“ดร.สามารถ” ห่วงหนัก ทางยกระดับ พระราม 2 เกิดเหตุซ้ำซาก จี้ตรวจสอบวิศวกร รับผิดชอบก่อสร้างมีใบอนุญาตหรือไม่

"ดร.สามารถ" ห่วงหนัก ทางยกระดับ พระราม 2 เกิดเหตุซ้ำซาก จี้ตรวจสอบวิศวกร รับผิดชอบก่อสร้างมีใบอนุญาตหรือไม่

วันที่ 17 มีนาคม2568 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ
พระราม 2 ถล่มซ้ำซาก วิศวกรมี “ใบประกอบวิชาชีพ” หรือไม่?

เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้เกี่ยวข้องกับโครงการทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก ซึ่งเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และมอเตอร์เวย์บนถนนพระราม 2 ซึ่งเป็นของกรมทางหลวง (ทล.) ล้วนเป็นวิศวกรกันทั้งนั้น เริ่มตั้งแต่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวง ไปจนถึงวิศวกรที่ปรึกษาของ กทพ. ซึ่งมีหน้าที่บริหารโครงการและควบคุมงานก่อสร้าง นายช่างคุมงานของ ทล. และผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งต้องมีวิศวกรเช่นเดียวกัน
ในกรณีของ กทพ.ที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นใกล้ด่านทางด่วนดาวคะนองตอนเช้ามืดของวันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2568 นั้น มีคนในแวดวงเดียวกันเป็นประธานกรรมการ กทพ. นั่นคือ นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวง นั่นเอง

ข่าวที่น่าสนใจ

คนในวิชาชีพเดียวกันคือวิชาชีพวิศวกรรมทำงานร่วมกัน น่าจะได้ผลงานที่ดี มีคุณภาพ เสร็จทันตามกำหนดเวลา ไม่มีอุบัติเหตุร้ายแรง แต่กรณีการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 กลับไม่เป็นเช่นนั้น มีอุบัติเหตุร้ายแรงเกิดขึ้นบ่อย งานล่าช้า ถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
ผู้ที่จะตอบคำถามนี้ได้ดีก็คือสภาวิศวกร ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลการทำงานของวิศวกร เช่น ตรวจสอบการปฏิบัติงานของวิศวกรให้เป็นไปตามกฎระเบียบและมาตรฐานที่กำหนด และออกใบอนุญาตให้แก่บุคคลที่ต้องการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม เป็นต้น
วิศวกรทุกคนที่มาร่วมงานในโครงการทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก และมอเตอร์เวย์บนถนนพระราม 2 จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ใบ กว.) จากสภาวิศวกร หากใครไม่มีก็ถือว่าเป็น “วิศวกรเถื่อน”
เมื่อการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากมาย งานล่าช้า จึงถึงเวลาแล้วที่สภาวิศวกรจะต้องตรวจสอบวิศวกรทุกคนที่ร่วมงานออกแบบ ก่อสร้าง และควบคุมงานโครงการทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก และมอเตอร์เวย์บนถนนพระราม 2 ว่ามี “ใบ กว.” หรือไม่?
หากตรวจสอบแล้วพบว่ามี “วิศวกรเถื่อน” ร่วมทำงาน สภาวิศวกรจะต้องพิจารณาลงโทษวิศวกรผู้นั้น ร่วมทั้งหน่วยงานที่วิศวกรผู้นั้นสังกัดตามบทลงโทษที่กำหนดไว้ใน พรบ.วิศวกร พ.ศ.2542 ส่วนวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะลงโทษวิศวกรและหน่วยงานต้นสังกัด วสท.เป็นสมาคมวิชาชีพมีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรม
ผู้สนใจสามารถร่วมตรวจสอบได้ว่าวิศวกรที่ร่วมงานออกแบบ ก่อสร้างและควบคุมงานโครงการดังกล่าวมี “ใบ กว.” หรือไม่? โดยเข้าไปที่ www.coe.or.th เลือก “ตรวจสอบใบอนุญาต” แล้วป้อนชื่อวิศวกรที่ต้องการตรวจสอบ ก็จะรู้ว่าใครเป็นวิศวกรจริง ใครเป็น “วิศวกรเถื่อน”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อัษฎางค์" ชี้ชัด พฤติกรรม "กมธ.การทหาร" ใช้อำนาจ ป้องคดี 112 เข้าข่ายละเมิดกม.จริยธรรมอย่างร้ายแรง
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) แพนด้ายักษ์ 'เม่ยจู' เอนกายพักใจสบายอุราที่สวนสัตว์จีน
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) BYD เปิดตัว 'เรือขนส่งยานยนต์' ใหญ่สุดในโลก
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ไทยติดโผเที่ยว 'เซี่ยงไฮ้' มากสุดในไตรมาสแรกปี 2568
นาทีระทึก ไฟไหม้ร้านเหล้าดัง กลางเมืองภูเก็ต จนท.ช่วยดับเพลิงอลหม่าน เร่งตรวจสอบความเสียหาย
ตร.รวบจีนเทาเช่าโกดังเก็บไส้หมูหมัก สภาพสุดโทรม ส่งกลิ่นเหม็น เตรียมส่งขายทั่วไทย ยึดของกลางรวมกว่า 10 ล้านบาท
"อุตุฯ" เตือน 46 จังหวัด รับมือพายุฝนฟ้าคะนอง กทม.ก็ไม่รอด
"รมว.สุดาวรรณ" ชูชุมชนต้นแบบ "เที่ยวชุมชน ยลวิถี บ้านนาถ่อน" จ.นครพนม
"โฆษก ทบ." โต้ กมธ.ทหาร ยันมีอำนาจแจ้งจับ "พอล แชมเบอร์ส" คดี ม.112 ลั่นชาวต่างชาติ ต้องอยู่ใต้กม.ไทย
วธ.ชวนเที่ยวสงกรานต์เมืองพระประแดง สัมผัสมนต์เสน่ห์วัฒนธรรมมอญ ที่หาชมได้ยาก กินกาละแม เล่นสะบ้ารามัญ การละเล่นพื้นบ้านอันทรงคุณค่า

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น