารสีแดง” ที่ไม่สามารถใช้งานได้ในสภาพปัจจุบัน

ขณะเดียวกัน กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการตรวจสอบควบคู่กันผ่านระบบ Traffy Fondue รวมถึงการลงพื้นที่สำรวจ โดยเน้นการตรวจอาคารที่ไม่สูงมากนัก พร้อมประเมินสภาพความมั่นคงของโครงสร้างอาคาร แบ่งระดับความปลอดภัยออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ สีเขียว อาคารที่สามารถใช้งานและอยู่อาศัยได้ตามปกติ สีเหลือง อาคารที่ต้องกั้นพื้นที่บางส่วน ห้ามใช้งานเฉพาะจุดที่เสี่ยง สีแดง อาคารที่ไม่สามารถเข้าใช้งานได้เด็ดขาด

 

ในส่วนของอาคารที่พบว่าอยู่ในกลุ่ม “สีแดง” ขณะนี้กรมโยธาฯ ได้ร่วมกับสภาวิศวกร และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่ตรวจสอบเพื่อให้คำแนะนำเบื้องต้น และวางแนวทางการแก้ไข โดยจะพิจารณาร่วมกับวิศวกรผู้ออกแบบและเจ้าของอาคารเป็นหลัก

สำหรับอาคารขนาดเล็ก การซ่อมแซมหรือปรับปรุงโครงสร้างอาจไม่ซับซ้อนมากนัก แต่ในกรณีที่เป็นอาคารสูง การประสานกับผู้ออกแบบเดิมจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดวิธีการแก้ไขให้เหมาะสม ปลอดภัย และตรงตามมาตรฐานวิศวกรรม

นอกจากนี้ ยังมีการเปิดรับ วิศวกรอาสา เพื่อเข้าร่วมตรวจสอบอาคารในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ รองรับจำนวนอาคารที่ต้องตรวจสอบอีกมากในระยะต่อไป โดยเน้นความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"หมอวรงค์" เตือนเสี่ยงถึง "นายกอิ๊งค์" ถ้าศาลฎีกาฯ ไต่สวนเชื่อได้ว่า "ทักษิณ" ป่วยทิพย์
ครอบครัว "น้องการ์ตูน" แจ้งข่าว ขอยุติการรักษา ตัดสินใจให้น้องไปอย่างสงบ หลังต่อสู้รักษามายาวนานกว่า 10 ปี
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ช้างป่าแวะบ้านคน 'กินจุบจิบ' ที่สิบสองปันนา
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) 'รถยนต์บินได้'จีนแบรนด์หงฉี ดีไซน์แยกส่วนล้ำสมัย
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) 'ซากวัดพุทธ'ซินเจียงเผยหลักฐานการผสานของอารยธรรมจีน
“รัฐบาล” สุดปลื้ม ไทยติดอันดับ 7 ประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก
รวบ 2 คนไทย นายหน้าบัญชีม้ารายใหญ่ ส่งแก๊งคอลฯ ถูกบอสจีนตามล่า ตั้งค่าหัว 5 แสนบาท
"อุตุฯ" เตือน 36 จังหวัด รับมือพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง กทม.โดนด้วย
เปิดประสบการณ์สุดประทับใจ กลางชายหาด PATTAYA LIGHTING 2025 - FANTASEA THE ILLUMINATION ON THE BEACH 1-5 พ.ค.นี้
ตร.บุกช่วย "นศ.สาว" ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ข่มขู่ให้ "ขังตัวเอง" ลวงรีดเงิน "พ่อ-แม่" 4.5 แสน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น